เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารภายใต้ สถานการณ์โควิด19 ตำบลคลองปราบ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
ความมั่นคงทางอาหาร, โควิด19, ครัวเรือน, เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมบทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมศึกษาการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และศึกษาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน ตำบลคลองปราบ อำเภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้สถานการณ์โควิด 19 ข้อมูลในการวิจัยได้จากการสัมภาษณ์ครัวเรือนภายในพื้นที่ และการประชุมกลุ่มย่อยด้วยแบบสอบถาม มีขนาดตัวอย่างจำนวน 350 ราย เพื่อวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมการถดถอย ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการสร้างความมั่นคงทางอาหาร สถานการณ์สมมติที่ 1 ไม่มีโรคระบาดโควิด 19 ความน่าจะเป็นในการสร้างความมั่นคงทางอาหารมิติความเพียงพอของอาหารในการบริโภค (มิติที่ 2) เท่ากับ 0.9824 มากที่สุด รองลงมาการพึ่งตนเองด้านอาหาร (มิติที่ 1) เท่ากับ 0.0099 และสร้างความมั่นคงของอาชีพและรายได้ (มิติที่ 4) เท่ากับ 0.0077 สถานการณ์สมมติที่ 2 มีการระบาดของโควิด 19 และมีมาตรการห้ามออกนอกพื้นที่ระหว่างจังหวัด การออกนอกบ้านแบบจำกัดเวลา ความน่าจะเป็นการพึ่งตนเองด้านอาหาร (มิติที่ 1) เท่ากับ 0.9909 รองลงมาสร้างความเพียงพอของอาหารในการบริโภค (มิติที่ 2) เท่ากับ 0.0088 และสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติ (มิติที่ 3) เท่ากับ 0.0003 และสถานการณ์สมมติที่ 3 มีการระบาดของโรคระบาดโควิด 19 และไม่มีมาตรการควบคุม ความน่าจะเป็นในการพึ่งตนเองด้านอาหาร (มิติที่ 1) มากที่สุด เท่ากับ 0.6894 รองลงมา สร้างความเพียงพอของอาหารในการบริโภค (มิติที่ 2) เท่ากับ 0.3101 และ สร้างความมั่นคงของอาชีพและรายได้ (มิติที่ 4) เท่ากับ 0.0005 แนวทางส่งเสริมการสร้างความมั่นคงทางอาหาร สามารถสร้างแรงเสริม และก่อเกิดกระบวนการกลุ่มเพื่อนำมาสู่การสร้างความมั่นคงทางอาหาร
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2565). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2565, จาก https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/190865.pdf
กฤษฎา สุขพัฒน์. (2564). ผลกระทบจากการระบาด COVID-19 ต่อความยากจน บทบาทขององค์กรนานาชาติ และข้อเสนอในการขจัดความยากจนของประเทศไทย. วารสารสังคมภิวัฒน์. 12(1): 68-89.
ณัฐสุรางค์ ปุคคละนันทน์และคณะ (2565). พฤติกรรมการใช้ชีวิต การปรับตัว และการเรียนรู้ของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) สู่การปรับตัวของชุมชนวิถีใหม่ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 8(8):321-336.
ดาว ชุ่มตะขบ. (2563). เศรษฐกิจพอเพียง ทางเลือก ทางรอดฝ่าวิกฤตโควิด-19. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา. 2(3): 11- 22.
นัฐศิพร แสงเยือน, ธนาศรี สัมพันธารักษ์ เพ็ชรยิ้ม และ ประภัสรา นาคะ พันธุ์อำไพ. (2561). สวนครัวเรือน ความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนชุมชนวัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 10(6): 471-483.
เพชรพริ้ง แพงคำรักษ์ และสุกัลยา เชิญขวัญ. (2564). ผลกระทบและการรับมือต่อการแพร่ระบาดโควิด-19 (ระลอก 1) ของครัวเรือนเกษตรกร กรณีศึกษาบ้านโนนศิลา ตำบลแวงน้อย อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 10(2): 93-110.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). จำนวนครัวเรือนพื้นที่ตำบลคลองปราบ อำเภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564, จาก http://www.nso.go.th.
Yamane, T. (1976). Statistics: An introductory analysis. 2nded. New York: Harper and Row.
Translated Thai References
Chumtakhob, D. (2020). Sufficiency Economy: An Alternative Survival Strategy for the COVID-19 Pandemic. Journal of Multidisciplinary Academic Research and Development. 2(3): 11-22. (in Thai)
Ministry of Public Health. (2019). Coronavirus Disease Situation 2019. Retrieved September 30, 2022, from https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/190865.pdf (in Thai)
National Statistical Office. (2020). Number of households in Khlong Prap Subdistrict, Na San District, Surat Thani Province. Retrieved September 30, 2021, from http://www.nso.go.th. (in Thai)
Paengkumruk, P.; & Choenkwan, S. (2021). Impacts and Coping Strategies on COVID-19 Pandemic (First Wave) of Agricultural Households : A Case Study in Nonsila Village, Waeng Noi Sub-district, Waeng Noi District, Khon Kaen. Udon Thani Rajabhat University Journal of Humanities and Social Sciences. 10(2): 93-110. (in Thai)
Pukkalanan, N. et al. (2022). Living Behavior, Adaptation and Learning of People in the Situation of the Epidemic of COVID-19 Towards the Adaptation of the Community in New Normal Life at Surin Province. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation. 8(8): 321-336. (in Thai)
Sangyuan, N.; Petyim, T. & PhanumphaiHome, P. (2018). Garden Household Food Security in Wat Bang Aoi Chang Community, Nonthaburi Province. Area Based Development Research Journal. 10(6): 471-483. (in Thai)
Sukkaphat, K. (2021). The Impact of the COVID-19 outbreak on Poverty, Role of International Organizations, and Suggestion of Poverty Elimination in Thailand. Journal of Social Synergy. 12(1): 68-89. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 PONGPIPAT MAKCHOUY

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะส่วนบุคคลของผู้เขียนซึ่งต้องรับผิดชอบต่อผลทาง กฎหมายที่อาจเกิดขึ้นได้และไม่มีผลต่อกองบรรณาธิการ