การปรับตัวในการทำงานและผลการปฏิบัติงานช่วงโควิด-19 กรณีศึกษาพนักงานธนาคารเอกชนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พิชญนันท์ สอนวิสัย
สุรวี ศุนาลัย

บทคัดย่อ

           สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาคธุรกิจการเงิน การเกิดขึ้นของสถานการณ์อย่างพลิกผันนี้ทำให้พนักงานในธุรกิจการเงินต้องปรับตัวในการทำงานเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ การวิจัยครั้งนี้เปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานช่วงโควิด-19 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และศึกษาการปรับตัวในการทำงานที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานช่วงโควิด-19 กรณีศึกษาพนักงานธนาคารเอกชนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 262 คน จากประชากร 520 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ
          ผลวิจัย พบว่า 1) พนักงานที่มีเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน แตกต่างกันมีผลการปฏิบัติงานช่วงโควิด-19 แตกต่างกัน และ 2) การปรับตัวในการทำงานสามารถอธิบายการผันแปรของผลการปฏิบัติงานของพนักงานช่วงโควิด-19 ได้ร้อยละ 89.50 (R2 = .895) โดยเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอย คือ
           ŷ = .030 + .034x1 + .450x2** + .341x3** + .181x4**


* นักศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กรุงเทพฯ 10210
** อาจารย์ และปริญญาเอก มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กรุงเทพฯ 10210
Corresponding author: phitcha.sws@gmail.com

Article Details

How to Cite
สอนวิสัย พ. . ., & ศุนาลัย ส. . . (2023). การปรับตัวในการทำงานและผลการปฏิบัติงานช่วงโควิด-19 กรณีศึกษาพนักงานธนาคารเอกชนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 9(2), 148–157. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2022.41 (Original work published 30 ธันวาคม 2022)
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรา พวงประยงค์. (2564). สถานการณ์ผลกระทบ ความต้องการการช่วยเหลือ และการปรับตัวของคนวัยทำงานในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19: การศึกษาเชิงประจักษ์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 35(1), 266-286.

ดาวรุ่งรตา วงษ์ไกร. (2563). การบริหารจัดการองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของบุคลากร สำนักงานหลักประกันสุขภาพสาขาเขตพื้นที่ 13 กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 7(2), กรกฎาคม – ธันวาคม, 257-269.

เทคซอส. (2564). NIA ชี้เทรนด์ใหม่ Work from Home มีแนวโน้มขยายตัวพร้อมเร่งมาตรการกระตุ้น Startup และ SMEs. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 เมษายน 2564, จาก https://techsauce.co/pr-news/nia-work-from-home-covid-19#.

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2544). การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ.

(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี.

ปาริฉัตร โชติภูมิเวทย์. (2564). การบริหารจัดการกระบวนการทำงานที่บ้าน (WFH) เพื่อคุณภาพชีวิตของพนักงานต่อประสิทธิภาพการทำงานในภาวะวิกฤตโควิด-19 ของกลุ่มธนาคาร. การค้นคว้าอิสระ การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

พรรัตน์ แสดงหาญ. (2563). การปรับตัวในการทำงานที่บ้านของผู้ปฏิบัติงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกในช่วงวิกฤตโควิด-19. วารสารการจัดการธุรกิจมหาวิทยาลัยบูรพา, 9(2), 14-33.

วรุตม์ อยู่ยอด. (2564). การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวในการทำงานของพนักงานธนาคารภายใต้สถานการณ์โควิด-19. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

สรวุฒิ เอี่ยมนุ้ย. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19 อำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย. วารสาร สาธารณสุขและสุขภาพศึกษา, 1(2), 75-90.

อัญชลี กตัญญู และพงศกร เขมวัฒน์เดชา. (2564). ศักยภาพการปรับตัวเพื่อรองรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม, 3(1), 35-58.

อภิชล ทองมั่ง กำเนิดว้ำ และสุรสิทธิ์ ระวังวงศ์ (2563). การทำงานที่บ้าน: แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(3), 119-130.

Roy, Sr. C., & Andrews, H. (1999). The Roy adaptation model (2nd ed.). Stamford: Appleton & Lange.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory statistic, (3rd Edition). New York: Harper & Row.