ผลของโปรแกรมนันทนาการที่มีต่อคุณภาพชีวิตและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย

Main Article Content

ธชา รุญเจริญ

Abstract

บทคัดย่อ

 

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมนันทนาการของผู้สูงอายุตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย     2) เพื่อสร้างโปรแกรมนันทนาการที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทยที่มีอายุ 60-70 ปี 3) เพื่อศึกษาของการเข้าร่วมโปรแกรมนันทนาการที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทยโดยการใช้โปรแกรมนันทนาการทั้ง 2 รูปแบบ  4)เพื่อหาค่าความแตกต่างผลของโปรแกรมนันทนาการที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 โดยการใช้โปรแกรมนันทนาการทั้ง 2 รูปแบบ  เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย  3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาพฤติกรรมนันทนาการของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้สูตรการคำนวณจากการใช้ตารางสำเร็จรูปของ ทาโร ยามาเน่ ระดับความเชื่อมั่น 95 %  ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างประมาณ 400  คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายระยะที่2การสร้างรูปแบบโปรแกรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย  จำนวน 2 โปรแกรม  ผลการสร้างโปรแกรมนันทนาการ1ประกอบด้วย3กลุ่ม 1)กลุ่มกิจกรรมด้านสุขภาพทางกาย 2)กลุ่มที่กิจกรรมด้านจิตใจ3)กลุ่มกิจกรรมด้านความสัมพันธ์ทางสังคมระยะที่ 3 การทดลองโปรแกรมนันทนาการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้  วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างเป็นชมรมผู้สูงอายุ ในจังหวัดขอนแก่นจำนวน 3ชมรมผู้สูงอายุ ได้แก่ชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านเหล่า  อำเภอบ้านฝาง ชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านลาน อำเภอบ้านไผ่ และชมรมผู้สูงอายุตำบลท่าศาลา  อำเภอมัญจา  กลุ่มละ 20 คน เป็นผู้สูงอายุชาย 10 คน ผู้สูงอายุหญิง 10 คน โดยทำการเลือกแบบเจาะจง ทดลองโปรแกรมระยะเวลา 8 สัปดาห์ 24  ครั้ง สัปดาห์ละ 3 วันๆละ90นาทีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมนันทนาการจำนวน 2  โปรแกรม และแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายและแบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผลการวิจัย พบว่า (1) พฤติกรรมนันทนาการของผู้สูงอายุตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย คือ ส่วนใหญ่มีการออกกำลังกาย โดยชนิดของการออกกำลังกายโดยส่วนมากเป็นการเดิน โดยส่วนมากใช้เวลา 30-60 นาที คิดเป็น ออกกำลังกายสัปดาห์ละ3-4วัน โดยส่วนมากมีกิจกรรมยามว่างดูโทรทัศน์ใช้เวลา 30-60 นาที กิจกรรมยามว่าง 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์  (2) การพัฒนาโปรแกรมแบ่งเป็น 2 รูปแบบรูปแบบแรกแบ่งเป็น3กลุ่มย่อย 16 กิจกรรมรูปแบบที่สองแบ่งเป็น 3กลุ่มเช่นเดียวกันและมี 9 กิจกรรมผลการตรวจสอบมี validity และ reliability อยู่ในระดับสูงทั้ง 2 โปรแกรม  (3) หลังการทดลองทั้ง2โปรแกรมปรากฏว่าทั้งสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทั้ง2กลุ่มดีกว่าก่อนการทดลองโดยกลุ่มผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองมีการพัฒนาสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิตดีขึ้น (4) ก่อนการทดลองทั้งกลุ่มทดลอง 2 กลุ่มและกลุ่มควบมีสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกันและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มทดลอง2 กลุ่มมีสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิตดีกว่ากลุ่มควบคุมแตกต่างอย่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

 

คำสำคัญ: นันทนาการ, คุณภาพชีวิต , สมรรถภาพทางกาย, ผู้สูงอายุ

 

Abstract

 

The purposes of this study were 1)  to study recreation behaviors of the elderly in the North East of Thailand, 2) to create recreation program affecting toward the and physical fitness and quality of life of the elderly during the age of 60-70 years old, 3) to investigate the results of participation in the recreation program affecting toward physical effectiveness and quality of life of the elderly by using 2 models of the recreation program, 4) to find out the differences of the results before, after 4 weeks and 8 weeks using 2 models of the recreation program.  Quasi experimental research was used for this study.  There were 3 phrases as follows: Phase I: studying recreation behaviors of the elderly by using the developed questionnaire with 400 elder persons, male and female during the age of 60-70 years old in the elderly clubs from 12 provinces and the earned data were analyzed; Phase II: using 2 recreation models with three activity groups for recreation program 1 and with three activity groups for recreation program 2; Phase III: running recreation program experiment using Cohen formula to set the sample size by Multi-stage sampling elderly persons from three elderly clubs from 3 districts (2 experiment groups and 1 control group), 20 elderly (10 male and 10 female) each, collecting data by 12 developed Evaluation Forms with the 60 subjects. The earned data were analyzed by proper statistics.

The findings were as follows (1)The recreation behaviors of the elderly persons included walking (95.24%), spending time about 30-60 minutes (58.41%), exercising 3-4 times a week (50.48%), watching television as the hobbies (65.71%) between 30-60 minutes each time, 3-4 times a week (45.71%) as needed. (2)Two programs were developed, including two models. Model 1 composed of 3 groups 16 activities, Model 2 composed of 3 groups as well with 9 activities.  After checking instrument qualities, there were found that the first program (model 1) had high face validity and very high reliability (r = 0.91) while the second program (model 2) had high validity and reliability (r = 0.94) as well.(3) After two experiment groups with program 1 and program 2, they were found that the elderly persons group 1 (program 1) and group 2 (program 2) had good physical fitness and quality of life which were better than pre-experiment from moderate quality of life to good quality of life.(4) Before experiment all 2 experiment groups and 1 control group had moderate physical fitness and quality of life but after 8 weeks they were found that 2 experiment groups had better quality of life than the elderly person of the control group significantly at level .05.

 

Keyword: Recreation, Quality of life , Physical  fitness ,elderly

Article Details

How to Cite
รุญเจริญ ธ. (2017). ผลของโปรแกรมนันทนาการที่มีต่อคุณภาพชีวิตและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 11(24), 56. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/72751
Section
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2552). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564). สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2557, จาก http://www.dop.go.th-upload-laws-law_th_20152309144546_1.pdf.

กฤตติกา อาภรณ์รัตน์. (2551). ผลของการฝึกก้าวขึ้นลงในน้ำลึกด้วยรองเท้าที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาและการทรงตัวในผู้สูงวัยเพศหญิงอายุ 56-65 ปี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา.กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จิรกานต์ ปฐวีรัตน์ แท่นทรัพย์. (2553). แนวทางการส่งเสริมคนคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสน์ศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท. เพชรบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ณัฐวุฒิ เพชรคง. (2558). ผลของโปรแกรมนันทนาการที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการกีฬานันทนาการและการท่องเที่ยว.กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มนัญญา เอี่ยมบุตร. (2554). ผลการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการที่มีต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตมหาบัณฑิต สาขาการจัดการนันทนาการและการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งทิวา อัจฉละฐิติ. (2542). การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ. วารสารเบาหวาน. 31(1). 81-56.

วารินทร์ ปุยทอง. (2547). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศักดิภัทร์ เฉลิมพุฒิพงศ์. (2556). การพัฒนาโปรแกรมการใช้เวลาว่างเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการกีฬา นันทนาการและการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สกุล ลอยล่อง. (2537). เปรียบเทียบผลการออกกำลังกายโดยวิธีเก้าจตุรัสกับการขี่จักรยานอยู่กับที่ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาพลศึกษา. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมบัติ กาญจนกิจ. (2544). นันทนาการและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพิชชา ชุ่มภาณี (2551). ผลของโปรแกรมนันทนาการที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขานันทนาการ. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุพิตร สมาหิโต, และคนอื่นๆ. (2548). การสร้างแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ. ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อารญา โถวรุ่งเรือง. (2544). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในจังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Bendall, M.J., E.J. Bassey, and M.B. Pearson. (1989). Factors affection walking speed of elderly people. pp.550. In Takeshima N., M.E. Rogers, E. Watanabe, W.F. Brechue, A. Okada.

Freysinger, Valeria J., and Nevius, Carol. (1992). Leisure Activity Involement and Self-Confidence in Later Adulthood: A Descriptive Study. pp. 41-45. In B. A. Hawkins and R. Rothschadl, eds. Proceedings of Aging and Leisure in the 1990s . Indiana University, Blooniinton.

Morrow, J. R.P., A.W. Jackson, J.G. Disch and D.P. Mood. (2000). Measurement and Evaluation in Human Performance. Illinois: Human Kinetics.

United Nations. (2011). Population ageing. New York: Noble and Noble Publishers.