สภาพการดำเนินงานตามโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ(Mini English Program : MEP) : กรณีศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสงขลา

Main Article Content

ฐิติกา เสนาจิตต์
จุฑามณี ตระกูลมุทุตา

Abstract

บทคัดย่อ 

            การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานของโครงการ MEP 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของโครงการ MEP 3) เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษตามกรอบอ้างอิงทางภาษาของสหภาพยุโรป(CEFR) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าผู้รับผิดชอบโครงการ ครูผู้สอนชาวไทย ครูผู้สอนชาวต่างชาติ และผู้ปกครอง ของ 3 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 21 คน โดยใช้เครื่องมือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง(Semi-Structured Interview) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก(In-Depth Interview) ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและนำมาวิเคราะห์เป็นข้อมูลเชิงเนื้อหา

            ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการมีการดำเนินงานตามโครงสร้างที่หลักสูตรกำหนดได้อย่างมีระบบ แบบแผน บุคลากรจึงมีความเป็นเอกเทศ แยกออกมาดูแลบริหารจัดการเอง ทำให้ประสิทธิภาพของบุคลากรสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ มีการกำหนดอัตราค่าเล่าเรียนที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่าย เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนเงินทุน ด้านอาคารสถานที่ได้แยกอาคารห้องเรียนออกมาอย่างชัดเจน เพื่อง่ายต่อการบริหารจัดการ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้โครงการประสบความสำเร็จอย่างมาก 2) ปัญหาและอุปสรรคทางด้านบุคลากรขาดแคลน เนื่องจากงบประมาณที่ไม่เพียงพอ รวมถึงสถานที่ไม่เอื้ออำนวยเพราะขาดห้องปฏิบัติการพิเศษต่างๆ ในส่วนวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือไม่ครบครันเพราะขาดงบประมาณในการจัดซื้อเทคโนโลยีสมัยใหม่ 3)ตามกรอบระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษกรอบอ้างอิงทางภาษาของสหภาพยุโรป (CEFR) พบว่า ผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของสถานศึกษาทั้ง 3 แห่งมีความสามารถทางภาษา อยู่ในระดับ A1 (Breakthrough or beginner) ซึ่งสามารถใช้ในชีวิตประจำวัน ได้ตามหลักเกณฑ์เป้าหมายที่ผู้เรียนควรได้รับ 

คำสำคัญ: การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษ, ความสามารถทางการใช้ภาษาอังกฤษตามกรอบอ้างอิงทางภาษาของสหภาพยุโรป

Abstract 

                        The objective of this study were to investigate 1) the state of the operation for the MEP program; 2) the problems and obstacles in the operation of the MEP program; and 3) the successful of the operation for the MEP program. The samples of this study comprised of 21 participants. They are administrators, academic heads of program, Thai teachers, foreign teachers and parents. This research paper utilized the qualitative method. The research instruments were semi-structural and in-depth interview with participatory observation. The data analyses were content analysis.

            Results revealed that the participants from all institutions could follow the set curriculum, plans. They are independent in the way that they could manage themselves, set suitable tuition fees as to reduce costs. In addition, classrooms are placed in one separate building to ease the administration. This leads to success of the project. It was also found that the shortage of personnel, unpleasant learning environment, lack good facilities, modern technology as well as computer labs were due to insufficient budgets. All the Grade 6 students’ level of English proficiency according to CEFR standard was at A1 i.e. Breakthrough or beginner. These students could understand simple everyday sentences. 

Keywords: Teaching English Mini English Program : MEP, The Common European Framework of Reference for Languages CEFR)

Article Details

How to Cite
เสนาจิตต์ ฐ., & ตระกูลมุทุตา จ. (2017). สภาพการดำเนินงานตามโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ(Mini English Program : MEP) : กรณีศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสงขลา. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 11(24), 74. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/72753
Section
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). จัดหลักสูตรEnglish Program เพื่อครูเอกชน. (ออนไลน์). จาก http://www.moe. go.th/webpr/news_day/m042548/edu5.html.

ทักษ์ อุดมรัตน์และคณะ. (2547). การประเมินโครงการโรงเรียนสองภาษา จังหวัดพิษณุโลก. การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ยองฮี อัน. (2552). แนวทางการบริหารจัดการโครงการที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดเชียงใหม่. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรเดช จันทรศร. (2540). การนำนโยบายไปปฏิบัติ. สำนักพิมพ์กราฟิคฟอร์แมท: กรุงเทพฯ.

วรเดช จันทรศร และลิขิต ธีรเวคิน. (2530). การนำนโยบายไปปฏิบัติในระบบราชการไทย. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วุฒิชัย เนียมเทศ. (2552). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วุฒิชัย เนียมเทศ. (2555). บริหารโครงการหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ (English Program)อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ. วารสารศึกษาศาสตร์. 12(2), 11-23.

ศิริวรรณ เสรีรัตนและคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ.

เศรษฐภรณ์ หน่อคํา. (2548). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร ระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษในโรงเรียนสองภาษา. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยา-การศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาริน สะอีดี. (2536). ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ของโรงเรียนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ : ยะลา ปัตตานีและนราธิวาส. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Montecel & J.D.Cortez. (2002). Successful Education Programs: Development and the Dissemination of Criteria to Identify Promising and Exemplary Practices in Bilingual Education at the National Level. Bilingual Research Journal, 26.