ความต้องการในการใช้งาน e-learning ในการเรียนการสอนของนักศึกษาและอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย

Main Article Content

พนิดา หนูทวี

Abstract

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในการใช้งาน e-learning ในการเรียนการสอนของนักศึกษาและอาจารย์ ในคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประชากร คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 และปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษจำนวน 3,837 คน และผู้สอน 29 คน ภาคเรียนที่ 1 และ 2 ปีการศึกษา 2558 กลุ่มตัวอย่างนักศึกษามีจำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple random sampling) เฉพาะกลุ่มนักศึกษา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม2 ชุดประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคลและความต้องการในการใช้งาน e-learning ในการเรียนการสอนซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและวิเคราะห์หาความเที่ยง มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Coefficient) ของครอนบัค (Cronbach) ชุดผู้เรียนเท่ากับ 0.92 ชุดผู้สอนเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความต้องการในการใช้งาน e-learning ในการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากทุกรายการ ส่วนอาจารย์มีความต้องการในการใช้งาน e-learning ในการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด 4 รายการ คือ 1) ด้านหลักสูตร 2) ด้านบุคลากร 3) ด้านโครงสร้างพื้นฐานและการสนับสนุน และ 4) ด้านระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ อีก 3 รายการอยู่ในระดับมาก คือ 1) ด้านการประกันคุณภาพ การเรียนการสอนผ่านเว็บ 2) ด้านการจัดการธุรกิจ และ 3) ด้านการวัดและประเมินผล

 

คำสำคัญ : อีเลิร์นนิง วิชาภาษาอังกฤษ ความต้องการ

 

Abstract

 

The purpose of this descriptive study was to investigate the wants of employing e-learning for learning and teaching of students and teachers at Mahidol University. The population comprised two groups: student (3,837) and teacher (29), First and Second semester (2015). The student sample included 400 and was selected by simple random sampling. Two sets of questionnaires (student and teacher) were used as research tools and comprised two sections: demographic data and wants of employing e-learning for learning and teaching. The questionnaires were tested for validity and reliability. The Cronbach alpha reliability coefficients of the second section were 0.92 (student) and 0.92 (teacher). Data were analyzed by mean and standard deviation. The major findings were as follows. Students rated their wants of all aspects at the higher level. Teachers rated their wants of four aspects at the highest level (curriculum, personal, infrastructure and support, and web learning and teaching) and three aspects at the higher level (quality insurance in web learning and teaching, management, and assessment and evaluation).

 

Keyword: e-learning, English courses, wants

Article Details

How to Cite
หนูทวี พ. (2017). ความต้องการในการใช้งาน e-learning ในการเรียนการสอนของนักศึกษาและอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 11(24), 32. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/72747
Section
บทความวิจัย

References

กนกพร ฉันทนารุ่งภักดิ์. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสำเร็จของระบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่งสำหรับสถาบัน อุดมศึกษาในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ขรรค์ชัย คงเสน่ห์ และคณะ. (2546). พัฒนาการและทิศทางของ e-learning ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ.

จันทร์สุดา งามชัด. (2551). การออกแบบบทเรียน online สำหรับ e-Learning ตามมาตรฐาน IMS. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2553). อีเลิร์นนิ่งเว็บไซต์ & คอร์สแวร์ : ปัจจุบันและทิศทางในอนาคต E-Learning Website & Courseware: Current and Future Trends. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2557, จาก http://www.niteschan. com /nec2011/1_speaker/7_jintavee.pdf.

ชุดาภัค เดชพันธ์. (2553). การพัฒนาประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ตามเกณฑ์ 75/75 เรื่องการวางแผนงานก่อสร้างด้วยโปรแกรม Moodle. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

ทิศนา แขมมณี. (2550). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง. (2556). การออกแบบการเรียนการสอนด้วยระบบ (e-Learning INSTRUCTION DESIGN BY E-LEARNING SYSTEM). วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 9(4), 21-28.

วิทยา โมระดา. (2553). สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานกส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอำนาจเจริญ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ).

วิภา เจริญภัณฑารักษ์. (2558). MOOC: การศึกษาฟรีแบบเปิดในยุคดิจิทัล MOOC: Free Open Education in Digital Era. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 8(2), 1-15.

วิลาวัลย์ มาคุ้ม. (2556). e - learning : การเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ จุดเริ่มต้นสู่อนาคตการศึกษาไทย (ตอนที่ 1). สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2557, จาก http://www.ksp.or.th/ksp2013/blog/post.php?mid=50016&cid=5&did=108.

สาลินันท์ เทพประสาน. (2550). รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการใช้ e-Learning เพื่อการเรียนการสอนในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา วาสุกรี. อยุธยา: สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล, วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา วาสุกรี.

Soward, S.W. (1997). Save the Time of the Surface Evaluating Web Site for Users. Library Hi Teah. 15(3-4), 155-158.