ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค และส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ตัวอย่างจำนวน 385 ชุด โดยใช้หลักเกณฑ์ของการวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดตัวแปรด้วยวิธีเชิงนิรนัย ในการนำแนวคิดจากทฤษฎีต่าง ๆ มาสร้างสมติฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ซึ่งมีค่าระดับความเชื่อมั่นรวม 0.96 โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพิสูจน์ตัวแปรเชิงสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โดยอาศัยสถิติการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ด้วยวิธี Enter โดยกำกนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เพื่อทำการอภิปรายผล
จากผลการวิจัยพบว่า
1) ปัจจัยส่วนบุคคล (เพศ อายุ การศึกษา และรายได้) ร่วมกันพยากรณ์การตัดสินใจซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ของผู้บริโภคไม่มีผลต่อการตัดสินใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ 0.05
2) ส่วนประสมทางการตลาดร่วมกันพยากรณ์การตัดสินใจซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ของผู้บริโภคพบว่า มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคที่การตัดสินใจซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เมื่อแยกเป็นด้านแล้วพบว่า ผู้บริโภคจะให้ความสำคัญในการตัดสินใจซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาดและ ด้านกระบวนการ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนในด้านผลิตภัณฑ์, ด้านบุคคล และด้านกายภาพนั้น มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ไม่แตกต่างกัน
*คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี, กาจนบุรี
Corresponding author: Sanchai1969@yahoo.co.th
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
เจกิตาน์ ศรีสรวล และ ณัฐพร อิฐสุวรรณกัง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้า OTOP ของนักท่องเที่ยว ตลาดน้ำบางคล้า อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 16(4), 79-89.
ปฏิกร ทิพย์เลอเลิศ. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการรานค้าปลีก แบบดั้งเดิม ในเขตกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิชญาณี กิติกุล. (2550). วิธีวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เมธาวี เผ่าเมธาวารีธร. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมซื้อสินค้าโอทอปบนออนไลน์ของผู้บริโภค. ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต วิชาเอกการจัดการวิศวกรรมธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ สมชาย หิรัญกิตติ และ ธนวรรณ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร : ธีระฟิล์ม และ ไซเท็กซ์.
อดุลย์ จาตุรงคกุล และ ดลยา จาตุรงคกุล.(2549). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.