แนวปฏิบัติงานด้านการจัดการงานสารบรรณภายใต้สถานการณ์โควิด-19 กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Main Article Content

คุณากร มากเอนก
สุรวี ศุนาลัย

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวปฏิบัติงานด้านการจัดการงานสารบรรณภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเปรียบเทียบ แนวปฏิบัติงานด้านการจัดการงานสารบรรณ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) วิเคราะห์ผลกระทบของปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีต่อแนวปฏิบัติงานด้านการจัดการงานสารบรรณ และ 3) วิเคราะห์ผลกระทบของมาตรการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ที่มีต่อแนวปฏิบัติงานด้านการจัดการงานสารบรรณ โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 249 คน
          ผลการวิจัยพบว่า
          1) แนวปฏิบัติงานด้านการจัดการงานสารบรรณภายใต้สถานการณ์โควิด-19 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และแนวปฏิบัติงานทั้ง 3 ด้าน (I-P-O) อยู่ในระดับมาก บุคลากรที่ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ การศึกษา ประเภทตำแหน่ง และอายุงานที่แตกต่างกัน มีแนวปฏิบัติงานด้านการจัดการงานสารบรรณไม่แตกต่างกัน
          2) ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงาน ทั้ง 4 ปัจจัยร่วมกันอธิบายความผันแปรของแนวปฏิบัติงานด้านการจัดการงานสารบรรณได้ร้อยละ 44.6 เมื่อพิจารณาตัวแปรอิสระที่มีอำนาจในการทำนาย ได้แก่ สภาพแวดล้อมองค์กร (Xa1) ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (Xa2) ความมั่นคงก้าวหน้าในอาชีพ (Xa3) และขวัญและกำลังใจบุคลากร (Xa4) สมการวิเคราะห์การถดถอย คือ ŷ = 1.375 + .145(Xa1) + .192(Xa2) + .096(Xa3) + .245(Xa4)
           3) มาตรการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์โควิด-19 จำนวน 3 มาตรการร่วมกันอธิบายความผันแปรของแนวปฏิบัติงานด้านการจัดการงานสารบรรณได้ร้อยละ 48.3 เมื่อพิจารณาตัวแปรอิสระที่มีอำนาจในการทำนาย ได้แก่ มาตรการด้านบุคคล (Xb1) มาตรการด้านการปฏิบัติราชการ (Xb3) และมาตรการด้านการป้องกันการติดเชื้อ (Xb4) สมการวิเคราะห์การถดถอย คือ ŷ = .975 + .282(Xb1) + .208(Xb3) + .220(Xb4)


* นักศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กรุงเทพฯ 10210
** อาจารย์ และปริญญาเอก มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กรุงเทพฯ 10210
Corresponding author: suravee.sui@dpu.ac.th

Article Details

How to Cite
มากเอนก ค. . ., & ศุนาลัย ส. . . (2023). แนวปฏิบัติงานด้านการจัดการงานสารบรรณภายใต้สถานการณ์โควิด-19 กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ . วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 9(2), 215–226. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2022.45 (Original work published 30 ธันวาคม 2022)
บท
บทความวิจัย

References

จิราพร มอญเลิศ. (2560). ประสิทธิภาพด้านการปฏิบัติงานสารบรรณของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารปัญญา, 24 (1), 36-45.

ดาวรุ่งรตา วงษ์ไกร. (2563). การบริหารจัดการองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของบุคลากรสำนักงานหลักประกันสุขภาพสาขาเขตพื้นที่ 13 กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 7(2), 257-269.

ธนาวิทย์ หมัดลัง และปกรณ์ ปรียากร. (2563). ความรู้ความเข้าใจของข้าราชการสถานีดับเพลิงบ่อนไก่ที่มีต่องานสารบรรณ. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยรำไพพรรณี, 3(2), 28 – 40.

บัณฑิตา โสภาชื่น. (2563). การปฏิบัติหน้าที่ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินภัยพิบัติโรคไวรัสโควิด-19 ของศูนย์บริการประชาชน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย : จากนโยบายสู่มาตรการและการปฏิบัติของหน่วยงาน. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มลฑา พิทักษ์. (2554). ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน สังกัดสำนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

เยาวลักษณ์ พิมพ์เทพ. (2559). ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานสารบรรณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่อำเภอท่าชนะ ไชยา ท่าฉาง และวิภาวดี จังหวัด สุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

วีรกิจ อุฑารสกุล, มัตธิมา กรงเต้น, และปาริชาติ ขำเรือง. (2562). ผลกระทบด้านเทคโนโลยีจากนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของการปฏิบัติงานวิชาชีพบัญชี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 6(2), 215-224.

สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2563). เอกสารแนวทางการปฏิบัติงานของบุคลากร ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบำดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) [เอกสารราชการ].

อัครเดช ไม้จันทร์ และนุจรีย์ แซ่จิว. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมตัดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวดสงขลา. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(1), 95-121.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. & Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). Pearson Education. New York.

Herzberg, F. (1987). One more time: How do you motivate employees. Harvard Business Review, September – October, 5-16.

Ruthankoon, R. & Ogunlana, S.O. (2003). Testing Herzberg’s two‐factor theory in the Thai construction industry. Engineering, Construction and Architectural Management, 10(5), 333-341.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harper and Row, New York.