แนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของพัฒนากรในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของนักวิชาการพัฒนาชุมชน (พัฒนากร) ที่ส่งผลกับความคิดเห็นต่อกรมการพัฒนาชุมชน และ (2) สร้างแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของนักวิชาการพัฒนาชุมชน (พัฒนากร) ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นักวิชาการพัฒนาชุมชน (พัฒนากร) ในเขตจังหวัดความรับผิดชอบของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนเพชรบุรี จำนวน 98 คน เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวคำถามแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบนำตัวแปรเข้าทั้งหมด
ผลการวิจัยพบว่า
1) การเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของนักวิชาการพัฒนาชุมชน (พัฒนากร) ไม่ส่งผลกับความคิดเห็นต่อกรมการพัฒนาชุมชน
2) การปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า เกิดผลสัมฤทธิ์ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน พัฒนากรต้องให้ความสำคัญกับการทำงานอย่างเป็นระบบตามแนวทาง “ครองตน ครองคน ครองงาน” (1) หลักการครองตนในการทำงานท่ามกลางสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ พัฒนากรต้องการบริการจัดการเวลาในชีวิตประจำวันให้สมดุล และมีความใฝ่รู้หาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ (2) หลักการครองคน ได้แก่ การครองคนในฐานะเพื่อนร่วมงานผ่านการมีน้ำใจเอื้อเฟื้อและการทำงานเป็นทีม และการช่วยเหลือเกื้อกูลเครือข่ายและชุมชนอย่างสม่ำเสมอ และ (3) หลักการครองงาน ได้แก่ ต้องมีความอดทนในการปฏิบัติงาน โดยเป็นการมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่ผลงานผ่านรูปแบบการทำงานให้ง่าย และแสดงให้ประชาชนเห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับ รวมถึงการเข้าถึงผู้นำชุมชนเพื่องานสามารถได้รับการขับเคลื่อนอย่างราบรื่น โดยข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ควรมีการศึกษาองค์ความรู้หรือถอดบทเรียนการปฏิบัติงานที่ดีของพัฒนากร อย่างเป็นประจำ เนื่องจากการปฏิบัติงานของพัฒนากรมีการเพิ่มเติมบทบาทภารกิจหรือเปลี่ยนแปลงแนวทางการปฏิบัติงานอยู่เสมอ
1นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา
สถาบันการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
2รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
* Corresponding author: pockpockza@gmail.com
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (2565). บทบาทภารกิจกรมการพัฒนาชุมชน. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2565 จาก https://personnel.cdd.go.th/cddhrm-strategic.
จิระจิตต์ บุนนาค. (2555). กลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลง. วารสารนักบริหาร, 32(2). 125 -132.
ชนิกานต์ เธียรสูตร. (2551). วงจร PDCA คือ อะไร?. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2565, จาก http://eduserv.ku.ac.th/km/index.php?option=com_content&task=view&id=137& Itemid=68.
ชมพูนุช ดีอินทร์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรณีศึกษา สํานักยุทธศาสตร์ สํานักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. การศึกษาอิสระรัฐ ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชาติชาย คงเพ็ชรดิษฐ์ และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). การบริหารการเปลี่ยนแปลง: บทบาทของภาวะผู้นำและการสื่อสารในองค์การ. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 9(1), 895-919.
เพ็ญพัชรินทร์ เพ็งพอรู้ และจักรี ศรีจารุเมธีญาณ. (2564). บทบาทปลัดอำเภอกับหลักธรรม 4 ประการ. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 1 (6), 57-60.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2551). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551. นนทบุรี: โรงพิมพ์สำนักงาน ก.พ.
สุริย์วิภา ไชยพันธุ์. (2559). ภาวะผู้นำกับการครองตน ครองคน และครองงาน. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2565 จาก http://journal.rbac.ac.th/wp-content/uploads/2019/09/58-9_2p60-70.pdf.
อำนาจ วัดจินดา. (2560). องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2565 จาก http://www.hrcenter.co.th/HRKnowView.asp?id=526.
Deming, W. Edwards. (1950). Out of the Crisis. Cambridge, Mass: Massachusetts Institute of Technology.
Kuipers, B. S., Higgs, M., Kickert, W., Tummers, L., Grandia, J., & Van der Voet, J. (2014). The management of change in public organizations: A literature review. Public administration, 92(1), 1-20.
Schermerhorn, John R. (2005). Management. New York: John Wiley & Sons.