การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานกับความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อการนำการวัดผลการปฏิบัติงานดุลยภาพมาใช้ และผลการดำเนินงานด้านการเงินของบริษัทซอฟต์แวร์ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วรพจน์ อนุเอกจิตร

Abstract

บทคัดย่อ

 

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) ศึกษาความคิดเห็นของพนักงานบริษัทซอฟต์แวร์ที่มีต่อการนำระบบการวัดผลการปฏิบัติงานดุลยภาพมาใช้ใน 4 มุมมอง คือ ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน และ ด้านการเรียนรู้และการเติบโต (2) ศึกษาความคิดเห็นของพนักงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และบทบาทที่มีต่อการวัดผลการปฏิบัติงานดุลยภาพ   (3) ศึกษาความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัท ในการนำการวัดผลการปฏิบัติงานดุลยภาพมาใช้ (4) เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานด้านการเงิน ในช่วงก่อนและหลังการนำระบบการวัดผลการปฏิบัติงานดุลยภาพมาใช้ในบริษัท

            วิธีดำเนินการศึกษานั้น ผู้ศึกษาได้ศึกษาข้อมูลจาก 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) (MFEC) บริษัท โมทีฟ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) (MOTIF) และบริษัท บิสซิเนส แอพพลิเคชั่น จำกัด (BAC) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดย (1) การแจกแบบสอบถามจำนวน 280 ชุด (2) การเปรียบเทียบตัวเลขหรืออัตราส่วนทางการเงินของ 3 บริษัท ในช่วงก่อนและหลังจากนำการวัดผลการปฏิบัติงานดุลยภาพมาใช้ โดยการเปรียบเทียบงบการเงินปี พ.ศ. 2555 กับงบการเงินปี พ.ศ. 2556

            ผลการศึกษา (1) จำแนกตามเพศและอายุงาน ที่แตกต่างกันของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อการวัดผลการปฏิบัติงานดุลยภาพด้านกระบวนการภายในแตกต่างกัน ส่วนอีก 3 มุมมองที่ไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา หน่วยงานที่สังกัด และตำแหน่งงานที่แตกต่างกัน พบว่าความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อการวัดผลการปฏิบัติงานดุลยภาพทั้ง 4 มุมมองไม่แตกต่างกัน (2) ผลสรุปความคิดเห็นของพนักงานต่อการนำการวัดผลการปฏิบัติงานดุลยภาพมาใช้อยู่ในระดับ “เห็นด้วย” ว่ายอดขายเพิ่มขึ้น หมายถึง บริษัทมีความสามารถมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการที่บริษัท MFEC และ บริษัท MOTIF มีรายได้จากการขายและบริการที่เพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2556 และพนักงาน “เห็นด้วย” ว่าควร “ลดค่าใช้จ่าย” ของบริษัทด้วย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า พนักงานจะมีความคิดเห็น “ไม่แน่ใจ” กับการใช้เป้าหมาย “กำไร” เป็นตัวชี้วัด แต่อัตราส่วนผลตอบแทนจากการใช้สินทรัพย์ พบว่าผลประกอบการปี พ.ศ. 2556 ของบริษัท MFEC และ บริษัท MOTIF เพิ่มขึ้น

 

คําสําคัญ: ระบบการวัดผลการปฏิบัติงานดุลยภาพ, (Balanced Scorecard : BSC)

 

ABSTRACT

}

            The objectives of this study are (1) To study the software companies employees’ opinion towards the balanced scorecard in 4 perspectives, including finance, customer, internal process and learning and growth (2) To study the employees’ opinion which classified by their personal factors and roles on the balanced scorecard (3) To study the employees’ opinion towards the performance of the software companies in the implementing of the balanced scorecard (4) To compare the financial  performance before and after the implementing of the balanced scorecard

            Research Methodology: The study focused on the three software companies which comprised of MFEC Plc. (MFEC), MOTIF Plc. (MOTIF), and BAC Co., Ltd. (BAC) by (1) Analyzing the information from 280 questionnaires (2) The comparison of the financial ratio of three companies before and after the implementing the balanced scorecard by comparing financial statement in the year 2012 with the year 2013.

            The result of the study are (1) Classified by the different in sex and work years of the samples found that the employee opinion towards the balanced scorecard in the Internal processes perspective are different. But the different in age, education, work years and positions found that the employees’ opinion towards the balanced scorecard are not different in all perspectives. (2) Conclusion of employees’ opinion towards implementing the balanced scorecard is in "agreed" level that increasing in sales that means the companies have higher capabilities which according to the sales and service income in 2013 of MFEC and MOTIF and the employees also "agreed" with "decreased costs". However, even though employees are not sure in using profit goats the indicator, but the return on assets ratio found that the performance of MFEC and MOTIF in 2013 is increased.

 

Keyword: Balanced Scorecard (BSC)

Article Details

How to Cite
อนุเอกจิตร ว. (2016). การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานกับความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อการนำการวัดผลการปฏิบัติงานดุลยภาพมาใช้ และผลการดำเนินงานด้านการเงินของบริษัทซอฟต์แวร์ในกรุงเทพมหานคร. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 10(23), 24. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/66729
Section
บทความวิจัย