การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมผ่านสื่อวิทยุจราจรเพื่อสังคม กรณีศึกษา: กลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พันตำรวจโท พัฒน์วิทย์ แสงมุกดา

Abstract

บทคัดย่อ

 

การวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมผ่านสื่อวิทยุจราจรเพื่อสังคม กรณีศึกษา: กลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมผ่านสื่อวิทยุจราจรเพื่อสังคม เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมผ่านสื่อวิทยุจราจรเพื่อสังคมจำแนกตามภูมิหลังของผู้ขับรถแท็กซี่ และหาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมผ่านสื่อวิทยุจราจรเพื่อสังคม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ขับรถแท็กซี่ในโครงการแท็กซี่ไทยหัวใจอินเตอร์ พ.ศ. 2556 จำนวน 282 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับพัฒนาการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมผ่านสื่อวิทยุจราจรเพื่อสังคม โดยสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ 3 ข้อดังนี้

  1. การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมผ่านสื่อวิทยุจราจรเพื่อสังคมเป็นกระบวนการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทในกิจกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ การวางแผน การปฏิบัติ และการติดตามและประเมินผล โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การติดตามและประเมินผล รองลงมาคือ ด้านการปฏิบัติ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การวางแผน
  2. การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมผ่านสื่อวิทยุจราจรเพื่อสังคมจำแนกตามเพศอายุ ระดับการศึกษาสูงสุด สถานภาพ ภูมิลำเนาเดิม การเป็นสมาชิกกลุ่มป้องกันอาชญากรรม และการเข้าอบรมการป้องกันอาชญากรรม ทั้งในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อจำแนกตามประสบการณ์การขับรถแท็กซี่ พบว่า ในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมผ่านสื่อวิทยุจราจร คือ การเข้าร่วมในการป้องกันอาชญากรรมผ่านสื่อวิทยุจราจรเพื่อสังคมทำให้ผู้ขับแท็กซี่ได้รับความรู้เกี่ยวกับสาเหตุการเกิดอาชญากรรม และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ขับแท็กซี่ด้วยกัน เพื่อร่วมมือกันป้องกันการเกิดอาชญากรรม

 

คำสำคัญ: การมีส่วนร่วม, การป้องกันอาชญากรรม, สื่อวิทยุจราจรเพื่อสังคม

  

Abstract

 

The study, “Participation in crime prevention through social media to radio traffic, Case Study : Taxi Driver in Bangkok,” has the objectives to study the participation in crime prevention, to compare the participation in crime prevention by the background of the taxi drivers, and to find the approach to develop participation in crime prevention through the traffic radio.

The sample group is 282 taxi drivers from the “Taxi Thai Hua Jai Inter” Program, 2013 chosen by simple random sampling. The tool for this research is a questionnaire regarding the development of participation in crime prevention through the traffic radio. The results of the study in accordance with the 3 objectives are as follows

  1. Participation in crime prevention through the traffic radio for society promotes community involvement in the activity, which can be separated into 3 parts. These 3 parts are planning, taking action, and follow-up and evaluation. In general, results are at the medium level. When considering each part separately, follow-up and evaluation has the highest average. The second highest is taking action, and the part with the lowest average is planning.
  2. Comparing participation in crime prevention through the traffic radio by gender, age, highest level of education, status, domicile of origin, membership in crime prevention groups, and participation in crime prevention training, There is no difference between the general result and the result in each part. However, when compared by experience as a taxi driver, the general result and the result in each part differ at a statistically significant level of 0.05.
  3. The approach to develop participation in crime prevention through the traffic radio is that participation in crime prevention through the traffic radio informs taxi drivers of the cause of crimes. Also, it creates a network of cooperation between taxi drivers to pull together to prevent crime.

 

Keyword : participation, crime prevention, social media to radio traffic

Article Details

How to Cite
แสงมุกดา พ. พ. (2017). การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมผ่านสื่อวิทยุจราจรเพื่อสังคม กรณีศึกษา: กลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 11(24), 20. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/72746
Section
บทความวิจัย

References

ชัช สุกแก้วณรงค์. (2544). การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของกำนันและผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดพิจิตร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณัฐพงษ์ อินทรลักษณ์. (2542). การมีส่วนร่วมของผู้ประกอบอาชีพรถจักรยานยนต์รับจ้างในการป้องกันอาชญากรรม: กรณีศึกษา สถานีตำรวจภูธร ตำบลประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ จังหวัดปทุมธานี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เทิดเกียรติ วงศาโรจน์. (2546). การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของประชาชนใน ชุมชนเทศบาลเมืองราชบุรี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. สถาบันราชภัฏนครปฐม.

ประเสริฐ สุนทร. (2543). การมีส่วนร่วมชองประชาชนในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม : ศึกษาเฉพาะกรณี กองบังคับการตํารวจนครบาล 6. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิทยา กล่ำเอม. (2545). งานตำรวจชุมชนสัมพันธ์กองบังคับการตำรวจนครบาล 6 กับความร่วมมือของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม Police Community Relation at Metropolitan Police Division 6 with people’s cooperation on crime prevention. (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

อนันต์ สรรพกิจกำจร. (2529). การมีส่วนร่วมในการควบคุมอาชญากรรมของผู้พักอาศัยในหมู่บ้านจัดสรรเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม, มหาวิทยาลัยมหิดล).