ทัศนคติและความพึงพอใจในการจัดการโซ่อุปทานสีเขียว กรณีใช้บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทนการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวที่มีอิทธิพลต่อ การตัดสินใจซื้ออาหารและเครื่องดื่มในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สุรัสวดี ศิริปัญญา
ปิยะมาศ สื่อสวัสดิ์วณิชย์

บทคัดย่อ

     การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทัศนคติและความพึงพอใจในการจัดการโซ่อุปทานสีเขียว กรณีใช้บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทนการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารและเครื่องดื่มในกรุงเทพมหานคร ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ราย ด้วยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน โดยสุ่มด้วยวิธีการจับฉลากและสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า


     1. ระดับทัศนคติและความพึงพอใจในการจัดการโซ่อุปทานสีเขียว กรณีใช้บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทนการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารและเครื่องดื่มในกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมและรายด้านมีความเห็นอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านความพึงพอใจ  ด้านการตัดสินใจซื้อและด้านทัศนคติต่อการจัดการโซ่อุปทานสีเขียว 


     2. ทัศนคติต่อการจัดการโซ่อุปทานสีเขียวที่มีต่อการตัดสินใจซื้ออาหารและเครื่องดื่มที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สมการมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 70.00 สมการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ คือ


     Ŷ= 1.27 - 0.14X1 + 0.16X2 + 0.11X3 + 0.10X4 + 0.16X5


     3. ความพึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มใช้บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแทนการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารและเครื่องดื่มในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สมการมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 64.00 สมการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ คือ


     Ŷ = 1.16 - 0.27X6 + 0.09X7 + 0.07X8 + 0.06X9 + 0.06X10 + 0.09X11 + 0.02X12 + 0.04X13


นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง,10240


** อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง,10240


Corresponding author: 6324971244@rumail.ru.ac.th

Article Details

How to Cite
ศิริปัญญา ส., & สื่อสวัสดิ์วณิชย์ ป. (2023). ทัศนคติและความพึงพอใจในการจัดการโซ่อุปทานสีเขียว กรณีใช้บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทนการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวที่มีอิทธิพลต่อ การตัดสินใจซื้ออาหารและเครื่องดื่มในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 10(1), 55–66. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2023.5
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564). Roadmap การจัดการขยะ

พลาสติก พ.ศ. 2561-2573. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.pcd.go.th/wp-c content/uploads/2021/10/pcdnew-2021-10-19_08-59-31_527174.pdf

จารุวรรณ สุภาชัยวัฒน์. (2564). การจัดการห่วงโซ่อุปทานสีเขียวอย่างยั่งยืนและผลการดำเนินงานของ

อุตสาหกรรมมันสำปะหลัง เขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย. Journal of Southern Technology, 14(2), 61-69.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพหานคร: สำนักพิมพ์ ซีเอ็ด.

นภดล ร่มโพธิ์. (2554). หนังสือรวบรวมบทความ การวัดความพึงพอใจลูกค้าและความพึงพอใจพนักงาน.

กรุงเทพมหานคร: คณะบุคคลอิเมจิเนียริ่ง.

นภวรรณ คณานุรักษ์.(2563). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ กรีนแอป

เปิ้ล กราฟฟิค พริ้นติ้ง จำกัด.

พิชัย เหลี่ยวเรืองรัตน์. (2558). โลจิสติกส์สีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีส

เทิร์น, 8(2), 12-21.

วรรณิดา สารีคำ จักเรศ เมตตะธำรง และจันทิมา พรหมเกษ. (2564). การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน

ด้วยการจัดการโซ่อุปทานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของวิสาหกิจชุมชุนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารการบัญชีและการจัดการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(3), 70-87.

ศูนย์สารสนเทศกรุงเทพมหานคร. (2556). รูปแบบการบริหารกรุงเทพมหานคร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ

กรกฎาคม 2565, จาก http://one.bangkok.go.th/info/m.info/bma_k/knw5.html.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2565). ขยะพลาสติก. [ออนไลน์].

สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.onep.go.th/

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2563). การผลักดันร่างกฎหมายว่าด้วยการจัดการขยะพลาสติก,

สารวุฒิสภา, 28(1), 31-33.

สมพล ทุ่งหว้า. (2552). การจัดการการดำเนินงานและโซ่อุปทาน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร:

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อรรถพล ธรรมไพบูลย์, นุช สัทธาฉัตรมงคลและลาวรรณ์ อนันต์ชลาลัย. (2559). การรับรู้เกี่ยวกับการจัดการ

โซ่อุปทานสีเขียวและผลกระทบต่อภาพลักษณ์องค์กร. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 8(2), 109-128.

Emrah, C. (2010). Measuring Customer Satisfaction: Must or Not?. Journal of Naval Science

and Engineering, 6(2), 76-88.

Engel, J. F., Kollat, D. T., and Blackwell, R. D. (1968). Consumer behavior. New York, NY: Holt,

Rinehart and Winston. Field, A. (2005). Discovering statistics using SPSS (2nd ed.). London: Sage.

Guide, V. D. R. and Srivastava, R. (1998). Inventory Buffers in Recoverable Manufacturing.

Journal of Operations Management, 16(5), 551-568.

Krejcie, R. V., and Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities.

Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Wilkerson, T., (2005). Best practices in implementing Green Supply Chain. Logistics

Management Institute. Retrieved July 20, 2022 from http://postconflict.unep.ch/humanitarianaction/documents/02_08-04_05-25.pdf