การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประเพณี โบราณสถาน และแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ กรณีศึกษา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประเพณี โบราณสถาน และแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ กรณีศึกษา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา มีวัฒนธรรม ประเพณี โบราณสถาน และแหล่งธรรมชาคิ ที่เป็นแหล่งจะได้รับการพัฒนาและส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว 2.เพื่อศึกษาการดำเนินการ ในการพัฒนาท้องถิ่นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประเพณี โบราณสถาน และแหล่งธรรมชาคิ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา และ 3.เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคและแนวทางการแก้ปัญหา โดยการวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากหน่วยงานภาครัฐ 15 คน และกลุ่มภาคเอกชน 5 คน รวมจำนวน 20 คน เพื่อสอบถามประเด็น การดำเนินงานในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และ สนทนากลุ่ม กับ ผู้นำชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอำเภอสูงเนิน 12 คน เพื่อเก็บข้อมูลสภาพปัจจุบันของแหล่งท่องเที่ยว และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบัน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา มีวัฒนธรรม ประเพณี โบราณสถาน และแหล่งธรรมชาคิที่สมบูรณ์และน่าสนใจทั้งเชิงประวัติศาสตร์ที่มีความเก่าแก่ เช่น ปราสาท วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นที่ยังสืบสานไว้ เช่นประเพณีกินเข่า แหล่งธรรมชาติที่ประกอบด้วยน้ำตก ป่าหลายแห่งที่ยังสมบุณ์จากการมีวัดป่า อยู่ในพื้นที่ทำให้เกิดการรักษาทรัพยากรธรรมชาติไว้ ท้องถิ่นและชุมชนยังคงรักษาและพยายามที่จะสืบสานอนุรักษ์ ต่อไป
2. ในการพัฒนา พบว่า มีการดำเนินการกำหนดสิ่งที่ดึงดูดใจในการท่องเที่ยวทั้งที่เป็นรูปธรรม สร้างและปลูกฝัง ความภาคภูมิใจและความเป็นเจ้าของร่วมกัน มีความรักและความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมภูมิปัญญาและมรดกในท้องถิ่น อำนวยความสะดวกและบริการในการท่องเที่ยวในขั้นรากฐาน อาหารที่พัก ความปลอดภัย การเข้าถึงกิจกรรมการท่องเที่ยว การจัดการเปิดโอกาศให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน สนับสนุนการส่งเสริมความรู้ให้ประชาชนเข้าใจถึงแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญต่างๆ
3. ส่วนปัญหาของการพัฒนา พบว่า กิจกรรมส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุที่ร่วมกันดำเนินการช่วยเหลือกัน เอง ในชุมชน ยังขาดความร่วมมือจากคนหนุ่มสาวในชุมชน นอกจากนั้นส่วนหน่วยงานท้องถิ่นจะไม่ค่อยมีบทบาทในการมีส่วนร่วมในการดูแลและพัฒนา เพราะโบราณสถานบางแห่งเช่น วัดธรรมจักรเสมารามอยู่ภายใต้การดูแลของกรมศิลปากรอยู่แล้ว ทำให้การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อพัฒนาขาดความร่วมมือกันของชุมชน แนวทางการพัฒนา ควรจัดเวที่การประชุมให้มีการนำเสนอการขับเคลื่อนไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือของชุมชนต่างๆ กลุ่มคน ประชาชน นักวิชาการ ปราชญ์ชาวบ้าน นักการเมืองท้องถิ่นและอื่นๆเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาในพื้นที่ พร้อมกับการขับเคลื่อน การพัฒนาท้องถิ่นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประเพณี โบราณสถาน และแหล่งธรรมชาคิ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาอย่างยั่งยืน
*อาจารย์ประจําหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น กาญจนบุรี
*Corresponding author: pa.phatsorn@hotmail.com
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
จิตนภา สมบูรณ์ศิลป์ กองแก้ว สิทธิศรี ขวัญชนก รักษาสุวรรณ พริศรา ภาวจันทึก ลักษมี แก้วบัว และ ศราดา หลายวิจิตรไพบูลย์ (2567). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา วัดธรรมจักรเสมาราม อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ
สิงหาคม 2567, จาก http://sutlib2.sut.ac.th/nakhonchaiburin/nm177182.pdf
ไทยรัฐออนไลน์. (2567). เจาะลึกอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ทำอย่างไรถึงสามารถก้าวสู่ความสำเร็จของคำว่า ‘เที่ยวยั่งยืน’. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2567 จาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/travel/thaitravel/2801946
ประกาศเทศบาลสูงเนิน. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566 – 2570) เทศบาลตำบลสูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. เทศบาลสูงเนิน, จังหวัดนครราชสีมา
ประกาศ ยุทธศาสตร์ชาติ. (พ.ศ. 2561 – 2580) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก หน้า 9
สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2560). สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน : CBT-I. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2567 จาก https://www.facebook.com/cbticlub/photos/
a.156578091074830/1465062736893019/
Albrecht, K. (1987). The Creative Corporation. New York: Richard d Irwin;
Arshad, S., & Khurram, S. (2020). Can government’s presence on social media stimulate citizens’ online political participation? Investigating the influence of transparency, trust, and responsiveness. Government Information Quarterly, 37(3), 101486.
Bere, M. Y., Nursalam, N., & Toda, H. (2020). Social participation in the management of village funds in Sanleo village, East Malaka sub-district, Malaka regency. Annals of Management and Organization Research, 2(2), 81-96.
Goeldner, C., & Ritchie, J. R. B. (2006). Tourism: principles, practices, philosophies (10th ed.). Hoboken: Wiley.
Johnson, D. W., & Johnson, F. D. (2003). Joining: Group theory and group skill (8th ed.). Boston: Allyn andBacon.
Lewicki, R. J., Saunders, D. M., & Barry, B. (2006). Negotiation (5th ed.). Boston, MA McGraw-Hill.
Li, J. Y., Sun, R., Tao, W., & Lee, Y. (2021). Employee coping with organizational change in the face of a pandemic: The role of transparent internal communication. Public relations review, 47(1), 101984.
Morris, C. (2004). Managing conflict in health care settings: principles, practices & policies. Bangkok, Thailand: Prepared for a workshop at King Prajadhikop’s Institute.
Quick, K. S., & Bryson, J. M. (2022). Public participation. In Handbook on theories of governance (pp. 158-168). Edward Elgar Publishing.
Rose, K. M., Markowitz, E. M., & Brossard, D. (2020). Scientists’ incentives and attitudes toward public communication. Proceedings of the National Academy of Sciences, 117(3), 1274-1276.
Rus, M., Tasente, T., Iscru, A. M., & Sandu, M. L. (2022). Strategies and specific techniques to mass-media relations activities in a public institution. Technium Soc. Sci. J., 28, 273.
Shachar, R., & Nalebuff, B. (1999). Follow the leader: Theory and evidence on political participation. American Economic Review, 89(3), 525-547.
Stern, P. C., & Dietz, T. (Eds.). (2008). Public participation in environmental assessment and decision making. National Academies Press.
Thipkong, S. (2002). Curriculum and teaching of mathematics. Academic Quality Development Company. Co., Ltd. [in thai]
UNWTO. (1997). Tourism 2020 Vision. Madrid: UNWTO.
Vespestad, M. K., & Mehmetoglu, M. (2010). The relationship between tourist nationality,
cultural orientation and nature-based tourism experiences. European journal of
tourism research, 3(2), 87-104.
Zhang, J., Chen, W., Petrovsky, N., & Walker, R. M. (2022). The expectancy‐disconfirmation
model and citizen satisfaction with public services: A meta‐analysis and an agenda
for best practice. Public Administration Review, 82(1), 147-159.