การศึกษาระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

วาสนา พ่วงพรพิทักษ์
วนิตา บุญโฉม

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาและเก็บข้อมูลการลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลหลัก 32 ราย คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 30 ราย เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 1 ราย และผู้ประกอบการแปรรูปอาหารสัตว์ 1 ราย ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแผนผังก้างปลา ตัวแบบอ้างอิงการปฏิบัติงานโซ่อุปทาน และวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งในโซ่อุปทาน
           ผลการวิจัยจากการสัมภาษณ์ พบว่า โซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของจังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วยเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผู้รับจ้างสี ผู้รวบรวมท้องถิ่น (ต้นน้ำ) มีหน้าที่หลักในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปรับปรุงคุณภาพเบื้องต้น ส่งไปที่โรงงานอาหารสัตว์หรือโรงงานแป้งข้าวโพด (กลางน้ำ) เพื่อแปรรูปข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย และกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภค (ปลายน้ำ) ผลการวิเคราะห์โซ่อุปทานตามมิติของ SCOR Model 1) การวางแผน (Plan) เป็นการตัดสินใจในระยะสั้นเท่านั้น หรือให้บริษัทเป็นคนจัดการวางแผนให้หมด 2) การจัดซื้อจัดหา (Source) ดำเนินการจัดหาเท่าที่ต้องการและเมื่อต้องการใช้ โดยไม่มีการวางแผนล่วงหน้า 3) การผลิต (Make) การปลูกข้าวโพดของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน และประสบการณ์ในการปลูกและดูแลรักษา 4) การขนส่ง (Delivery) มีทั้งจำหน่ายเองและบริษัทมารับเอง 5) การส่งคืน (Return) พบว่าไม่มีกระบวนการส่งสินค้าคืน การวิเคราะห์ผังก้างปลา พบว่า ปัญหาหลักที่ทำให้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ขายไม่ได้ราคาก็คือเรื่องความชื้น ส่วนการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งในโซ่อุปทาน พบว่า เกษตรกรมีประสบการณ์สูง มีรวมกลุ่มเพื่อสร้างเครือข่ายและอำนาจต่อรอง รัฐสนับสนุนและมีตลาดรองรับ อย่างไรก็ตามต้นทุนในการผลิตสูง และมีการเข้าถึงเทคโนโลยีต่ำ


*,** อาจารย์คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, นครราชสีมา 30000
Corresponding author: vanita.bo@rmuti.ac.th

Article Details

How to Cite
พ่วงพรพิทักษ์ ว. ., & บุญโฉม ว. . (2023). การศึกษาระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดขอนแก่น . วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 9(2), 240–252. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2022.47 (Original work published 30 ธันวาคม 2022)
บท
บทความวิจัย

References

ณัฐพล พจนาประเสริฐ อัจฉรา ปทุมนากุล และรวิสสาข์ สุชาโต. (2558). การจัดการโซ่อุปทานเพื่อพัฒนาคุณภาพข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธนิดา โขนงนุช . (2557). การศึกษาระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานยางพาราในจังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมและคอมพิวเตอร์คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ธนิต โสรัตน์. (2550). การประยุกต์ใช้การจัดการโซ่อุปทานโลจิสติกส์. กรุงเทพมหานคร: วี-เซิร์ฟ โลจิสติกส์.

นิอร สิริมงคลเลิศกุล สุรีย์รัตน์ กองวี และเอกวัฒน์ ญาณะวงษา. (2560). การศึกษาต้นทุนและห่วงโซ่อุปสงค์-อุปทาน การค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง ตำบลวาวี จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น. 11 (2) ,294-305.

ประจวบ กล่อมจิต. (2556). โลจิสติกส์-โซ่อุปทาน : การออกแบบและจัดการเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ซีเอ็ดยูเคชั่น.

รุธิร์ พนมยงค์. (2552). เคล็ด (ไม่) ลับจับทางโลจิสติกส์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มติชน.

วิทยา สุหฤทดำรง. (2549). มองรอบทิศ คิดแบบโลจิสติกส์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ อี.ไอ. สแควร์ พับลิซซิ่ง.

วิทยา สุหฤทดำรงค์. (2546). การจัดการโซ่อุปทาน = Supply chain management: strategy, planning and operation. กรุงเทพมหานคร: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.(2558).ข้อมูลการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ย้อนหลัง รายจังหวัด. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สำนักงานเกษตรจังหวัดขอนแก่น.(2556).รายงานผลการดำเนินงานการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. จังหวัดขอนแก่น: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

อลงกรณ์ เมืองไหว กัลยาณี เลาเจริญพร อนงค์นาฏ น้อยประเสริฐ และ บุญญฤทธิ์ มายิ้ม (2555). การศึกษาระบบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานมันสำปะหลัง อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2555 17-19 ตุลาคม 2555 ชะอำ เพชรบุรี.หน้า 1938-1944.

Supply Chain Council. (2010). Supply Chain Operations Reference (SCOR) Model: Overview- Version 10.0. Cypress, TX: The Council.