ความพร้อมในการประกอบอาชีพของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อารี ผสานสินธุวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

 

                วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพร้อมในการประกอบอาชีพ 2) เปรียบเทียบความพร้อมในการประกอบอาชีพ 3) ศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่มีผลต่อความพร้อมในการประกอบอาชีพและ4) ศึกษาแนวทางการเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ชั้นปีสุดท้าย ที่จะสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2557 ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น จำนวน 320 คน ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 6 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับความพร้อมในการประกอบอาชีพ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ความพร้อมในการประกอบอาชีพตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ เกรดเฉลี่ยสะสม มีความพร้อมในการประกอบอาชีพต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วนด้านภูมิลำเนา สาขาวิชาที่กำลังศึกษา อาชีพผู้ปกครอง และรายได้เฉลี่ยต่อครอบครัว มีความพร้อมในการประกอบอาชีพแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3.ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการศึกษา ประกอบด้วย ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านอาคารสถานที่ และด้านการบริการนักศึกษา ส่งผลต่อความพร้อมในการประกอบอาชีพของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4. แนวทางการเตรียมความพร้อม ประกอบด้วย 1) การจัดโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการเรียนการสอน 2) การจัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม การพัฒนาหลักสูตรที่เป็นสากล และการทดสอบภาษาอังกฤษ 3) การพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์กลางทางวิชาการและวิจัย และการพัฒนาการวิจัยท้องถิ่น 4) จัดโครงการส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างนักศึกษา และ 5) ส่งเสริมกระบวนการวิจัยโดยนักศึกษาจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพและโครงการรายวิชาที่เรียนเพื่อนำความรู้จากการวิจัยมาสู่การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน

 

คําสําคัญ : ความพร้อมในการประกอบอาชีพ, ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการศึกษา, ประชาคมอาเซียน

 

ABSTRACT

 

            The objectives of this study were to; 1) study readiness for career preparation; 2) compare readiness for career preparation; 3) investigate educational factors affecting readiness for career preparation and; 4) explore guidelines for readiness for career preparation of students in faculty of Humanities and Social Sciences Bansomdejchaopraya Rajabhat University to support the ASEAN community. The sample included 320 fourth year undergraduate students expecting to graduate in Academic Year 2014 selected by Stratified Random Sampling. The six key informants were recruited by Purposive Sampling. The research instruments were questionnaires and in-depth interviews. The statistics included frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, One-Way ANOVA, correlation analysis, stepwise multiple regression analysis and content analysis.

            The results were as follows. 1. The overall readiness for career preparation of students was at a high level. 2. The readiness of career preparation according to personal factors showed that genders, ages and grade point average affected different readiness of career at the statistical significance of 0.05. In the aspects of hometowns, majors, parents’ occupations and average income of families affected different readiness of career preparation of students with no statistical significance. 3. The educational factors including teachers, teaching and learning management, buildings and student services affected readiness of career preparation of students at the statistical significance of 0.05. 4.The guidelines for readiness of career preparation of students consisting of; 1) organizing ethical promotion projects and inserting ethical issues in teaching and learning;2) organizing cultural exchange programs, international curriculum development and English skill tests; 3) developing the university toward being an academic and research center and developing research in local area; 4) organizing projects to promote collaboration among students and; 5) promoting research methodology by providing professional experience to students and enabling students to apply knowledge they obtain from courses to develop teaching and learning management.

 

Keywords: Readiness for career, educational factors, ASEAN community

Article Details

How to Cite
ผสานสินธุวงศ์ ผ. อ. (2016). ความพร้อมในการประกอบอาชีพของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 10(23), 41. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/66732
Section
บทความวิจัย
Author Biography

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อารี ผสานสินธุวงศ์

บทคัดย่อ

 

                วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพร้อมในการประกอบอาชีพ 2) เปรียบเทียบความพร้อมในการประกอบอาชีพ 3) ศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่มีผลต่อความพร้อมในการประกอบอาชีพและ4) ศึกษาแนวทางการเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ชั้นปีสุดท้าย ที่จะสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2557 ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น จำนวน 320 คน ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 6 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับความพร้อมในการประกอบอาชีพ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ความพร้อมในการประกอบอาชีพตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ เกรดเฉลี่ยสะสม มีความพร้อมในการประกอบอาชีพต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วนด้านภูมิลำเนา สาขาวิชาที่กำลังศึกษา อาชีพผู้ปกครอง และรายได้เฉลี่ยต่อครอบครัว มีความพร้อมในการประกอบอาชีพแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3.ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการศึกษา ประกอบด้วย ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านอาคารสถานที่ และด้านการบริการนักศึกษา ส่งผลต่อความพร้อมในการประกอบอาชีพของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4. แนวทางการเตรียมความพร้อม ประกอบด้วย 1) การจัดโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม การสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการเรียนการสอน 2) การจัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม การพัฒนาหลักสูตรที่เป็นสากล และการทดสอบภาษาอังกฤษ 3) การพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์กลางทางวิชาการและวิจัย และการพัฒนาการวิจัยท้องถิ่น 4) จัดโครงการส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างนักศึกษา และ 5) ส่งเสริมกระบวนการวิจัยโดยนักศึกษาจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพและโครงการรายวิชาที่เรียนเพื่อนำความรู้จากการวิจัยมาสู่การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน

 

คําสําคัญ : ความพร้อมในการประกอบอาชีพ, ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการศึกษา, ประชาคมอาเซียน

 

ABSTRACT

 

            The objectives of this study were to; 1) study readiness for career preparation; 2) compare readiness for career preparation; 3) investigate educational factors affecting readiness for career preparation and; 4) explore guidelines for readiness for career preparation of students in faculty of Humanities and Social Sciences Bansomdejchaopraya Rajabhat University to support the ASEAN community. The sample included 320 fourth year undergraduate students expecting to graduate in Academic Year 2014 selected by Stratified Random Sampling. The six key informants were recruited by Purposive Sampling. The research instruments were questionnaires and in-depth interviews. The statistics included frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, One-Way ANOVA, correlation analysis, stepwise multiple regression analysis and content analysis.

            The results were as follows. 1. The overall readiness for career preparation of students was at a high level. 2. The readiness of career preparation according to personal factors showed that genders, ages and grade point average affected different readiness of career at the statistical significance of 0.05. In the aspects of hometowns, majors, parents’ occupations and average income of families affected different readiness of career preparation of students with no statistical significance. 3. The educational factors including teachers, teaching and learning management, buildings and student services affected readiness of career preparation of students at the statistical significance of 0.05. 4.The guidelines for readiness of career preparation of students consisting of; 1) organizing ethical promotion projects and inserting ethical issues in teaching and learning;2) organizing cultural exchange programs, international curriculum development and English skill tests; 3) developing the university toward being an academic and research center and developing research in local area; 4) organizing projects to promote collaboration among students and; 5) promoting research methodology by providing professional experience to students and enabling students to apply knowledge they obtain from courses to develop teaching and learning management.

 

Keywords: Readiness for career, educational factors, ASEAN community