สภาพและความต้องการระบบสารสนเทศสำหรับการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ และความต้องการระบบสารสนเทศสำหรับการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย และเปรียบเทียบความต้องการระบบสารสนเทศสำหรับการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาโดยจำแนกตามประเภทสถาบันการศึกษาและคู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย อาจารย์ที่ปรึกษาสังกัดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจำนวน 68 แห่ง โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างสถาบันแบบแบ่งชั้นภูมิ(Stratified random sampling) และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาจำนวน 258 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้ค่าสถิติเปรียบเทียบ คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One-way ANOVA) และหากพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จึงทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheff’s Method) นอกจากนี้มีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากอาจารย์ที่ปรึกษาโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพของการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาผลรวมอยู่ในระดับมาก หากพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าสภาพการให้คำปรึกษาลำดับ 1 คือ ด้านวิชาการ 2) ความต้องการระบบสารสนเทศในการให้คำปรึกษาผลรวมอยู่ในระดับมาก หากพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าความต้องการระบบสารสนเทศสำหรับการให้คำปรึกษาด้านวิชาการอยู่ในลำดับแรก และ 3) ความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาที่สังกัดประเภทมหาวิทยาลัยมีความต้องการระบบสารสนเทศสำหรับการให้คำปรึกษาแตกต่างกันกับสถานศึกษาสังกัดประเภทสถาบัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และความต้องการระบบสารสนเทศสำหรับการให้คำปรึกษาระหว่างสถาบันที่มีกับไม่มีคู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา พบว่า ไม่แตกต่างกัน
คำสำคัญ : สภาพ, ความต้องการ, ระบบสารสนเทศ, คำปรึกษา, สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
Abstract
The objectives of this study are to the current situation and demands of information system for giving advice to undergraduate students of private universities in Thailand and to compare their demands of information system by grouping types of educational institutes and types of advisors’ guides. The sample group contains advisors from private universities for 68 institutes. Stratified random sampling was applied to group type of universities and the research selected 258 advisors as the sample group. The collected data were treated with the following statistical methods: frequency, percentage, mean, standard deviation, One-way ANOVA and Scheffe’s Method if there were statistical significance at 0.05. Additionally, as a qualitative research, in-depth interview of the advisors were used with content analysis.
The results are as follows: 1) The total result of the current situation is indicated at the high level. Considering in each dimension, academic advice is the top request. 2) The total mean of demands of information system is indicated at the high level. Considering in each dimension, academic advice is the top request for information system. 3) The result of information system demands for giving advices to undergraduate students of private universities in Thailand, categorized from types of institutes found that different between universities and institution with statistical significance at .05. However, there are no advisor’s guides with statistical significance at .05.
Keywords: Current, Demands, Information System, Advice Private, Higher Education InstitutionsArticle Details
References
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ. 2554-2563 ของประเทศไทย .ฉบับได้รับความเห็บชอบจากคณะรัฐมนตรี 22 มีนาคม 2554.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา. (2553). คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา สำนักวิชาการ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2559). ระบบงานอาจารย์ที่ปรึกษาออนไลน์ Advisor Online System. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2559, จาก https://advisor.ku.ac.th/adv/login.htm?mode=switchLanguage&lang=th
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วิทยา ด่านธำรงกุล และ พิภพ อุดร. (2549). ซีอาร์เอ็ม : ซีอีเอ็ม หยินหยางการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วงกลม.
สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. รายชื่อสมาชิกสมาคม. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2558,จาก http://apheit.org/
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553.
สุรพล พหลภาคย์ และชินกร จิรขจรจริตกุล. (2010). การศึกษาบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาที่คาดหวังและบทบาทที่ปฏิบัติจริงตามทัศนะของนักศึกษาคณะเกษตรและชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. จันทรเกษมสาร (JOURNAL OF CHANDRAKASEM SARN. 31(16).
อนันต์ชัย เขื่อนธรรม. (2549). วิธีการทางสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อนุชาติ อินทร์ชนะ, วริศรา พุทธสวัสดิ์ และอาจารี นาโค. (2557). ระบบสารสนเทศการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการของมหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 17(3)ฉบับพิเศษ. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2559, จาก http://rms.rdi.tsu.ac.th:82/datafolder/tsujournal/article/A1125581 00000636.pdf
Best, John W. (1977). Research in Education. 3rded. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.
Saifuddin Ahmed. (n.d.). Methods in Survey Sampling. Retrieved from http://ocw.jhsph.edu/courses/ statmethodsforsamplesurveys/PDFs/Lecture4.pdf