การวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการ ธุรกิจการพิมพ์ฉลากสินค้า ในประเทศไทย

Main Article Content

อรนุช เฉิน

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจการพิมพ์ฉลากสินค้า ในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างความสัมพันธ์ของปัจจัยความได้เปรียบทางการแข่งขันกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (3) เพื่อพัฒนาโมเดลความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจการพิมพ์ฉลากสินค้า ในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ จากประชากรจำนวน 1,641 ราย โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ของแฮร์ และคณะ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจการพิมพ์ฉลากสินค้าจำนวน 400 ราย และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 15 ท่าน ได้แก่ ผู้ประกอบการ และผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างโดยโปรแกรมลิสเรล
     ผลการวิจัยพบว่า (1) ความคล่องตัวของธุรกิจ การยกระดับศักยภาพการผลิต การจัดการนวัตกรรมของธุรกิจสมรรถนะของระบบโซ่อุปทาน ความได้เปรียบทางการแข่งขัน ที่มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกของความได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งมีความสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้ ดัชนีความกลมกลืนของความสัมพันธ์ของปัจจัยความได้เปรียบทางการแข่งขัน (2) โมเดลสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีความกลมกลืนทั้ง 6 ดัชนีที่ผ่านเกณฑ์การยอมรับ คือ ค่าดัชนี  x2/df = 3.616 CFI=0.910 GFI=0.832 AGFI=0.779 RMSEA = 0.0100 และ SRMR = 0.017 โมเดลแบบจำลองสมการเชิงโครงสร้างมีความเหมาะสมกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ คือ ค่าดัชนี x2/df=1.159 CFI=0.996 GFI=0.957 AGFI=0.920 RMSEA 0.025 และ SRMR =0.010 และ (3) โมเดลความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจการพิมพ์ฉลากสินค้าในประเทศไทย มีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ การจัดการนวัตกรรมของธุรกิจ สมรรถนะของระบบโซ่อุปทาน ความคล่องตัวของธุรกิจ และการยกระดับศักยภาพการผลิต


*นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 10170
ภายใต้การควบคุมของ รองศาสตราจารย์ ศิริพร สัจจานันท์ อาจารย์ ดร.สุพัตรา จันทนะศิริ และ อาจารย์ ดร. ฐนันวริน โฆษิตคณิน
Corresponding author: buddhagarn.r@chula.ac.th

Article Details

How to Cite
เฉิน อ. (2023). การวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการ ธุรกิจการพิมพ์ฉลากสินค้า ในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 10(1), 14–26. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2023.2 (Original work published 30 มิถุนายน 2023)
บท
บทความวิจัย

References

ทวีเกียรติ ประพฤทธิ์ตระกูล. (2563). ตัวแบบการจัดการองค์การเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2563). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี2556และแนวโน้มปี 2557. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

อนงเยา พูลเพิ่ม. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทแอ็ดวานซ์ แพคเกจจิ้ง จำกัด. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

Babaei, H., Ramesani, A., and Khanuki, A. A. (2013). Developing a model for agility of business organizaitons based on supply chain processes: A case study of automobile industry in Iran. Australian Journal of Basic and Applied Sciences, 7(4), 750-759.

Christopher, M. (2000).The agile supply chain: competing in volatile markets. Industrial marketing management, 29 (1), 37-44.

Christopher, M. and Towill, D. (2001). An integrated model for the design of agile supply chains. International journal of physical distribution and logistics management 31(4), 235-246.

Christopher, M., and Peck, H. (2004). The five principles of supply chain resilience. Logistics europe, 12(1), 16-21.

Dekkers, A. H. (2006). Measuring the agility of networked military forces. Journal of battlefield technology, 9 (1), 19.

Falasca, M., Zobel, C. W., and Cook, D. (2008). A decision support framework to assess supply chain resilience. In proceedings of the 5th international ISCRAM Conference, 596-605.

Goyal, S., and Pitt, M. R. (2004). Business continuity planning as a facilities management tool. Facilities, 22 (3/4), 87-99.

Gunasekaran, A., Patel, C. and McGaughey, R.E. (2004). A framework for supply chain performance measurement. International journal of production economics, 87(3), 333-347.

Hair, J.F., Anderson, R.E., Tatham, R.L., and Black, W.Ç. (1998). Multivariate data analysis. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall. 103-124.

Lindström J., Samuelsson S., Hägerfors A., (2010). Business continuity planning methodology. Disaster prevention and management, 19(2), 243 – 255.

Lindström, T., & Aulin, C. (2014). Market and technical challenges and opportunities in the area of innovative new materials and composites based on nanocellulosics. Scandinavian Journal of Forest Research, 29 (4), 345-351.

Mansfield, E. (1968). Industrial research and technological innovation: An econometric analysis. New York: W. W. Norton.

Murphy and Cold. (2009). Attitude.Retrieved March 9, 2021 from http://www.Novabizz.com/

NovaAce/Attitude.htm.

Nohria, N., and Gulati, R. (1996). Is slack good or bad for innovation? Academy of Management Journal, 39(5), 1245-1264.

Ponomarov, S. Y. and Holcomb, M. C. (2009). Understanding the concept of supply chain resilience. The international journal of logistics management 20(1), 124-143.

Porter, M. E. (1985). Competitive advantage: Creating and sustaining superior performance. New York: The Free Press.

Saunila, M. (2014). Innovation capability for SME success: Perspectives of Financial and operational performance. Journal of Advances in Management Research, 11(2), 163-17

Utterback. (2015). Quality Management. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.