การพัฒนาทักษะทางการเงิน และความรู้ความเข้าใจทางการเงินดิจิทัลในการขับเคลื่อน การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

สุภาพร เพ่งพิศ
ณัฐดนัย อลีนจิตพงศ์

บทคัดย่อ

     การพัฒนาทางเทคโนโลยีทางการเงินและทักษะทางการเงิน เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องศึกษาเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันของบุคคล และองค์การ ทำให้ธุรกรรมทางการเงินมีความสะดวกสบายมากขึ้น การทำธุรกรรมทางการเงินที่มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ต้องมีการขับเคลื่อนศักยภาพด้านทักษะทางการเงิน ความรู้ความเข้าใจทางการเงินให้สามารถนำไปใช้ในการบริการทางการเงินให้ครอบคลุมได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย การพัฒนาความรู้ด้านการบริหารจัดการการเงิน ทักษะการเงิน ความรู้ความเข้าใจการดิจิทัลที่สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างเป็นระบบ การพัฒนาการบริการทางเงินและเข้าใจในผลิตภัณฑ์ทางการเงินดิจิทัล สามารถนำมาบูรณาการกับเทคโนโลยีให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การศึกษาข้อมูลในการพัฒนาทักษะทางการเงินในยุคดิจิทัลกับการใช้เทคโนโลยีทางการเงินชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุนผ่านการใช้แพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันทางการเงินดิจิทัล การทำธุรกรรมออนไลน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจลงทุน แนวทางการพัฒนาทักษะทางการเงินทำได้โดย การจัดสัมมนา การอบรม และการใช้เครื่องมือทางการเงินดิจิทัล เป็นการเพิ่มความรู้และทักษะของผู้ลงทุน การพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ การอบรมช่วยให้ผู้ลงทุนเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกยิ่งขึ้น การจัดทำสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ การให้บริการของที่ปรึกษาทางการเงิน และการใช้เทคโนโลยีและแอปพลิเคชันทางการเงินดิจิทัล ทำให้การลงทุนมีความสะดวกและปลอดภัยมากขึ้น ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและทันสมัยเกี่ยวกับตลาดทุนเชื่อมโยงสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และการแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างนักลงทุน เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถตัดสินใจลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาทักษะทางการเงินและความรู้ความเข้าใจทางการเงินดิจิทัล ในขับเคลื่อนการลงทุน สามารถสร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มโอกาสการลงทุนให้การประสบความสำเร็จในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


*1วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ นครปฐม
2 ภาควิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
*Corresponding author: Supaporn.Phe@rmutr.ac.th

Article Details

How to Cite
เพ่งพิศ ส. ., & อลีนจิตพงศ์ ณ. (2024). การพัฒนาทักษะทางการเงิน และความรู้ความเข้าใจทางการเงินดิจิทัลในการขับเคลื่อน การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 11(2), 14–25. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2024.24
บท
บทความวิจัย

References

ชญานี เรื่องบุญรอด และสิทธิชัย เจริญเศรษฐศิลป์.(2565).ตัวแบบสมการโครงสร้างประสบการณ์ทางการเงิน

ความรู้ทางการเงิน ทัศนคติทางการเงิน และการวางแผนทางการเงินที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทาง

การเงินของพนักงานธนาคารแห่งหนึ่ง.วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

(4). 139 -157

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.(2566). แผนกลยุทธ์ระยะ 3 ปี (2566-2568). [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 15

มีนาคม 2566 จาก https://www.set.or.th/th/about/setsource/news-release/article/150-

set-2023-strategic-plan

ธนาคารแห่งประเทศไทย.(2565 ก). ทิศทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาค

การเงินไทย.มปท.: BOT Direction Paper on Financial Landscape.

ธนาคารแห่งประเทศไทย.(2565 ข). รายงานผลสำรวจ ทักษะทางการเงินของไทย ปี 2565, [ออนไลน์] ค้น

เมื่อ 15 มีนาคม 2566 จาก https://www.bot.or.th/content/dam/bot/image/research-and-

publications/2565ThaiFLsurvey.pdf

กระทรวงการคลัง.(2565,) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงิน พ.ศ. 2565 – 2570. มปท.:

กระทรวงการคลัง

พันธนันท์ บุญมา และวัตสาตรี ดิถียนต์.(2565). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบสื่อดิจิทัลและความรู้ทางด้าน

การเงินของผู้ใช้บริการทางการเงิน.วารสารสถาบันวิจัยพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคราม,9

(2). 94-108.

สำนักนโยบายการออมและการลงทุน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2565). ข่าวกระทรวงการคลัง.กลุ่ม

สารนิเทศการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง.ร่างแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทาง

การเงิน พ.ศ. 2565-2570. ฉบับที่ 85/2565 [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2565 จาก

www.mof.go.th.

สันติธาร เสถียรไทย.(2565). การเข้าถึงการเงินในยุคดิจิทัล.รายงานผลการสำรวจ”คนยุคดิจิทัล”ไทย.

Sea Insights.หน่วยงานวิจัยด้านเศรษฐกิจดิจิทัลและนโยบายสาธารณะ. ค้นเมื่อ 14 มิถุนายน

จากwww.sea.com/home

Fisher, M., Goddu, M. K., and Keil, F. C. (2015). Searching for explanations: How the Internet

inflates estimates of internal knowledge. Journal of Experimental Psychology:

General, 144(3), 674–687

Hira,T.,and Mugenda,O.(2000).Gender differences in financial perceptions, behaviors and

satisfaction, Journal of Financial Planning, 13(2). 86-92.

Kenan Institute Asia. (2015). Literacy Improvement for better Finance in Thailand.

[Online]. Retrieved December 29, 2022 from: https://thaipublica.org/wpcontent/

uploads/2015/03/1.Citi-LIFT-FL-Research-Report-THAI_Draft.pdf [in Thai]

Lusardi, A., and Mitchell, O.S. (2011). Financial literacy: Implications for retirement

security and the financial marketplace Eds., Oxford: Oxford University Press.

Mendari, A.S., and Soejono, F. (2020). The relationship between basic and advanced financial

literacy index and lecturer financial planning.Journal Dinamika Manajemen, 11(2),

-215.

Minimol, M. C. and Lakshmi, L. (2013). Relationship between financial knowledge, financial

attitude and financial literacy: a study among investors in Kerala. International

Journal of Applied Financial Management Perspectives, 2(4). 699-704.

Ning Tang,and Paula C.Peter.(2015). Financial knowledge acquisition among the young: The

role of financial education, financial experience, and parents’ financial experience.

Financial Services Review,24 (2), 119-137.

OECD. (2017). PISA 2015 Results (Volume IV) : Students' Financial Literacy. Edition 2017:

Vol. 4, Paperback – Large Print.

Parrey S. H., Hakim I. A., and Rather R. A. (2018). Mediating role of government initiatives and

media influence between perceived risks and destination image: A study of conflict

zone. International Journal of Tourism Cities, 5(1), 90–106.

Soejono and Mendari,(2019).Literasi Keuangan dosen-dosen perguruan tinggi di Palembang: Factor pendapatan, pendidikan,dan kepemilikan product financial. Journal Management dan Bisnis, 4(1),60-83.