ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจครอบครัว: กรณีศึกษา ธุรกิจอพาร์ตเมนต์ ขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

รุจิกาญจน์ สานนท์
จุฑา เทียนไทย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยภายนอก (สภาพปัญหา โอกาส ภัยคุกคาม และความต้องการ) 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการจัดการธุรกิจของครอบครัว ที่มีผลต่อการประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจครอบครัว กรณีศึกษาธุรกิจอพาร์ตเมนต์ขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จาก 3 อพาร์ตเมนต์ ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 7 คน เครื่องมือในการวิจัยแบบสัมภาษณ์ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก
           ผลการวิจัย พบว่า 1) จุดแข็งของธุรกิจอพาร์ตเม้นต์ขนาดกลางและขนาดย่อมที่ดำเนินในรูปแบบของธุรกิจครอบครัวคือ การมีทุนทางสังคมของครอบครัว จุดอ่อนคือ มาจากทั้งเจ้าของธุรกิจและผู้เช่า รวมถึงความเสื่อมสภาพของอาคารตามอายุการใช้งาน โอกาสคือ สามารถผ่อนปรนกฎระเบียบได้มากกว่า ภัยคุกคามคือเกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกของการบริหารงานทั้งหมด ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี วัฒนธรรม ระเบียบราชการ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ 2) ปัจจัยด้านการจัดการธุรกิจ พบว่า ด้านการเงินกระบวนการภายใน การเรียนรู้และพัฒนา และด้านการจัดการผู้เช่า ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ งานวิจัยยังชี้ให้เห็นถึง ปัจจัยเพิ่มเติมที่สามารถสนับสนุนโอกาสทางธุรกิจในรูปแบบของธุรกิจครอบครัวคือ ความต้องการของเจ้าของธุรกิจในการสืบทอดธุรกิจให้แก่ทายาท ขณะเดียวกัน ปัจจัยทางด้านการจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจนั้น ล้วนแต่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน ดังนั้น ผู้ที่ดำเนินธุรกิจอพาร์ตเม้นต์ควรนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการจัดการเพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินงาน


* อาจารย์ประจำสาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี 12110
** อาจารย์ประจำ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพฯ 10240
Corresponding author: rujikarn_srmutt.ac.th

Article Details

How to Cite
สานนท์ ร. ., & เทียนไทย จ. . (2023). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจครอบครัว: กรณีศึกษา ธุรกิจอพาร์ตเมนต์ ขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 9(2), 227–239. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2022.46 (Original work published 30 ธันวาคม 2022)
บท
บทความวิจัย

References

กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. (2564). จำนวนประชากรย้ายเข้า ประชากรย้ายออก ในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามสำนักงานเขต พ.ศ. 2562 – 2563, [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2564, จาก, http://www.bangkok.go.th/pipd/page/sub/18654

จุฑา เทียนไทย. (2554). การจัดการ: มุมมองนักบริหาร, (พิมพ์ครั้งที่ 5), กรุงเทพ: ซีวีแอลการพิมพ์.

ธนาคารกสิกรไทย. (2560). ลงทุนถูกทางทำอพาร์ตเมนต์รวมดั่งใจ, [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2564, จาก https://www.kasikornbank.com/th/ business/sme/KSMEKnowledge/article/

KSMEAnalysis/Documents/Right-Investment-Apartment.pdf

ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2562). อยากสร้างอพาร์ทเม้นท์ ควรเริ่มอย่างไร, [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2564, จาก https://blog.ghbank.co.th/how-to-start-building-apartment/

สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2552). ธุรกิจอพาร์ทเมนต์ให้เช่า (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ:เจเอสที.

สมพิศ สุขแสน. (2556). เทคนิคการทํางานให้มีประสิทธิภาพ, [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2564, จาก http://library.uru.ac.th/article/htmlfile/technic_work1.pdf.

วรรณดี สุทธินรากร. (2556). การวิจัยเชิงคุณภาพ: การวิจัยในกระบวนทัศน์ทางเลือก. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

Ahmad, S., Omar, R., & Quoquab, F. (2020). Family firms’ sustainable longevity: the role of family involvement in business and innovation capability. Journal of Family Business Management, 11(4), 368-385.

Arregle, J. L., Hitt, M. A., Sirmon, D. G., & Very, P. (2007). The development of organizational social capital: Attributes of family firms. Journal of management studies, 44(1), 73-95.

Asad, M., Chethiyar, S. D., & Ali, A. (2020). Total quality management, entrepreneurial orientation, and market orientation: Moderating effect of environment on performance of SMEs. Paradigms; A Research Journal of Commerce, Economics, and Social Sciences, 14(1), 102-108.

Carlock, R., & Ward, J. (2001). Strategic planning for the family business: Parallel planning to unify the family and business. Retrieved May 20, 2021. from https://www.researchgate.net/publication/344272290_Strategic_Planning_for_the_Family_Business_Parallel_Planning_to_Unify_the_Family_and_Business

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1996). Linking the balanced scorecard to strategy. California management review, 39(1), 53-79.

Koentjoro, S., & Gunawan, S. (2020). Managing Knowledge, Dynamic Capabilities, Innovative Performance, and Creating Sustainable Competitive Advantage in Family Companies: A Case Study of a Family Company in Indonesia. Journal of Open Innovation: Technology, Market, and Complexity, 6(3), 1-21.

Petlina, A. (2015). Family business in the Czech Republic: actual situation. Trends Economics and Management, 9(23), 32-42.

Memili, E., Chang, E. P., Kellermanns, F. W., & Welsh, D. H. (2015). Role conflicts of family members in family firms. European Journal of Work and Organizational Psychology, 24(1), 143-151.

Mikalef, P., Pateli, A., & van de Wetering, R. (2020). IT architecture flexibility and IT governance decentralisation as drivers of IT-enabled dynamic capabilities and competitive performance: The moderating effect of the external environment. European Journal of Information Systems, 30(5), 512-540.

Rostini, R., Souisa, W., Masmarulan, R., & Yasin, N. (2021). Competitiveness development, learning orientation, entrepreneurial commitment and business performance in the silk industry. Management Science Letters, 11(3), 903-908.