ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการจัดส่งอาหารใน เขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ชัชดาภรณ์ จอมโคกกรวด
ชมพูนุท อ่ำช้าง

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการให้บริการจัดส่งอาหารในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 2) ลำดับของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกใช้บริการจัดส่งอาหารในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 400 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบสะดวก จากนั้นประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคกระบวนการวิเคราะห์ลำดับชั้นแบบคลุมเครือ (Fuzzy Analytic Hierarchy Process : FAHP) เพื่อหาลำดับของปัจจัยที่มีผลในการตัดสินใจเลือกใช้บริการจัดส่งอาหารในเขตพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่า
           1. รูปแบบการให้บริการจัดส่งอาหารในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่ร้านอาหารรายใหญ่จะเป็นผู้ให้บริการขนส่งอาหาร แต่ในปัจจุบันรูปแบบการให้บริการจัดส่งอาหารมีการขยายตัวของร้านอาหารรายย่อยเพิ่มมากขึ้น เพราะเนื่องจากมีผู้ให้บริการขนส่งอาหารที่เป็นตัวกลางประสานระหว่างร้านอาหารและผู้บริโภค พบว่าสัดส่วนการเลือกใช้บริการจัดส่งอาหารของผู้ให้บริการขนส่งอาหารได้แก่ Grab มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 67.7 รองลงมา Food Panda คิดเป็นร้อยละ 28.5 และผู้ให้บริการรายอื่นอีกเพียงเล็กน้อย แสดงให้เห็นว่าพื้นที่กรณีศึกษามีความนิยมใช้บริการจัดส่งอาหารเพิ่มมากขึ้น
           2. ปัจจัยที่มีลำดับสำคัญในการตัดสินใจเลือกใช้บริการจัดส่งอาหารในพื้นที่กรณีศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านราคา มีอิทธิพลในการตัดสินเลือกใช้บริการจัดส่งอาหารมากที่สุด (0.150) รองลงมาปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (0.146) ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด (0.144) ปัจจัยด้านช่องทางจัดจำหน่าย (0.142) ปัจจัยด้านกระบวนการ (0.141) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (0.140) และลำดับสุดท้าย ปัจจัยด้านบุคคล (0.136)ตามลำดับ ซึ่งอิทธิพลของปัจจัยดังกล่าวสามารถใช้เป็นแนวทางของผู้ให้บริการจัดส่งอาหารสามารถนำไปเป็นแนวทางการพัฒนาบริการให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้


*1 วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา 20131
**2 อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา 20131
Corresponding author: chompoonut@go.buu.ac.th

Article Details

How to Cite
จอมโคกกรวด ช. ., & อ่ำช้าง ช. . (2023). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการจัดส่งอาหารใน เขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 9(1), 291–304. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2022.22 (Original work published 30 มิถุนายน 2022)
บท
บทความวิจัย

References

เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2549). หลักการและการใช้สถิติการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวสำหรับการวิจัย ทางการพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

การเงินธนาคารประเทศไทย. (2563). ธุรกิจ Last-mile Delivery ปี ’63 โต 15-18% ท่ามกลางการแข่งขันที่เข้มข้น [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2564 จาก https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/kresearch-last-mile-delivery-1106/.

ฌัชชา แงะสัมฤทธิ์ และ ชนิดา ยาระณะ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริการธุรกิจจัดส่งอาหารในยุคโควิด-19. โครงการนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2564. คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร (100-113).

ณัฐศาสตร์ ปัญญานะ และ วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการอาหารตามสั่งแบบจัดส่ง. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(1), 53-66.

ธนาศักดิ์ ข่ายกระโทก สิริมา บูรณ์กุศล อรุณ หงส์ทอง และ ศรัณย์ ตันวัฒนะพงษ์. (2563). กระบวนการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจจัดส่งอาหารในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (263-274).

ธัญยรัตน์ ติยอภิสิทธิ์ และ อรรถพล สมุทคุปติ์. (2559). ตัวแบบในการคัดเลือกผู้ให้บริการการบำรุงรักษายานพาหนะโดยอาศัยเทคนิคฟัซซี เอเอชพี. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 24 (3), 127-141.

พิมพุมผกา บุญธนาพีรัชต์. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ Food Delivery ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วีระพงษ์ ภู่สว่าง. (2560). ความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดของร้านอาหารและเครื่องดื่มชุมชนตรอกวังหลัง กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2549). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: Diamond in Business World.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). Covid-19 โอกาสและความท้าทายการพัฒนาธุรกิจ Last-mile Delivery [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2564 จาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Last-mile-FB230420.aspx.

สำนักงานเศรษฐกิจอุสาหกรรม. (2560). ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2564 จาก http://fic.nfi.or.th/about.php.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). การใช้บริการ Online Food Delivery ของคนไทย [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2564 จาก https://www.etda.or.th/th/https/www-etda-or-th/th/newsevents/pr-news/Online-Food-Delivery-Survey-2020.aspx.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). รายงานสถิติจังหวัดนครราชสีมา. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สิริธร วิรัชพันธุ์ และ ปราโมทย์ ลือนาม. (2563). การเลือกบริการเทคโนโลยีกดเงินแบบไม่ใช้บัตรของธนาคารไทยพาณิชย์ที่เหมาะสมด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี. วารสารสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(1), 25-36.

หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา. (2563). ผลสำรวจ Food Delivery กับผลกระทบต่อเมืองโคราช. นครราชสีมา: หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา.

อดิศักดิ์ ธีรานุพัฒนา บุญสิตา กิติศรีวรพจน์ และ วราพร บุณจอม. (2559). การคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์โดยใช้กระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำดับชั้นและทฤษฎีฟัซซีเซท. วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 39(152), 1-29.

อาสาฬหะ จันทน์คร และ ปราโมทย์ ลือนาม. (2558). การคัดเลือกเครือข่ายสังคมเพื่อการสื่อสารภายในองค์กรโดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 13(1), 82-92.

Brand inside. (2563). โควิดเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค อาหารสำเร็จรูปขายดี นิยมสั่งเดลิเวอรี่เพิ่มขึ้นกว่า 38% [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2563 จาก https://brandinside.asia/customer-behavior-covid-19/.

Buckley, J. J. (1985). Fuzzy Hierarchical Analysis. Fuzzy Sets and Systems, 17, 233-247.

Yamane.T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper. & Row.