แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตบริษัทเบเกอรี่ แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตบริษัทเบเกอรี่แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร 2) ศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตบริษัทเบเกอรี่แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร และ 3) ศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตบริษัทเบเกอรี่แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร ประชากรเป็นพนักงานฝ่ายผลิตทั้งหมดจำนวน 250 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตบริษัทเบเกอรี่แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ปัจจัยจูงใจ คือ ความรับผิดชอบ และปัจจัยค้ำจุน คือ ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน 2) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตบริษัทเบเกอรี่แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ระยะเวลา และ 3) ปัจจัยแรงจูงใจ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตบริษัทเบเกอรี่แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร คือ ความสำเร็จในงานที่ทำของบุคคล ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ สภาพการทำงาน และความมั่นคงในการทำงาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตบริษัทเบเกอรี่แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
1นักศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธนบุรี, ธนบุรี
2อาจารย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี
*Corresponding author: bestsilarak952@gmail.com
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กฤตภาคิน มิ่งโสภา. (2564). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 23(2), 210.
เกียรติศักดิ์ แก้วใส. (2563). การทำงานเป็นทีมและแรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานผู้รับเหมาก่อสร้างในโรงงานอุตสาหกรรม กรณีศึกษา บริษัท อินแมค เอนจิเนียริ่ง จำกัด. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
เดชา เดชะวัฒนาไพศาล. (2567). การจัดการทรัพยากรบุคคล พื้นฐานแนวคิดเพื่อการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนดล คุณธานี และสายชล ปิ่นมณี. (2564). ปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และความภักดีของพนักงานในอุตสาหกรรมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เขตอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง. วารสารวิชาการศรีประทุม ชลบุรี, 18(2) : 185-186.
ปัญญาภา อัคนิบุตร. (2565). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน บริษัท รัฐวิสาหกิจให้บริการด้านท่ออากาศยาน Generation Y. สารนิพนธ์หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยมหิดล.
รุ่งรัตน์ ทองน้อย. (2562). แรงจูงใจ สภาพแวดล้อม และทักษะการทำงานที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมกระบอกไฮโดรลิคในจังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.
Ganta, V. C. (2014). Motivation in the workplace to improve employee performance. International Journal of Engineering Technology, Management and Applied Sciences, 2(6), 221-230.
Herzberg, F. (1959). The Motivation to Work. John Wiley and Sons, New York.
Kline, R. B. (2011). Principles and practice of structural equation modeling (3rd ed). NY: The Guilford Press.
Peterson, E; and Plowman, G. E. (1953). Business Organization and Management. (3rd ed.). Ill: Irwin.