ว่าด้วยอุดมการณ์และโครงสร้างของหลุยส์ อัลธูแซร์ สำรวจงานศึกษาในไทยและข้อเสนอในการอ่านใหม่

Main Article Content

Sing Suwannakij
Tinakrit Sireerat

บทคัดย่อ

หลุยส์ อัลธูแซร์ (2461-2533) นักปรัชญามาร์กซิสต์คนสำคัญชาวฝรั่งเศส ได้รับความสนใจเพียงน้อยนิดในหมู่มาร์กซิสต์ไทย ยังมิพักต้องเอ่ยถึงวงวิชาการไทยโดยทั่วไป และเมื่อมีคนเริ่มให้ความสนใจเขา เริ่มมีการเขียนงานและตีพิมพ์เกี่ยวกับอัลธูแซร์ในไทยขึ้นมาบ้างตั้งแต่ทศวรรษ 2520 เวลาก็ได้เคลื่อนคล้อย และวิธีคิดแบบโครงสร้างนิยม (structuralism) อันเป็นลายเซ็นของเขานั้นก็หลุดจากวงโคจรและไม่ค่อยเป็นที่นิยมในโลกตะวันตกแล้วอีกต่อไป ทั้งนี้ ข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักที่สุดของเขาในสังคมไทย และอาจจะทั่วทั้งโลกด้วยก็ได้นั้น คือชุดความคิดว่าด้วยอุดมการณ์และกลไกทางอุดมการณ์ของรัฐ (Ideology and Ideological State Apparatuses หรือ ISA) อย่างไรก็ตาม มีงานเขียนอื่นๆ ของเขาที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน แต่กลับถูกละเลยไปโดยส่วนมากในวงวิชาการไทย บทความวิจัยนี้ต้องการเติมเต็มภาพที่เว้าแหว่งนี้ โดยจะเริ่มจากการสำรวจสถานะความรู้เกี่ยวกับอัลธูแซร์ในวงวิชาการไทยที่ผ่านมา ซึ่งให้น้ำหนักกับประเด็นเรื่อง “อุดมการณ์” ค่อนข้างมาก ส่วนการขบคิดเรื่อง “โครงสร้าง” ที่ปรากฏในหลายแห่งจากหนังสือรวมข้อเขียนเล่มสำคัญๆ ของเขาเช่น For Marx (1965) และ Reading Capital (1968) นั้นมีจำนวนน้อยชิ้นในภาษาไทย ทั้งๆ ที่อิทธิพลของเขาในประเด็นนี้และอื่นๆ ส่งผลสะเทือนวงการอย่างกว้างขวางจนมีผู้เรียกว่าเป็น “การปฏิวัติทางความคิดแบบอัลธูแซเรียน” การกลับไปอ่านงานของเขาใหม่ โดยเฉพาะผ่านการตีความของมาร์กซิสต์รุ่นหลังอย่างสลาวอย ชิเช็ค และเฟรดริก เจมสัน จะช่วยทำให้เข้าใจอัลธูแซร์อย่างรอบด้านมากขึ้นและน่าจะทำให้กรอบการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์และสังคมไทย โดยเฉพาะที่อิงฐานแบบมาร์กซิสต์นั้น ขยายขอบเขตออกไปและรุ่มรวยขึ้นได้

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กฤษดา เกิดดี. (2565). การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ เหตุผล และวิธีการปิดกั้นการสื่อสารในประกาศ คำสั่ง และ

ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 26(1). 189–200.

กันต์ แสงทอง. (2561). วัดกับรัฐ: กรณีศึกษาโครงการความร่วมมือระหว่างวัดพระธรรมกายและกระทรวง ศึกษาธิการในโครงการเด็กดี V-STAR [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2560). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับ

สื่อสารศึกษา. ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ และนิคม ชัยขุนพล. (2555). คู่มือสื่อใหม่ศึกษา. โครงการเมธีวิจัยอาวุโส ฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

กาญจนา แก้วเทพ. (2544). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. เอดิสันเพรสโปรดักส์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2541). การศึกษาสื่อมวลชนด้วยทฤษฎีวิพากษ์ (Critical theory): แนวคิดและตัวอย่างงานวิจัย. ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2529). จิตสำนึกจากพิธีกรรม ความเชื่อและศักยภาพท้องถิ่น. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง, 5(3-4). 175-187.

กาญจนา แก้วเทพ. (2527). จิตสำนึกชาวนา: ทฤษฎีและแนวการวิเคราะห์แบบเศรษฐศาสตร์การเมือง. สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

กาญจนา แก้วเทพ. (2525). บทวิเคราะห์ “ความกลัวในสังคมไทย” ด้วยทฤษฎีจิตวิทยา จิตวิเคราะห์ และสังคมวิทยามาร์กซิสม์. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง, 2(2). 28-50.

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ. (2563). ว่าด้วยเวลาอนาคต: วิพากษ์ประวัติศาสตร์ที่เป็นเส้นตรงและข้อถกเถียงระหว่าง

Kojève กับ Althusser. มนุษยศาสตร์สาร, 21(2). 9-28.

เจษฎาพัญ ทองศรีนุช. (2560). มาร์กซิสม์และทฤษฎีวิพากษ์: การครอบงำ การผลิตซ้ำ และการปลุกจิตสำนึก

ทางชนชั้นในมิติทางอำนาจนำ. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 6(2). 36–56.

ไชยันต์ รัชชกูล. (2524). รัฐตามความหมายของทฤษฎีแนวความคิดแบบมาร์กซ์. รัฐศาสตร์สาร, 7(3). 82-92.

ณัฐกมล ไชยสุวรรณ. (2559). สื่อมวลชนกับการสร้างความชอบธรรมของคณะราษฎร: กรณีศึกษาวันชาติ 24 มิถุนายน พ.ศ.2482-พ.ศ.2503 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

ดุษฎี นิลดำ, ศุภกร ไกรษร, จักรกฤษณ์ กลิ่นเพ็ชร, และณัฐนันท์ เจริญวงษา. (2562). อุดมการณ์ในภาพยนตร์ เรื่อง ‘ฉลาดเกมส์โกง.’ วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 4(1). 68–75.

ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2541). “ผีของมาร์กซ์” และ “ผีในมาร์กซ์” ข้อวิจารณ์ประวัติศาสตร์นิยมของพ็อพเพอร์

และอัลธุสแซร์. รัฐศาสตร์สาร, 20(2). 1-55.

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. (2519). ปรัชญาประวัติศาสตร์ของลัทธิมาร์กซ์. วารสารธรรมศาสตร์, 6(2). 83-100.

ธิกานต์ ศรีนารา. (2555). ความคิดทางการเมืองของ “ปัญญาชนฝ่ายค้าน” ภายหลังการตกต่ำของกระแสความคิดสังคมนิยมในประเทศไทย พ.ศ. 2524 – 2534. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ธีรนงค์ สกุลศรี, กนกวรรณ ธราวรรณ, และคมกฤช ตะเพียนทอง. (2560). พันธนาการข้ามยุค: อุดมการณ์เพศดิ้น (ไม่เคย) ได้. Asian Journal of Arts and Culture, 17(2). 91–108.

บัณฑิต ทิพย์เดช, เปรมวิทย์ วิวัฒนเศรษฐ์, และเอื้อมพร ทิพย์เดช. (2562). ภาษากับอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจ:

กรณีศึกษาเรื่องสั้นของชาติ กอบจิตติ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 7(1). 138–50.

เบ็ญจมาภรณ์ สุธิราวุธ และอนุชา ทีรคานนท์. (2563). อัตลักษณ์ไทเลยในการสื่อสารการท่องเที่ยวเขตพื้นที่

พิเศษเพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดเลย. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 14(1). 200–232.

ระดม พบประเสริฐ. (2549). ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมการกินอาหารไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

ศุภรดา เฟื่องฟู. (2561). เวลา พื้นที่ การดำรงอยู่อย่างหลากหลายในโครงสร้างของหลุยส์ อัลธูแซร์”. วารสาร

สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 1(2). 103-119.

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. (2549). รวมคำบรรยาย ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาขบวนการลัทธิมาร์กซ. เอกสารถอดคำ

บรรยายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในช่วงราว พ.ศ. 2547-2549 โดยปราการ กลิ่นฟุ้ง.

สมสุข หินวิมาน. (2534). วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยกับการสร้างความชอบธรรมของรัฐ: วิเคราะห์

รายการข่าวภาคถ่ายทอด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

สมเกียรติ วันทะนะ. (2524). สังคมศาสตร์วิภาษวิธี. วลี.

สุนทร คำยอด และสมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์. (2559). ‘อุดมการณ์ล้านนานิยม’ ในวรรณกรรมของนักเขียน

ภาคเหนือ. Journal of Liberal Arts, Maejo University, 4(2). 52-61.

สุพรรณษา ภักตรนิกร. (2556). ‘อำนาจ’ ของประภัสสร เสวิกุล: การถ่ายทอดอุดมการณ์ทางการเมืองและ

ชาติพันธุ์. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 13(2). 102-16.

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล. (2527). อุดมการ: อาวุธปฏิวัติหรือเครื่องมือการกดขี่. จุลสารไทยคดีศึกษา, 1(2). 68-

อัลธูแซร์, หลุยส์. (2529). อุดมการและกลไกทางอุดมการของรัฐ (กาญจนา แก้วเทพ, แปล). สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แอนเดอร์สัน, เบเนดิกท์. (2557). ชุมชนจินตกรรม: บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม.

มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

Althusser, L. (1970). Ideology and Ideological State Apparatuses. Marxist Internet Archives.

https://www.marxists.org/reference/archive/althusser/1970/ideology.htm

Althusser, L. (1965). For Marx. Marxist Internet Archives.

https://www.marxists.org/reference/archive/althusser/1965/index.htm

Althusser, L. (1962). Contradiction and Overdetermination. Marxist Internet Archives.

https://www.marxists.org/reference/archive/althusser/1962/overdetermination.htm

Althusser, L. and Balibar, É. (1968). Reading Capital. Marxist Internet Archives.

https://www.marxists.org/reference/archive/althusser/1968/reading-capital/index.htm

Eagleton, T. (2012). Ideology and its Vicissitudes in Western Marxism. In S. Žižek (ed.),

Mapping Ideology (pp. 179-226). Verso.

Holasut, Maytawee. (2014). ‘As Beautiful as You Are Told’: A Critique on the Ideology of

Natural Beauty in ‘The Body Project’ Exhibition. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,

(1). 52–67.

Jameson, F. (2002). The Political Unconscious. Routledge.

Pfeifer, G. (2015). The New Materialism: Althusser, Badiou, and Žižek. Routledge.

Sotiris, P. (2017). Althusser and Poulantzas: Hegemony and the State. Materialismo Storico: Rivista Di Filosofia, Storia E Scienze Umane, 2(1), 115–163.

Žižek, S. (2012). Mapping Ideology. Verso.

Žižek, S. (2008). The Sublime Object of Ideology. Verso.