แนวทางการบริหารยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ขององค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

จนันญา มีนุช

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการบริหารยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร (2) การประยุกต์นโยบายไทยแลนด์ 4.0 มีอิทธิพลกับการบริหารยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร (3) แนวทางการบริหารยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ขององค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในองค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 395 คน กลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) คือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์ ปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์ รองปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์ ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์ และ หัวหน้าฝ่ายนโยบายและแผน รักษาการแทน หัวหน้าสำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ระดับการบริหารยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ในภาพรวม มีการบริหารยุทธศาสตร์อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีการบริหารยุทธศาสตร์อยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านการบริหารจัดการที่ดี ด้านบริการสาธารณะ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว ด้านที่มีการบริหารยุทธศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
           2. การประยุกต์นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้านนวัตกรรม ด้านเทคโนโลยี ด้านความคิดสร้างสรรค์ และด้านการสนับสนุนของภาครัฐ มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับการบริหารยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.001 สมการมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 75.40 สมการการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ คือ Ŷ = 0.102 (x1) + 0.337 (x2) + 0.292 (x3) + 0.252 (x4)
           3. แนวทางการบริหารยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ขององค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า อบต. ได้ดำเนินการพัฒนาการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในท้องที่ให้พร้อมใช้งาน มีการส่งเสริมระบบการศึกษา มีการพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนการดูแลทรัพยากรธรรมชาติที่มีในท้องถิ่น มีการส่งเสริมสนับสนุนการแก้ไขป้องกันและต่อต้านยาเสพติด มีการสนับสนุนงานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ มีการปรับปรุงและพัฒนาขีดสมรรถนะและวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของบุคลากร


*วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์และสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด 76120. ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บำเพ็ญ ไมตรีโสภณ
Corresponding author : Jananyame@gmail.com

Article Details

How to Cite
มีนุช จ. . (2023). แนวทางการบริหารยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ขององค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 9(1), 1–14. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2022.1 (Original work published 30 มิถุนายน 2022)
บท
บทความวิจัย

References

กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2559). พิมพ์เขียว Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2563.

จาก http://www.libarts.up.ac.th/v2/img/Thailand-4.0.pdf.

คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสาคร. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสมุทรสาคร (พ.ศ. 2561-พ.ศ. 2564). คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสาคร.

ณัฐกรณ์ ฉิมพาลี. (2561). บทบาทของผู้บริหารท้องถิ่นตามทัศนะของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่ท้องถิ่นในเขตอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

บุญฤทธิ์ เพ็ชรวิศิษฐ์. (2558). ศักยภาพการบริหารการพัฒนาของเทศบาล: กรณีศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 7(2), 109-131.

ประทีป มากมิตร และอารีย์ สุขสวัสดิ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จต่อการพัฒนาชุมชนพูนบำเพ็ญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 19 (2), 95-105.

ศราวุธ พจนศิลป. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0 ของจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

สำนักคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). PMQA การพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย จำกัด.

องค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์. (2559). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ. 2559-2563). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://pantainorasingh.go.th.

อัจจิมา สวัสดี. (2560: 58-61). การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประจำปี พ.ศ. 2557-2561 (ฉบับทบทวน) ของเทศบาลตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

อุมาพร กาญจนคลอด. (2559). ประสิทธิผลในการจัดการนวัตกรรมของเทศบาลในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร (สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ), 9 (2), 2158-2171.

Heinich R., Molenda M. and Russell, James D. (1993). Instructional Media and the New Technologies of Instruction. (4th ed.). New York: Macmillan Publishing Company.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.