ธรรมาภิบาลในหน่วยงานของมหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์

Main Article Content

ศิรินันท์ ทิพย์เจริญ
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี

Abstract

บทคัดย่อ

 

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหน่วยงานต่างๆในมหาวิทยาลัยฯ 2) ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานตามหลักดังกล่าว 3) เพื่อนำผลที่ได้ไปประยุกต์ใช้และปรับปรุงการบริหารงานของเจ้าหน้าที่ทั้งในหน่วยงานหลักและหน่วยงานสนับสนุนในหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยฯ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพได้แก่วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก กับบุคคลผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 12 คน ประกอบด้วย อธิการบดี  รองอธิการบดี  คณบดีทั้ง 6 คณะ รวมถึงผู้อำนวยการสำนักอธิการบดี และใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณเพื่อเสริมเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นที่มีต่อธรรมาภิบาลทั้ง 6 ด้าน

ผลการวิจัยพบว่าการบริหารงานใช้หลักธรรมาภิบาลในภาพรวมแล้วอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้บริหาร ข้าราชการและบุคลากรทั้งหน่วยงานหลักและหน่วยงานสนับสนุนมีระดับความคิดเห็นที่สอดคล้องกันอีกทั้งยังพบว่าปัญหาและอุปสรรคในการนำหลักธรรมาภิบาลเข้ามาใช้ในหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยฯ เกิดจากการที่ผู้บริหารในหน่วยงานบางท่านไม่นำหลักธรรมาภิบาลทั้ง 6 ด้านเข้ามาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง และในเรื่องของการปรับปรุงการบริหารของหน่วยงานหลักและหน่วยงานสนับสนุนตามหลักธรรมาภิบาลในหน่วยงานต่างๆของมหาวิทยาลัยฯพบว่าแนวทางที่ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการนำหลักธรรมาภิบาลเข้ามาประยุกต์และปรับปรุงการให้บริหารของหน่วยงานต่างๆของมหาวิทยาลัยฯนั้นผู้บริหารต้องเป็นผู้ที่มีหลักนิติธรรมและหลักความคุ้มค่ามาใช้ให้เป็นหลักสำคัญในการบริหารองค์การส่วนหลักธรรมาภิบาลด้านอื่นๆ เป็นฐานการบริหารงานที่เสริมสร้างหลักจริยธรรมและจิตวิทยาในการบริหารด้านการพัฒนาบุคลากรขององค์การ ซึ่งพบว่าการบริหารงานในประเด็นเหล่านี้มีอยู่ได้เพียงระดับปานกลางซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งในด้านความคุ้มค่าและพัฒนาบุคลากรดังรายละเอียดตามตารางแสดงระดับความคิดเห็นในด้านต่างๆของธรรมาภิบาลในหน่วยงานต่างๆของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

 

คำสำคัญ: ธรรมาภิบาล , การบริหารภาครัฐแนวใหม่ , มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

 

ABSTRACT

 

The aims of this study are 1) to understand corporate governance level in the university’s administration process 2) to identify key obstacles in this managerial principle and 3) to provide suggestions and apply to other functions in the university. This research used qualitative research methodology to gather in-depth information through interview process. There were 12 key informants in this research comprise of the President, Deputy President and 6 Deans including the Director of the President’s office. Then, the quantitative research methodology was conducted to collect the opinion level of the 6 aspects of Corporate Governance (CG).

            The research results indicated that the overall Corporate Governance administration is at moderate level. It means that the executive and staff level, both in core and support functions, have similar view in this context. In addition, the results also shown that the key obstacles in enhancing the Corporate Governance in the university came from Executive level. Some Executives did not fully applied CG into administration process. Moreover, the researcher also found that keys success factors in implementation of CG are related to the Executive. The more to apply Rule of Laws and Cost - effectiveness or Economy principle into administration process, the more success in CG administration.  Meanwhile, others CG principles can be applied in according to build the foundation of ethical personnel management. The details of findings illustrated in the RajabhatRajanagarindra University’s opinion table.

 

Keyword: Good Governance, New Public Management, RajabhatRajanagarindra University

Article Details

How to Cite
ทิพย์เจริญ ศ., & วุฒิเมธี ศ. (พิเศษ) ด. (2016). ธรรมาภิบาลในหน่วยงานของมหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 10(23), 67. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/66734
Section
บทความวิจัย