การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจปัจจัยการปรับตัวของผู้ประกอบการที่มีต่อการดำเนินกิจการเพื่ออยู่รอดของธุรกิจ ภายใต้วิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด 19

Main Article Content

ภาณุมาศ สุยบางดำ
พัชรินทร์ บุญนุ่น
ศุภสุตา ตันชะโร

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการปรับตัวของผู้ประกอบการที่มีต่อการดำเนินกิจการเพื่ออยู่รอดของธุรกิจ 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจปัจจัยการปรับตัวของผู้ประกอบการที่มีต่อต่อการดำเนินกิจการเพื่ออยู่รอดของธุรกิจ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1180 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ  ผลการวิจัยพบว่า 1) การปรับตัวของผู้ประกอบการที่มีต่อการดำเนินกิจการเพื่ออยู่รอดของธุรกิจ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยการปรับตัวของผู้ประกอบการที่มีต่อการดำเนินกิจการเพื่ออยู่รอดของธุรกิจ พบว่า มี 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) การบริหารจัดการรับความปกติใหม่ ประกอบด้วย 15 ตัวแปร มีดังนี้ (1) การตลาดดิจิตอลสู่ตลาดผู้บริโภค (2) ระบบการบริหารจัดการทางการเงิน (3) การจัดหาแหล่งวัตถุดิบ (4) การบริหารทรัพยากรบุคคล (5) กิจกรรมเพิ่มประสิทธิ์ภาพในการทำธุรกิจ (6) กระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ (7) การส่งเสริมจากภาครัฐ  (8) สภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ  (9) การบริการของสถาบันการเงิน  (10) การสื่อสารออนไลน์บนโซเชียลมีเดีย (11) การช่วยเหลือผู้ประกอบการ  (12) ช่องทางการสื่อสาร  (13) การภาพลักษณ์สินค้าและบริการ  (14) การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า  (15) การสร้างศักยภาพบุคลากร และ  2) ความมั่นใจในคุณภาพ จำนวน 1 ตัวแปร ได้แก่ (16) คุณภาพของสินค้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ (2562). กลยุทธ์การตลาด 4Es และส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix). สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2564, จาก https://www.iok2u.com/index.php/article/11-marketing/330-4es-marketing-mix

ชนากานต์ บุญทอง เกษราภรณ์ สุตตาพงค์ และณัฐยา ยวงใย. (2562). กลยุทธ์การบริหารจัดการบุคลากรที่มีศักยภาพสูง เพื่อสร้างความได้เปรียบในองค์กร. วารสารนักบริหาร. 39(1), 24-35.

ชัชวาลย์ หลิวเจริญ. (2559). กลยุทธ์การสื่อสารเนื้อหาตราสินค้าและพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิตอล. วารสารนิด้าภาษาและการสื่อสาร. 21(29), 56-71.

ณัฐกาญจน์ สุวรรณธารา. (2562). การสร้างภาพลักษณ์องค์การสำหรับธุรกิจการค้าปลีก กรณีศึกษา ห้างสรรพสินค้าชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 5(1), 178-186.

ตรวจสอบภายในธรรมนิติ. (2562). การตลาดยุคดิจิตอล. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564. จาก https://www.dir.co.th/th

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (2563). จากมาตรการเยียวยาสู่มาตรการกระตุ้นรอบใหม่บทบาทภาครัฐกระตุ้นเศรษฐกิจได้แค่ไหน. กรุงเทพฯ: ธนาคารเกียรตินาคินภัทร.

ธนาคารไทยพาณิชย์ (2564). โศกนาฏกรรมโควิด-19'บาดแผลเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพฯ: ธนาคารไทยพาณิชย์.

ปัญจพัฒน์ ประสิทธิ์เดชสกุล. (2563). พลิกโฉมธุรกิจหลังวิกฤตโควิด-19. กรุงเทพฯ: ธนาคารกรุงศรีอยุธยา.

ไพศาล วรคำ. (2556). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

มณฑลี กปิลกาญจน์, และ พรชนก เทพขาม. (2564). มาตรการแรงงานที่เหมาะสม ยืดหยุ่น และพร้อมรับการอยู่ร่วมกับโควิด19. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.

ยง ภู่วรวรรณ. (2563). ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การทำงาน. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2564, จาก https://learningcovid.ku.ac.th/course/?c=7&l=2

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. 5thed. New York: Harper Collins Publishers

Likert, S. (1961). New patterns of management. New York: McGraw-Hill.

Weiss, C. H. (1972). Evaluation Research: Methods for Assessing Program Effectiveness. Engliwood Cliffs, New Tersey: Prentice-Hall, Inc.

Translated Thai References

Bunthong, C., Suttapong, K. & Yuangyai N. (2019). Talent Management Strategies for Creating Competitive Advantage in Organization. Executive Journal. 39(1), 24-35. (in Thai)

Dharmniti Internal Audit. (2019). Digital Marketing. Retrieved 20 September 2021. From https://www.dir.co.th/th (in Thai)

Kapilkan, M. & Thepkham, P. (2021). Appropriate labor measures, flexibility and readiness to coexist with COVID-19. Bangkok: Bank of Thailand. (in Thai)

Kiatnakin Phatra Bank (2020). From healing measures to new stimulus measures, how can the government's role in stimulating the economy? Bangkok: Kiatnakin Phatra Bank. (in Thai)

Liucharoen, C. (2018). Branded Content Communication Strategies and Consumer Behavior in a Digital Age. NIDA Journal of Language and Communication. 21(29), 56-71. (in Thai)

Phuworawan, Y. (2020). Impact on economy, trade, work. Retrieved 06 September 2021, From https://learningcovid.ku.ac.th/course/?c=7&l=2 (in Thai)

Prasitdetsakul, P. (2020). Business transformation after the Covid-19 crisis. Bangkok : Bank of Ayudhya. (in Thai)

Siam Commercial Bank (2021). The tragedy of Covid-19 'wounds the Thai economy. Bangkok: Siam Commercial Bank. (in Thai)

Suwantara, N. (2019). Organization Branding in Retail Business: A Case Study of Community Mall. Journal of the Humanities and Social Sciences Ratchaphruek University. 5(1), 178-186. (in Thai)

Udomthanatira, K. (2019). 4Es Marketing Strategy and Marketing Mix. Retrieved 07 September 2021. From https://www.iok2u.com/index.php/article/11-marketing/330-4es-marketing-mix (in Thai)

Worakham, P. (2013). Educational research. 6thed. Maha Sarakham: Taxila printing. (in Thai)