Focus and Scope 

วัตถุประสงค์

       1. เผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด และงานวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์

       2. ส่งเสริมและสนับสนุนการค้นคว้าและวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางด้านมนุษยศาสตร์

 นโยบายพิจารณากลั่นกรองบทความ

1. รับพิจารณาบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยขอบเขตเนื้อหาทางวิชาการของมนุษยศาสตร์สาร จะคลอบคลุมเนื้อหาทางด้านศาสนา/เทววิทยา ภาษาและภาษาศาสตร์ คติชนวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์ การแปล การท่องเที่ยว บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ปรัชญา/จริยศาสตร์ จิตวิทยา วรรณกรรม บ้านและชุมชน การท่องเที่ยว(ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นหรือปัญหาในมนุษยศาสตร์) การศึกษาข้ามศาสตร์หรือสหวิทยาการ(ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นหรือปัญหาในมนุษยศาสตร์) อาณาบริเวณ/ชุมชนศึกษา และล้านนาศึกษา เป็นต้น โดยรับบทความวิจัย (Research articles) บทความวิชาการ (Academic articles) บทความปริทัศน์ (Review articles) และ บทวิจารณ์หนังสือ (Book review) ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร เอกสารการประชุม หรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน (ยกเว้นรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์) และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น

2. บทความที่รับพิจารณาตีพิมพ์ต้องผ่านการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) อย่างน้อย 3 ท่าน (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564) และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ 

3. ผู้เขียนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนด และยินยอมให้บรรณาธิการแก้ไขบทความเพื่อความสมบูรณ์ได้ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่

กระบวนการพิจารณากลั่นกรองบทความ

      บทความที่จะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) ดังนี้

      1. ผู้เขียนลงทะเบียนเพื่อใช้งานระบบ Thaijo 2.0 เพื่อดำเนินการ ส่งบทความ และ “แบบฟอร์มเสนอบทความเพื่อพิจารณาการตีพิมพ์”  (คลิกที่นี่) ทางออนไลน์ผ่านระบบ ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/submission

      2. เมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความเรียบร้อยแล้ว กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบโดยทันที

      3. กองบรรณาธิการจะดำเนินการตรวจสอบบทความที่ได้รับว่าอยู่ในขอบเขตเนื้อหาวารสารหรือไม่ รวมถึงคุณภาพทางวิชาการและประโยชน์ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเบื้องต้น และจะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เขียนทราบภายใน 30-45 วัน

      4. กองบรรณาธิการจะดำเนินการส่งบทความเพื่อกลั่นกรองต่อไป โดยจะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ประเมินคุณภาพของบทความว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจะลงตีพิมพ์หรือไม่ ซึ่งกระบวนการกลั่นกรองนี้ทั้งผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนจะไม่ทราบข้อมูลซึ่งกันและกัน (Double-blind peer review) โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 20-40 วัน

      5. เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความแล้ว กองบรรณาธิการจะตัดสินการพิจารณาโดยอิงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิว่าบทความนั้นๆ ควรนำลงตีพิมพ์ หรือควรส่งให้ผู้เขียนแก้ไขก่อนส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินอีกครั้ง หรือปฏิเสธการตีพิมพ์ และจะแจ้งผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้เขียนรับทราบ ภายในระยะเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับผลการพิจารณา โดยผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวถือเป็นที่สิ้นสุด

     [ประกาศ] มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอแจ้งให้ท่านทราบว่า ได้ "ยกเลิก" การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมส่งบทความพิจารณาตีพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. 2564 โดยผู้เขียนสามารถแจ้งความประสงค์ขอส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ผ่านระบบ Thaijo [มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่] หรือผ่านอีเมล์ Humanjournal@cmu.ac.th ได้ด้วยตนเองต่อไป

      [ประกาศ] มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอแจ้งให้ท่านทราบว่า ได้ "ปรับเปลี่ยน" จำนวนผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณากลั่นกรองบทความวิจัย/วิชาการ จากเดิม 2 ท่าน เป็น 3 ท่าน [ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564] ผ่านรูปแบบการประเมินแบบ Double-Blind  

Language

       ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

Publication Frequency

      กำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่  3 ฉบับต่อปี
           ฉบับที่ 1: เดือน มกราคม – เมษายน
           ฉบับที่ 2: เดือน พฤษภาคม – สิงหาคม
           ฉบับที่ 3: เดือน กันยายน – ธันวาคม

Source of Support

      คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่