กลยุทธ์เชิงบูรณาการของธุรกิจรถยนต์มือสองยุควิกฤต COVID-19

Main Article Content

ภาสฟ้า แสงสุข

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองยุควิกฤต COVID-19 (2) ศึกษากลยุทธ์การตลาด 7 Ps’ ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสอง ยุคโควิด-19 (3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคที่ส่งผลต่อการจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจรถยนต์มือสอง ยุควิกฤต COVID-19 และ (4) สร้างกลยุทธ์เชิงบูรณการของธุรกิจรถยนต์มือสองในยุควิกฤต COVID-19 และอนาคต
            วิจัยครั้งนี้ใช้แบบผสมผสานโดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยผู้ซื้อรถยนต์มือสองซึ่งไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนโดยใช้เกณฑ์ โดยใช้เกณฑ์จำนวนตัวแปรที่ศึกษาของ Cochran ได้จำนวน 380 คน เพื่อนำมาวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสอง ด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ส่วนวิธีวิจัยเชิงคุณภาพใช้การวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 20 คน และนำข้อมูลสำคัญที่ได้มาบูรณาการร่วมกับผลการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อสร้างกลยุทธ์เชิงบูรณาการในการประกอบธุรกิจรถยนต์มือสอง ยุควิกฤต COVID-19
          ผลการวิจัยพบว่า (1) การใช้กลยุทธ์การตลาด7P’s กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความเห็นด้วยกลยุทธ์การตลาดดังกล่าวโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้ซื้อรถยนต์มือสองมีความเห็นด้วยมากที่สุดคือ ด้านการส่งเสริมการตลาด รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านกระบวนการให้บริการตามลำดับ (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองยุควิกฤต COVID-19 พบว่า ปัจจัยลักษณะทางประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่างไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเลย แต่กลับพบว่า กลยุทธ์การตลาด 7P’s ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองคือ ผลิตภัณฑ์ ราคา และการส่งเสริมการตลาด (3) ผลการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคที่ส่งผลต่อการจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจรถยนต์มือสองยุควิกฤต COVID-19 พบว่า จุดแข็งของธุรกิจ คือ การมีเครือข่ายพันธมิตรทั้งทางตรงและทางอ้อม จุดอ่อนของธุรกิจคือ เครือข่ายนายหน้ายังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ และขาดประสบการณ์ โอกาสของธุรกิจคือ ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการที่ยังมีอายุน้อย อุปสรรคของธุรกิจคือ สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทำให้อำนาจซื้อน้อยลง และประกอบกับผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพซึ่งได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากภาวะวิกฤต COVID-19 และ (4) กลยุทธ์เชิงบูรณการของธุรกิจรถยนต์มือสองยุควิกฤต COVID-19 คือ การวางแผนกลยุทธ์ และการจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจเต็นท์รถยนต์มือสองในแต่ละภูมิภาค ส่วนการตลาดส่วนใหญ่เป็นการตลาดผ่านช่องทาง Google, Yahoo และ MSN Search การตลาดในรูปแบบเครือข่ายสังคม และการขายตรงแบบมีหน้าร้านเพื่อให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบสภาพรถยนต์ในบริเวณเต็นท์รถของผู้ประกอบการ


* หลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี กรุงเทพฯ 10170
Corresponding author: pardfah_m@hotmail.com

Article Details

How to Cite
แสงสุข ภ. . (2023). กลยุทธ์เชิงบูรณาการของธุรกิจรถยนต์มือสองยุควิกฤต COVID-19. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 9(2), 31–46. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2022.33 (Original work published 30 ธันวาคม 2022)
บท
บทความวิจัย

References

กิตติ ภักดี วัฒนะกุล. (2546). คัมภีร์ระบบสนับสนุนการตัดสินใจและระบบผู้เชี่ยวชาญ.กรุงเทพฯ : เคทีพีคอมพ์แอนด์คอนซัลท์

จิรัสย์ ธีระพัฒน์ธัชกร. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองของผู้บริโภคในจังหวัด พระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระ. หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชา บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ฉัตยาพรเสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ณภัทญ์ พรรณรักษ์. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์มือสองของลูกค้า ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์. บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต. สาขาการบริหารธุรกิจ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

ธัญญ์รวี ธรศิริปุณโรจณ์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อรถยนต์ผ่านเต็นท์รถมือสอง ในเขตจังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 7(1), 13 – 28.

นาทพิษณุ ดีรัตน์ และ พนมสิทธิ์ สอนประจักษ์. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 12(2), 48-59.

บวรลักษณ์ พูลสวัสดิ์ และดารณี พิมพ์ช่างทอง. (2563). กลยุทธ์ส่งเสริมการขายที่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 14 (1), 57-65.

ภคพล ดวงดี. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติผู้บริโภคในเชิงบวกที่มีต่อเต็นท์รถยนต์มือสองในจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล . วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

ยุดา รักไทย และ ธนิกานต์ มาฆะศิรานนท์ (2542) เทคนิคการแก้ปัญหาและตัดสินใจ = Problem solving & decision making กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท

รักษ์วรรณ ทรัพย์พึ่ง .(2559). พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีความต้องการซื้อรถยนต์มือสองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้า.

รังสรรค์ ชัยอิสรากร. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองของผู้บริโภค ในเขตจังหวดฉะเชิงเทรา. วารสารบัณฑิตศึกษา สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6(2) 268-277

อุสมาน กะลูแป และนิรันดิ์เกียรติ ลิ่วคุณูปการ. (2562). การจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจเต็นท์รถยนต์มือสองในพื้นที่จังหวัดยะลา. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 14(27), 205-217.

อุกฤษ อุทัยวัฒนา. (2557). พฤติกรรมการเลือกซื้อรถยนต์มือสองของลูกค้าเต้นท์รถพัฒนสรณ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons. Inc.

Etzel, M. J., Walker, B. J., & Stanton, W. J. (2007). Marketing (14th ed.). Boston: McGraw-Hill/ Irwin

Kotler, P. (2003). Marketing management. New Jersey: Prentice-Hall.

Maslow, Abraham. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row.

Suh, J. T. (2018). Strategies for used car dealership owners to sustain business in a competitive environment (Order No. 10973730). Available from ProQuest Dissertations & Theses Global. (2133030415). Retrieved June 23, 2021 from https://www.proquest.com/dissertations-theses/strategies-used-car-dealership-owners-sustain/docview/2133030415/se-2?accountid=48250