สภาพปัญหาการจัดการรู้เท่าทันสื่อให้เยาวชนเพื่อป้องกันปัญหาความรุนแรงทางสังคมในสื่อสังคมออนไลน์

Main Article Content

มาริษา สุจิตวนิช
ผ่องใส สินธุสกุล

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพปัญหาการจัดการรู้เท่าทันสื่อให้เยาวชนเพื่อป้องกันปัญหาความรุนแรงทางสังคมในสื่อสังคมออนไลน์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดนครปฐม จำนวน 29 โรงเรียน จำนวน 20,913 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในพื้นที่จังหวัดนครปฐม จำนวน 358 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
     ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการจัดการรู้เท่าทันสื่อให้เยาวชนเพื่อป้องกันปัญหาความรุนแรงทางสังคมในสื่อสังคมออนไลน์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ดังนี้ ปัญหาความรุนแรงทางสังคมในสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ 1.ด้านการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ พบเห็นข่าวที่มีเนื้อหาความรุนแรงในสื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์ 2. ด้านการวิเคราะห์สื่อสังคมออนไลน์ สามารถใช้ความรู้และประสบการณ์เดิมเพื่อพิจารณาข้อมูลข่าวสารได้ 3. ด้านการประเมินสื่อสังคมออนไลน์ สามารถแยกแยะได้ว่าสื่อสังคมออนไลน์ประเภทใดมีคุณภาพมีประโยชน์และสามารถนำไปบอกต่อกับผู้อื่น/เพื่อนได้ 4. ด้านการสังเคราะห์สื่อสังคมออนไลน์ สามารถระบุได้ว่าข้อมูลข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์ว่าข้อมูลใดเชื่อถือได้หรือไม่ได้ 5. ด้านการสร้างสรรค์สื่อสังคมออนไลน์ สามารถสร้างสื่อสังคมออนไลน์ด้วยตัวของท่านเองได้ และ 6. สภาพปัญหาการจัดการรู้เท่าทันสื่อให้เยาวชนนั้น โดยรวมอยู่ในระดับมาก ดังนี้ ควรมีทักษะการรู้เท่าทันสื่อเพื่อป้องกันปัญหาความรุนแรงทางสังคมในสื่อสังคมออนไลน์ ข้อเสนอแนะ ควรมีแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อปัญหาการจัดการรู้เท่าทันสื่อให้เยาวชนเพื่อป้องกันปัญหาความรุนแรงทางสังคมในสื่อสังคมออนไลน์


1สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม
2สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม
Corresponding author: Marisa.suji@gmail.com

Article Details

How to Cite
สุจิตวนิช ม., & สินธุสกุล ผ. (2024). สภาพปัญหาการจัดการรู้เท่าทันสื่อให้เยาวชนเพื่อป้องกันปัญหาความรุนแรงทางสังคมในสื่อสังคมออนไลน์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 10(2), 156–167. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2023.34 (Original work published 30 ธันวาคม 2023)
บท
บทความวิจัย

References

ขจรจิต บุนนาค. (2544). ความขัดแย้ง VS ความรุนแรง. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/july_sep_11/pdf/aw 21.pdf.

ณิชกล เสนาวงษ์. (2564). การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของคนเจนเนอเรชั่นแซด ในยุค New Normal ในกรุงเทพมหานคร. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https://shorturl.asia/4MLI7.

นวลักษณ์ กลางบุรัมย์ พัชนา สุวรรณแสน และ ปริญญา เรืองทิพย์. (2563) การรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดชลบุรี. วารสารครุศาสตร์สาร. 14(2), 129-140.

ปัทมาภรณ์ สุขสมโสด และปฐมพงษ์ พุ่มพฤกษ์. (2564). ผลกระทบของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ต่อการเปลี่ยนแปลงค่านิยมวัยรุ่นในพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา. 13(1), 119-137.

ปิยะนุช สาที. (2559). คุณลักษณะการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2559/121939/Satee%20Piyanuch.pdf

พีรวิชญ์ คำเจริญ. (2562). แนวทางการส่งเสริมการรู้เท่าทันดิจิทัล ตามลีลาการเรียนรู้แบบวาร์คสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น. วิทยานิเพนธ์ หลักสูตรปริญาวิทยาการสารสนเทศดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

มาริษา สุจิตวนิช และ ดวงใจ คงคาหลวง. (2563). การรู้เท่าทันสื่อ ประโยชน์และการนำไปใช้ กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ. 7(2), 201-216.

มาริษา สุจิตวนิช และเยาวภา บัวเวช. (2558). การรู้เท่าทันสื่อ : ประโยชน์และการนำไปใช้ของนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สำนักงานจังหวัดนครปฐม. (2559). ข้อมูลทั่วไปจังหวัดนครปฐม. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.nakhonpathom.go.th/content/information

สำนักงานศึกษาธิการนครปฐม. (2562). ข้อมูลโรงเรียนและจำนวนนักเรียน จังหวัดนครปฐม. ศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม.

สุมาลี เชื้อชัย. (2561). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัลแก่นิสิต ในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสําหรับครูประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 10(2), 254-267.

องค์การอนามัยโลก. (2545). กรอบแนวคิดและนิยามการกระทำความรุนแรง. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563. จาก http://stin.ac.th/th/file.pdf.

อานุรักษ์ เขื่อนแก้ว และ อัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์. (2563). พื้นที่การแสดงออกต่อข่าว เกี่ยวกับความรุนแรงในเฟซบุ๊กแฟนเพจประเภทข่าว. วารสารศาสตร์, 13(2), 74-129.

Bandura, A., Ross, D., and Ross, S. A. (1961). Transmission of aggression through imitation of aggressive models. The Journal of Abnormal and Social Psychology, 63(3), 575–582.

BBC. (2018). ฟลอริดา: เหตุกราดยิงมัธยมมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 17 คน. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2564 จาก https://www.bbc.com/thai/international-43067929

Best John W. and Khan, Jame V. (1998). Research in Education. (8th.ed). Boston: Allyn and Bacon.

Chuck, E., Johnson, A., and Siemaszko, C. (2018). 17 killed in mass shooting at high school in Parkland Florida. [Online]. Retrieved February 11, 2023, from: https://www.nbcnews.com/news/usnews/police-respond-shooting-parkland-florida-high-school-n848101

Potter, W. James. (2004). Theory of media literacy: A Cognitive approach. California USA : Sage Publications.

Raisingchildren.net.au. (2017). Suitable for 9-18 years media influence on teenagers. [Online]. Retrieved February 11, 2023 , from: https: / / raisingchildren. net. au/preteens/entertainment-technology/media/media-influence-on-teens.

Siegel L. Larry and Welsh C. Brandon. (2016). Juvenile Delinquency: The core, (6th ed.). Boston: CENGAGE Learning.