รถแห่: สื่อการแสดงพื้นบ้านในการสืบทอดประเพณีประดิษฐ์ของกลุ่มวัยรุ่นอีสาน

Main Article Content

รุ่งลดิศ จตุรไพศาล
สมสุข หินวิมาน

บทคัดย่อ

รถแห่เป็นสื่อพื้นบ้านที่เป็นการแสดงดนตรีที่มีความทันสมัยที่ได้รับความนิยมในกลุ่มวัยรุ่นอีสาน มักใช้ประกอบประเพณีพิธีกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะงานบวชในภาคอีสาน งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงรถแห่กับวัฒนธรรมอีสานและวัยรุ่น และการสืบทอดของรถแห่ผ่านการประดิษฐ์ประเพณีที่มีกลุ่มวัยรุ่นอีสานเข้ามามีส่วนร่วม โดยเก็บข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสาร การสังเกตการณ์ภาคสนาม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการศึกษาพบว่า รถแห่เกิดขึ้นจากการประดิษฐ์ประเพณีของกลุ่มผู้มีต้นทุนทางเศรษฐกิจที่เป็นคนอีสาน บริบทสังคมอีสานใหม่ที่พัฒนาขึ้นทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เป็นปัจจัยส่งเสริมให้วัยรุ่นอีสานมีต้นทุนความรู้และต้นทุนทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นอำนาจที่ทำให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการประดิษฐ์ประเพณีได้รถแห่จึงมีการแสดงที่ทันสมัยตอบสนองรสนิยมวัยรุ่นอีสาน ทั้งนี้รถแห่สามารถสืบทอดคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับพิธีศักดิ์สิทธิ์และบทบาทหน้าที่ของสื่อพื้นบ้านที่สร้างผลประโยชน์ให้คนในชุมชนไว้ได้  รถแห่จึงเป็นประเพณีประดิษฐ์สร้างผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ให้กับผู้ประกอบการรถแห่ และเป็นพื้นที่สร้างความสนุกสนาน ปลดปล่อยทางอารมณ์โดยเฉพาะเรื่องเพศให้กับกลุ่มวัยรุ่นและยังช่วยพัฒนาทักษะด้านการแสดงเกี่ยวกับดนตรีให้กลุ่มวัยรุ่นอีกด้วย รถแห่จึงเป็นประเพณีประดิษฐ์ที่ “คนที่มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้ผลประโยชน์”

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ ประทุมชาติ. (2555). กลองยาว : การอนุรักษ์และพัฒนาศิลปะการแสดงพื้นบ้าน จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คณะศิลปศาสตร์, สาขาวัฒนธรรมศาสตร์.

กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. (2551). การจัดการความรู้เบื้องต้นเรื่อง “การสื่อสารชุมชน”. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ, สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์, และทิพย์พธู กฤษสุนทร. (2554). สื่อพื้นบ้านศึกษาในสายตา นิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2545). เมื่อสื่อส่องและสร้างวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

_____________. (2548). สื่อพื้นบ้านเพื่อการพัฒนาภาพรวมจากงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

จารุวรรณ ด้วงคำจันทร์. (2564). รถแห่อีสาน: มหรสพสัญจรข้ามพรมแดนวัฒนธรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา, สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา.

ไซนิล สมบูรณ์. (2564). อีสานแมส/อีสานใหม่: กระแสนิยมของภาพยนตร์อีสานและการประกอบสร้างความเป็นอีสานตั้งแต่ทศวรรษที่ 2550. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, คณะนิเทศศาสตร์, สาขานิเทศศาสตร์.

ทิพย์พธู กฤษสุนทร. (2552). การวิเคราะห์การปรับตัวของสื่อพื้นบ้าน: ศึกษากรณีเพลงโคราช จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาสื่อสารมวลชน.

ปฐม หงษ์สุวรรณ. (2560). ประเพณีประดิษฐ์ ในชุมชนอีสานลุ่มน้ำโขง. มหาสารคาม: สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน วิทยาลัยมหาสารคาม.

พันธกานต์ ทานนท์. (2564). มิวสิกวิดีโอเพลงลูกทุ่งอีสานกับการสื่อสารอัตลักษณ์อีสานใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, คณะนิเทศศาสตร์, สาขานิเทศศาสตร์.

วลัญช์ภัทร จียังศุวัต. (2559). กระบวนการเปลี่ยนแปลงสื่อพื้น บ้านการฟ้อนเล็บฟ้อนเทียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ, สาขานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม.

สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์. (2551). การสืบทอดสื่อพื้นบ้านเท่งตุ๊ก จ.จันทบุรี เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์, สาขานิเทศศาสตร์.

สุริยา สมุทคุปติ์ และคณะ. (2544). โครงการวิจัย คนซิ่งอีสาน: ร่างกาย กามารมณ์ อัตลักษณ์ และเสียงสะท้อนของคนทุกข์ในหมอลำซิ่งอีสาน. สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี. http://www.tnrr.in.th/?page=result_search&record_id=327206

อริสา อูชิบะ. (2564). รู้จักรถแห่ พื้นที่ความบันเทิงม่วนคักของอีสาน.https://today.line.me/th/v2/article/vWVXqK

อิทธิพงษ์ ทองศรีเกตุ. (2563). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์มาตรการควบคุมการบริโภคแอลกอฮอล์ของชุมชนในกิจกรรมรถแห่ดนตรีสดจังหวัดขอนแก่น. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แผนงานศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. http://cas.or.th/cas/?p=8358

_____________. (2565). รถแห่ดนตรีสด: ความนิยมในการจัดกิจกรรมของชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย, วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 10(1), 208-223.

อุกฤษฏ์ เฉลิมแสน. (2560). รายงานการวิจัย การต่อรองอัตลักษณ์อีสานของวัยรุ่นอีสานยุคดิจิทัล. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. https://www.academia.edu/38100117/รายงานการวิจัย_การต_อรองอัตลักษณ_อีสานของวัยรุ_นอีสานในยุคดิจิทัล_NEGOTIATING _ISAN_IDENTITY_AMONG_ISAN_https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:182962YOUTH_IN_THE_DIGITAL_AGE