แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความฝังตรึงในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วิสุตา ยาหะ
ธีรพงษ์ ปิณจีเสคิกุล

บทคัดย่อ

   


     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความฝังตรึงในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครที่แตกต่างกัน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความฝังตรึงในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักบัญชีในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยเลือกสุ่มโดยวิธีตามความสะดวก จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักบัญชีในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 398 คน สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ
     ผลจากการวิจัย พบว่า
     1) การเปรียบเทียบความฝังตรึงในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครที่แตกต่างกัน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลด้าน อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันจะมีความฝังตรึงในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
     2) แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความฝังตรึงในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ด้าน คือ ด้านสวัสดิการและค่าตอบแทน และด้านความมั่นคงในงานที่แตกต่างกัน จะส่งผลต่อความฝังตรึงในการปฏิบัติงานของนักบัญชีแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


1นักศึกษาปริญญาโท, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (Visionary Leaders) มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร
2หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (Visionary Leaders) มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร
Corresponding Author: 6514992038@rumail.ru.ac.th

Article Details

How to Cite
ยาหะ ว., & ปิณจีเสคิกุล ธ. (2024). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความฝังตรึงในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 11(2), 213–225. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2024.38
บท
บทความวิจัย

References

กฤตภาคิน มิ่งโสภา และนพปฎล สุวรรณทรัพย์. (2564). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดปทุมธานี. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 23(1), 1615-1634.

เกียรติษฎา ภูมิเพ็ง. (2564). การศึกษาความต้องการและแรงจูงใจในการทำงานวิจัยสถาบันของบุคลากร. สายสนับสนุนวิชาการคณะวิทยาศาสตร์. ชลบุรี: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชลภัสสรณ์ ศรีวรฉัตรภาธร และประสพชัย พสุนนท์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกจากงานของพนักงานแผนกห่วงโซ่อุปทาน : กรณีศึกษา บริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(1), 1906 - 3431.

ชาญ ธัญกรรม. (2560). ศึกษาพนักงานที่มีอายุต่างกันมีความผูกพันต่อองค์กรโดยรวมแตกต่างกันเนื่องจากพนักงานที่มีอายุมากมีการประสบการณ์ที่ดี. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยเกริก.

ณธษา ดิษบรรจง. (2564). พฤติกรรมและทัศนคติที่มีต่อการลงทุนใน Cryptocurrency. สารนิพนธ์วิทยาลัยการจัดการ. มหาวิทยาลัยมหิดล.

พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี. (2547). จรรยาบรรณในวิชาชีพ.[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2567

จาก https://www.tfac.or.th/Article/Detail/66888

ศิศิริวรรณ เสรีรัตน์ สมชาย หิรัญกิตติ และ ธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิ ล์ม และไซเท็กซ์.

สุภาพร เศวตเวช และเกวลิน พวงย้อยแก้ว เศรษฐกร. (2562). ปัจจัยการฝังตรึงในงานที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานขายเครื่องสำอางในห้างสรรพสินค้า เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 7(2), 247-262.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2565).สถานการณ์ SMEs. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://e-library.moc.go.th/book-detail/22145

อภิญญา วิเศษสิงห์. (2556). รายงานการวิจัยเรื่องการจัดทำบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

อรยา วิศวไพศาล และเขมกร ไชยประสิทธิ. (2558). ความฝังตรึงในงานของพนักงานฝ่ายวิจัยทางคลินิกในประเทศไทย ขององค์การรับทำวิจัยตามสัญญา. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อังคณา ไวน์ส. (2561). ได้ทำการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการตัดสินใจลาออก ของ

พนักงานโรงงานทอผ้าผืน อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร

วิโรฒ.

Cronbach, L. (1984). Essential of Psychological Testing. (4th ed.). New York: Harper.

Herzberg, F. (1959). Work and the nature of man. Cleveland: World Publishing.

Mitchell & Lee (2001). The unfolding model of voluntary turnover and job embeddedness: Foundations for a comprehensive theory of attachment. Research in Organizational Behavior, 23, 189-246.