ความคาดหวังของประชาชนจังหวัดภูเก็ตต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ โครงการดิจิทัลวอลเล็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคาดหวังของประชาชนจังหวัดภูเก็ตต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 2) เปรียบเทียบความคาดหวังของประชาชนจังหวัดภูเก็ตต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐโครงการดิจิทัลวอลเล็ต จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 423,599 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตารางสำเร็จรูปของ ทาโร ยามาเน และทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเอฟ ค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1) ความคาดหวังของประชาชนจังหวัดภูเก็ตต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐโครงการดิจิทัลวอลเล็ต พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบรรเทาภาระค่าครองชีพ มีความคาดหวังของประชาชนสูงที่สุด อยู่ในระดับมาก และมีความคาดหวังน้อยที่สุด คือ ด้านความโปร่งใสของโครงการ อยู่ในระดับปานกลาง
2) เปรียบเทียบความคาดหวังของประชาชนจังหวัดภูเก็ตต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐโครงการดิจิทัลวอลเล็ต จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน มีความคาดหวังของประชาชนจังหวัดภูเก็ตต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ไม่แตกต่างกัน
1อาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, ภูเก็ต
*Corresponding author E-mail: jaruwattingnga@hotmail.com
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กระทรวงการคลัง. (2567). โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet. ข่าวกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 38/2567 วันที่ 23 เมษายน 2567. กลุ่มสารนิเทศการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง.
กาญจนา ปลอดกระโทก. (2563). ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในโครง การเราเที่ยว ด้วยกันผ่านการใช้จ่ายทางโปรแกรมสำเร็จรูปเป๋าตังที่มีประสิทธิผล ในเขตอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ณภพ ศุจินธร. (2564). นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐและการรับรู้ข่าวสารเชิงพาณิชย์ที่ส่งผลต่อการกระตุ้น การตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ออกกำลังกายผ่านทางออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการเงินและการธนาคาร, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ดิถินันท์ธร ธูปเทียนทอง. (2563). ทัศนคติของประชาชนที่มีส่วนร่วมต่อนโยบาย กระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐโครงการคนละครึ่งผ่านโปรแกรมสำเร็จรูป “เป๋าตัง”ที่มีประสิทธิผล ในเขตอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธราธร รัตนนฤมิตศร และ วรธรรม แซ่โง้ว. (2566). ตัวคูณทวีของนโยบายแจกเงินดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สถาบันอนาคต
นนทรัฐ ไผ่เจริญ. (2567). เลื่อนดิจิทัลวอลเล็ตไม่มีกำหนด ความเชื่อมั่นหด ประชาชนหมดหวัง. [ออนไลน์]
ค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.benarnews.org/thai/news/th-digital-wallet-delay-09162024083513.
พรรคเพื่อไทย. (2566). นโยบายเศรษฐกิจมหภาค. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2567 จาก
https://ptp.or.th/นโยบายหลักพรรคเพื่อไทย/นโยบายด้านเศรษฐกิจ
รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์. (2563). อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจรับมือวิกฤติโควิด-19.
[ออนไลน์] ค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.thairath.co.th/money/economics/ thailand_econ/1963619
เสนาวิท อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2566). ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการคนละครึ่งของประชาชนเขตตลิ่งชัน
กรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการรัฐศาสตร์, 1(1), 12-18.
สุพจน์ ศรีสวย. (2562). ความคาดหวังของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในเขตตำบล
ปากกราน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
รัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สุภัตรา กันพร้อม. (2560). ประสิทธิผลการจัดการระบบสารสนเทศของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย.
วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการ). มหาวิทยาลัยสยาม.
สำนักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต. (2566). รายงานสถิติจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2566. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 22
พฤษภาคม 2567 จาก https://phuket.nso.go.th/
Bartol, K. M. and Martin, D. C. (1991). Management. NewYork: McGraw - Hill.
Lokman, A., Hassan, F., Ustadi, Y. A., Rahman, F. A. A., Zain, Z. M., & Rahmat, N. H. (2022).
Investigating motivation for learning via Vroom’s Theory. International Journal of
Academic Research in Business and Social Sciences, 12(1), 504-530.
Messi. (2022). การกระตุ้นเศรษฐกิจ (Economic Stimulus).[ออนไลน์] ค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2567
จาก https://www.thaifrx.com/การกระตุ้นเศรษฐกิจ-economic-stimulus/ [in thai]
Mondy, W. R. and Noe, R. M. (1990). Human Resource Management. Boston: Allyn
and Bacon.
Wigfield, A. and Eccles, J. S. (2000). Expectancy–value theory of achievement motivation.
Contemporary Educational Psychology, 25(1), 68-81.
Wigfield, A and Eccles, J. S, eds. (2001). The Development of Achievement Motivation. San Diego, CA: Academic. In press.
Yamane, Taro. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. (2rd ed.). New York : Harper. and
Row.