ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารขนาดกลางในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กม จารุเศรนี

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารขนาดกลางในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารขนาดกลางในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารขนาดกลางในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 300 คน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญตัวแทนธุรกิจร้านอาหาร ผู้แทนหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร รวม 30 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานวิจัยใช้การวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้างโดยโปรแกรม AMOS
           ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารขนาดกลางมากที่สุดคือการตอบสนองต่อตลาด รองลงมาคือกระบวนการจัดการ และการให้ความสำคัญกับตลาด ส่วนประสิทธิผลของการจัดการไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารขนาดกลาง โดยปัจจัยทั้งสามสามารถอธิบายความแปรปรวนของความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารขนาดกลาง (R2) ได้เท่ากับ 0.96 (ร้อยละ 96) (2) ผลการศึกษาได้โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารขนาดกลางในเขตกรุงเทพมหานคร และพบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีความกลมกลืนของโมเดลดังนี้ X2 = 96.85, df = 56, X2 / df = 1.73, p-value= 0.052, GFI = 0.955 และค่า RMSEA = 0.049


* หลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี กรุงเทพฯ 10170
Corresponding author: Kom.crma@gmail.com

Article Details

How to Cite
จารุเศรนี ก. . (2022). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารขนาดกลางในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 9(2), 158–173. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2022.42
บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2553). การจดทะเบียนของบริษัทจำกัด. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ

มิถุนายน 2564. จาก www.dbd.go.th/.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2562). ธุรกิจร้านอาหาร. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2564. จาก www.dbd.go.th/.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2562. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2564. จาก https://webhost.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). ติดปีกผู้ประกอบการ กลุ่มอาหาร-เกษตร ผลักดันสู่อุตสาหกรรม 4.0. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://www.newsplus.co.th/115877

ณัฐ อมรภิญโญ. (2556). รูปแบบการประสบความสำเร็จที่ยั่งยืนของผู้ประกอบการรายย่อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 9(3). 57-66.

ตุลา มหาพสุธานนท์. (2554). หลักการจัดการ. กรุงเทพฯ : พีเอ็น เค แอนด์ สกายพริ้นติ้ง

นารินี อดุลทิฐิพัชร อังคณา ขันตรีจิตรานนท์ และนฤมล ศราธพันธ. (2558). ปัจจัยความสำเร็จและหลักเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในกรุงเทพมหานคร. วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม) 36, 217 – 229.

นภดล ร่มโพธิ์ และมนวิกา ผดุงสิทธิ์. (2552), เครื่องมือการประเมินผลการปฏิบัติงานองค์การ. กรุงเทพฯ : คณะบุคคลเอ็นจิเนียริ่ง.

ปวริศร์ เหลืองทองคำ. (2553). ระบบการจัดการร้านอาหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

วันทนีย์ แสนภักดี บัณฑิต ผังนิรันดร์ และปรีชา พงษ์เพ็ง. (2560). รูปแบบการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนของธุรกิจร้านอาหารในเขตเศรษฐกิจพิเศษ. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2) (ฉบับพิเศษ). 67-82.

ศุภริน เจริญพานิช. (2562). บทวิเคราะห์ธุรกิจ SMEs (Quick Study) สาขาร้านอาหาร. กรุงเทพฯ :กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์.

ศุภวุฒิ สายเชื้อ ปรเมธี วิมลศิริ ริชาร์ด ไพวิส ชัยประนิน วิสุทธิผล ดวงฤทธิ์ บุนนาค และ อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล. (2552). ทำไมต้องเศรษฐกิจสร้างสรรค์. กรุงเทพ ฯ: คอนแทรคท์ พับลิชิ่ง.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). ร้านอาหาร ปี 64 ยังเสี่ยงสูง. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2564 จาก

https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Restaurant-FB-15-01-21.aspx

ศิริพงศ์ รักใหม่. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการร้านอาหารและภัตตาคาร: กรณีศึกษาผู้ประกอบการร้านอาหารและภัตตาคารในเขตประเวศและพระโขนง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยดุสิตธานี.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ ปริญ ลักษิตานนท ์ และ สมชาย หิรัญกิตติ. (2547). ศัพท์การบริหารธุรกิจ. กรุงเทพ ฯ: ธรรมสาร.

อภิรดี คําไล้. (2562). อิทธิพลกระบวนการจัดการและตัวแบบกลยุทธ์ 7’S ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจ

แฟรนไชส์ในประเทศไทย. วารสารศรีปทุมชลบุรี, 16(2), 114-122.

อลงกรณ์ มีสุทธา และสุมิตร สัชฌุกร. (2551). การประเมินผลการปฏิบัติงาน การประเมินโดยใช้ Competency. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพ ฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

Dessler, G. (2013). Human resource management (13th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Homburg, C., Grozdanovic, M., and Klarmann, M. (2007). Responsiveness to customers and competitors: the role of affective and cognitive organizational systems. Journal of Marketing, 71(3), 18–38.

Hooper, V. A. (2006). The impact of the alignment between information systems and marketing on business performance. Retrieved January 21, 2020, from https://core.ac.uk/download/pdf/41335743.pdf

Hult, G. T. M., Snow, C. C., and Kandemir, D. (2003). The role of entrepreneurship in building cultural competitiveness in different organizational types. Journal of Management, 29(3), 401-426.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2010). Principles of Marketing. Prentice Hall.

Leung, J., and Kleiner, B. H. (2004). Effective management in the food industry. Management Research News, 27(4/5), 72-81.

McDonald, P. (2010). Teaching the concept of management: Perspectives from six honest serving men. Journal of Management and Organization, 16(5), 626-640.

Narver, J. C., and Slater, S. F. (1990). The effect of a market orientation on business profitability. The Journal of Marketing, 54(4), 20-35.

Ninemeier and Hayes. (2012). Foundation Lodging Management. U.S.A.: Pearson.

White, J. C., Varadarajan, P. R., and Dacin, P. A. (2003). Market situation interpretation and response: the role of cognitive style, organizational culture, and information use. Journal of Marketing, 67(3), 63–79.