ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง

คำแนะนำในการจัดทำต้นฉบับบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในมนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การจัดพิมพ์ต้นฉบับ

1. บทความ รวมเอกสารอ้างอิงและอื่นๆ ควรมีความยาวประมาณ 15-20 หน้ากระดาษ A4 พิมพ์ด้วย Font TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 16 Point จัดหน้ากระดาษแบบกระจายแบบไทย

2. ระยะห่างจากขอบกระดาษทั้งด้านบน ด้านล่าง ด้านซ้ายและด้านขวา 1 นิ้ว

3. หมายเลขหน้า ให้ใส่ไว้ตำแหน่งด้านล่างกลางของกระดาษ ตั้งแต่ต้นจนจบบทความ

4. ชื่อเรื่องบทความ ระบุทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 18 Point (ตัวหนา) จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ โดยพิมพ์ชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและตามด้วยชื่อเรื่องภาษาอังกฤษในบรรทัดต่อมา

5. ชื่อผู้เขียน ระบุทุกคนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 16 Point พิมพ์ห่างจากชื่อบทความ 2 บรรทัด จัดชิดขวา สำหรับตำแหน่งงานและหน่วยงานที่สังกัดหรือที่อยู่ที่ติดต่อได้ให้ระบุเป็นเชิงอรรถ

6. ชื่อและหมายเลขกำกับตาราง ขนาดตัวอักษร 14 Point (ตัวหนา) ให้พิมพ์ไว้บนตารางจัดชิดซ้าย ใต้ตารางระบุแหล่งที่มาจัดชิดซ้าย (ถ้ามี)

7. ชื่อภาพและหมายเลขกำกับภาพ ชื่อแผนภูมิและหมายเลขกำกับแผนภูมิ ขนาดตัวอักษร 14 Point (ตัวหนา) ให้พิมพ์ไว้ใต้ภาพ แผนภูมิ จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ ใต้ชื่อภาพ แผนภูมิระบุแหล่งที่มา จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ

ส่วนประกอบของบทความ

บทความวิชาการ

งานเขียนทางวิชาการ หมายถึง งานเขียนเชิงวิชาการซึ่งมีการกำหนดประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์ อย่างชัดเจน ทั้งนี้มีการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวตามหลักวิชาการโดยมีการสำรวจวรรณกรรมเพื่อสนับสนุนจนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้ อาจเป็นการนำความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มาประมวลร้อยเรียงเพื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยที่ผู้เขียนแสดง ทัศนะทางวิชาการของตนไว้อย่างชัดเจนด้วย

บทความวิจัย 

บทความวิจัย หมายถึง งานเขียนเชิงวิชาการที่แสดงผลงานการศึกษาหรืองานค้นคว้าอย่างมีระบบ ด้วยวิธีวิทยาการวิจัย ที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น ๆ และมีที่มาและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล คำตอบหรือข้อสรุปรวมที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ (งานวิจัยพื้นฐาน) หรือการนำวิชาการนั้นมาใช้ประโยชน์ (งานวิจัยประยุกต์-Applied research) หรือ งานวิจัยสร้างสรรค์ (Creative research) หรือการพัฒนาอุปกรณ์ หรือกระบวนการใหม่ที่เกิดประโยชน์

ตัวอย่างการเขียนอ้างอิง

  1. การอ้างอิงในเนื้อหา

มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ใช้รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อหาด้วยระบบนาม-ปีของ APA 7th editon (American Psychological Association Citation Style) ให้ระบุนามสกุลผู้แต่ง (ทั้งผู้แต่งชาวไทยและต่างชาติ) ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าของเอกสารอ้างอิง เช่น

กรณีอ้างหน้าข้อความ เช่น Khetcharoen (2011, p. 88); Reynolds (1999, p. 89); Mush (2000, pp. 1-4)

กรณีอ้างหลังข้อความ เช่น (Khetcharoen, 2011, p. 88); (Reynolds, 1999, p. 89); (Mush, 2000, pp. 1-4)

        2. การอ้างอิงท้ายบทความ(เอกสารอ้างอิง)

มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ใช้รูปแบบการอ้างอิงตามระบบ APA 7th edition (American Psychological Association) ตามตัวอย่างดังนี้ (โปรดดูประกาศ 'แจ้งการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดทำเอกสารอ้างอิง (References)')

Example APA 7th edition+คำแนะนำ มนุษยศาสตร์สาร

APA7-CMUL

การอ้างอิงสารสนเทศตาม “Publication Manual of the American Psychological Association”(7th Edition)

กระบวนการกลั่นกรองบทความ

      บทความที่จะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) ดังนี้

      1. ผู้เขียนลงทะเบียนเพื่อใช้งานระบบ Thaijo 2.0 เพื่อดำเนินการ ส่งบทความ และ “แบบฟอร์มเสนอบทความเพื่อพิจารณาการตีพิมพ์ (คลิกที่นี่) ทางออนไลน์ผ่านระบบ ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/submission

      2. เมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความเรียบร้อยแล้ว กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบโดยทันที

      3. กองบรรณาธิการจะดำเนินการตรวจสอบบทความที่ได้รับว่าอยู่ในขอบเขตเนื้อหาวารสารหรือไม่ รวมถึงคุณภาพทางวิชาการและประโยชน์ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเบื้องต้น และจะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เขียนทราบภายใน 30-45 วัน

      4. หลังจากพิจารณาเบื้องต้นแล้ว กองบรรณาธิการจะดำเนินการส่งบทความเพื่อกลั่นกรองต่อไป โดยจะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 2 ท่าน ประเมินคุณภาพของบทความว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจะลงตีพิมพ์หรือไม่ ซึ่งกระบวนการกลั่นกรองนี้ทั้งผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนจะไม่ทราบข้อมูลซึ่งกันและกัน (Double-blind peer review) โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 20-40 วัน

      5. เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความแล้ว กองบรรณาธิการจะตัดสินการพิจารณาโดยอิงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิว่าบทความนั้นๆ ควรนำลงตีพิมพ์ หรือควรส่งให้ผู้เขียนแก้ไขก่อนส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินอีกครั้ง หรือปฏิเสธการตีพิมพ์ และจะแจ้งผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้เขียนรับทราบ ภายในระยะเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับผลการพิจารณา โดยผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวถือเป็นที่สิ้นสุด