แนวทางการเพิ่มประสิทธิผลในการบริหารสินเชื่อของโครงการพัฒนาการประมง

Main Article Content

สุพิน ฉายศิริไพบูลย์

Abstract

บทคัดย่อ 

โครงการพัฒนาการประมงดำเนินงานด้านบริการสินเชื่อแก่ชาวประมงที่ต้องการเงินทุนเพื่อซ่อมแซมปรับปรุงเรือประมง หรือจัดซื้อเครื่องมืออุปกรณ์การประมง ซึ่งประสบปัญหาหนี้สูญเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงนำหลักการและกระบวนการบริหารสินเชื่อที่ดีมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานและข้อจำกัดของโครงการฯ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งประกอบด้วย

  1. การกำหนดนโยบายสินเชื่อประกอบด้วย การสร้างผลกำไร โครงการฯ ควรทำการวิเคราะห์ต้นทุนเพื่อนำไปสู่การคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เหมาะสม (ปัจจุบันคิดร้อยละ 9-12.5 ต่อปี); การรักษาสภาพคล่องโครงการฯ ควรกำหนดวงเงินกู้และระยะเวลาการกู้ตามความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ (ปัจจุบันกำหนดให้ไม่เกิน 500,000 บาทต่อราย และชำระภายใน 6-24 เดือน); และการบริหารจัดการความเสี่ยงซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะให้ทางโครงการฯ ควรควบคุมอัตราหนี้สูญไม่เกินร้อยละ 4 ของวงเงินกู้
  2. การวิเคราะห์และอนุมัติสินเชื่อการศึกษาครั้งนี้ได้เน้นความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของข้อมูลปัจจัยภายในของผู้ขอสินเชื่อเพื่อนำไปปรับค่าคะแนนสินเชื่อนอกจากนี้ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อต้องผ่านการฝึกอบรมและเป็นเจ้าหน้าที่สินเชื่อในสำนักงานใหญ่ เพื่อลดปัญหาด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขอสินเชื่อกับเจ้าหน้าที่ประจำเขตพื้นที่
  3. งานนิติกรรมและงานด้านบัญชีเป็นงานด้านเอกสาร หลักฐาน และสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายรวมถึงวิธีการและขั้นตอนการจ่ายเงินกู้ พร้อมทั้งการควบคุมการใช้เงินกู้ทางโครงการฯควรจัดทำแผนงานซ่อมแซมปรับปรุงเรือประมงที่เป็นมาตรฐานโดยกำหนดราคากลางและระยะเวลา
  4. การกระบวนติดตามหนี้และสอบทานหนี้ผลการศึกษาครั้งนี้เห็นควรให้ดำเนินการกระตุ้นเตือนผู้กู้ล่วงหน้าก่อนวันครบกำหนดชำระหนี้พร้อมให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น เพื่อเป็นการป้องกันและลดปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ โดยโครงการฯ ควรจัดทำแบบบันทึกผลการติดตามการชำระหนี้และการสอบทานหนี้เป็นรายบุคคล
  5. การแก้ปัญหาหนี้ผลจากการศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดวิธีการระบุหนี้ที่เป็นปัญหาออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ หนี้ที่เริ่มมีปัญหา; มีปัญหาระดับปานกลาง; มีปัญหาระดับรุนแรง; และปัญหาหนี้สูญ ซึ่งทางโครงการฯ ควรจัดทำแผนงานการแก้ไขปัญหาหนี้และแบบบันทึกผลการแก้ปัญหาหนี้และนำเสนอต่อผู้บริหารโครงการฯ เป็นรายไตรมาส
  6. การประเมินผลการชำระหนี้และการประเมินผลการดำเนินงานโครงการฯการศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดวิธีการระบุระดับชั้นของผู้กู้เป็นเกรด A – F พร้อมวิธีการคำนวณคะแนนเพื่อประเมินผลงานของโครงการฯ อย่างเป็นรูปธรรมนอกจากนี้ ทางโครงการฯ ยังควรจัดทำแบบฟอร์มการบันทึกการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานด้านสินเชื่อเพื่อประเมินผลงานเจ้าหน้าที่ได้ชัดเจน

คำสำคัญ: การบริหารสินเชื่อ, โครงการพัฒนาการประมง, ค่าคะแนนสินเชื่อ

Abstract 

The Fishery Development Project provides loans to fishermen who need fund for repairing the fishing vessels or purchasing fishing tools and equipment. The project has encountered the high bad debt problem. Therefore, this study has applied the good credit management procedures to the project implementation in order to be more effective in operations which consist of the following :

  1. Credit policies of this study compose of profitability - The project should do the cost analysis in order to determine the appropriate lending rate (at present charging at 9.0%-12.5% a year); liquidity – The project should determine the lending amount and periods depending on the debtor’s capacity (at present the maximum amount of 500,000 baht/debtor; paying back within 6-24 months); and risk management – The project should restrict the bad debt to be lower than 4% of lending amount.
  2. Credit analysis and approvals of this study focus on the reliability and validity of internal factors data from loan applicants for credit scoring adjustment. Moreover, the credit analyst should be well-trained and works at the headquarter in order to avoid the problem of closed relationship between loan applicants and local officers. 
  3. Legal and accounting functions are related to the written documents, evidences, contracts, as well as the control of loan disbursement and use of loan. The project should have the standard repairing plan of the fishing vessel including cost assessment and periods.
  4. Debt collection process has been suggested to remind the debtors before the due date of payment and help them in order to prevent and reduce the problem bad loan repayments.  The project should have the monitoring memo for debt collection of each debtor.
  5. Debt recovery has been classified into 4 different stages which are beginning, moderate, severe, and bad debt. The project should have the monitoring memo for debt recovery that must be proposed to the management as quarterly basis.
  6. The evaluation of loan repayments has been graded the debtors into A-F. Also, the project’s performance has been evaluated as quantitative scores.  Moreover, the project should have monitoring memo for individual officer recording his own in charge duty related to the project’s functions which would lead to have a clearly performance evaluation. 
Keywords: credit management, the fishery development project, credit scoring

Article Details

How to Cite
ฉายศิริไพบูลย์ ส. (2017). แนวทางการเพิ่มประสิทธิผลในการบริหารสินเชื่อของโครงการพัฒนาการประมง. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 11(24), 124. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/72758
Section
บทความวิชาการ

References

จิรพร สุเมธีประสิทธิ์, มัทธนา พิพิธเนาวรัตน์ และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2556). การบริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล.

เดชา กิตติวิทยานันท์. (2554). การบริการงานสินเชื่อและขั้นตอนในการอำนวยสินเชื่อ. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=7847.

ธนาคารกสิกรไทย. (2559). อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2559, จาก http:// www.kasikornbank.com/TH/RatesAndFees/Lending/Pages/Lending.aspx.

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. (2554). อัตราดอกเบี้ยเงินกู้. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.baac.or.th/content-rate.php?content_group_sub=2

กฤษฎา สังขมณี. (2558). การจัดการสินเชื่อ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. พริมาอัครยุทธ. (2015). สหภาพยุโรปแจกใบเหลืองเตือนไทยแก้ปม IUU Fishing.สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2559, จาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/1436.

สำนักงานสินเชื่อและธุรกิจการประมงฝ่ายธุรกิจ 1. องค์การสะพานปลา. (2555). คู่มือโครงการพัฒนาการประมง ปี 2555-2560.

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. สำนักประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร. (2558). ธ.ก.ส. เร่งเดินหน้าแก้หนี้

เกษตรกรเยียวยาลูกค้ากว่า 8 แสนราย วงเงิน 116,000 ล้านบาท. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2559, จาก http:// www.ba ac.or.th/file-upload/13000-1.

องค์การสะพานปลา. (2013). ความเป็นมาและพัฒนาการ. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.fish market.co.th/index.php?option=com

Business Banking Board. (2000). Credit Scoring for High-end Small Business Customer. A Handbook for Developing Credit Scoring System in Microfinance Context.

Chaisiripaibool S. (2016). The Credit Analysis Tools for Risk Management to the Fishery Development Project of Fish Marketing Organization. The 2nd RMUTT Global Business and Economics International Conference 2016.May 30-31, p.29-41.

Dellien H. & Schreiner M. (2005). Credit Scoring, Banks, and Microfinance : Balancing High-Tech with High-Touch.Microfinance Risk Management, L.L., Women’s World Banking. December 18, 2005. Retrieved from http://www.microfinance.com/English/Papers/Scoring_High_Tech_ High_Touch.pdf

Horne J.C. (2002). Financial Management and Policy.12th Edition. Prentice Hall Inc. : New Jersey, U.S.A.

Kariuki M.W. &Ngahu S. (2016). Effect of Interest Rates on Loan Performance of Microfinance Institutions in Naivasha Sub-Country, Kenya. International Journal of Economics Commerce and Management. April 4, 2016. 4, 549-566.

Masinde J.S., Mugenda N.G. &Sindani M.N. (2012). Effectiveness of Credit Management System on Loan Performance : Empirical Evidence from Micro Finance Section in Kenya. International Journal of Business, Humanities and Technology. October 2012, 2(6), 99-108.

Mirach H. (2010). Credit Management (A Case Study of Wegagen Bank Share Company in Tigray Region). The Master Degree of Science in Finance and Investment, Department of Accounting and Finance, College of Business and Economics, Mekelle University, Ethiopia.

Modurch J. (1999). The Microfinance Promise. Journal of Economic Literature. December 1999. 37, 1569-1614.

Mwisho A.M.(2001). Basic Lending Conditions and Procedures in Commercial Banks.The Accountant. 13(3), 16-19.

Novabizz. (2016). ข้อมูลสินเชื่อและแหล่งที่มาของข้อมูลสินเชื่อ. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2559, จาก http://www. novabizz.net/credit-5.html.

Pandey I.M. (2008). Financial Management. 9th ed.Delhi, India :Vikas Publishing House PvtLimited Ross S.A.,

ShekharK.C. (1985). Theory and Practices : Law and Foreign Exchange. 16th ed. Delhi, India :Vikas Publishing House PvtLimited.

Westerfield R. & Jordan B.D. (2008). Essentials of Corporate Finance. 9thed. Mcgraw-Hill/Irwin Series in Finance, Insurance, and Real Estate.