การพัฒนาระบบการสอนภควันตภาพสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

สุรศักดิ์ ปาเฮ
รองศาสตราจารย์ ดร.วาสนา ทวีกุลทรัพย์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการสอนภควันตภาพสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายภาคเหนือตอนบน และ 2) ประเมินระบบการสอนภควันตภาพสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายภาคเหนือตอนบน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาระบบการสอนภควันตภาพ จากการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การออกแบบจำลองระบบ และการทดสอบระบบการสอนที่สร้างขึ้น โดยกำหนดขั้นตอนของระบบการสอนภควันตภาพออกเป็น 9 ขั้นตอนประกอบด้วย (1) การกำหนดอุดมการณ์ทางการเรียนภควันตภาพ (2) การศึกษาสภาพบริบทของสถานศึกษาและชุมชน (3) การพัฒนาหลักสูตรการเรียนภควันตภาพ (4) การจัดการโครงสร้างพื้นฐาน (5) การพัฒนาชุดการสอนภควันตภาพ (6) เตรียมการจัดการเรียนการสอน (7) การถ่ายทอดระบบการสอน (8) การประเมินประสิทธิภาพระบบการสอนรวมทั้งสภาพแวดล้อม และ (9) การประกันคุณภาพระบบการสอน ซึ่งแบบจำลองระบบการสอนภควันตภาพมีชื่อเรียกว่า BEDUL Model ( Basic Education Ubiquitous Learning Model )

            ผลการวิจัยพบว่า (1) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยรวมของระบบการสอนภควันตภาพจากการใช้ระบบทั้ง 9 ขั้นตอนในสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับ"ปานกลาง" และแนวโน้มในอนาคตของการใช้ระบบการสอนภควันตภาพทั้ง 9 ขั้นตอนอยู่ในระดับ "มาก" ค่าดัชนีบ่งชี้โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (2) ชุดการสอนภควันตภาพที่พัฒนาขึ้นมาใช้ในระบบการสอนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการทดสอบหลังเรียนจากการใช้ชุดการสอนภควันตภาพสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (4) ผลการประเมินความพึงพอใจจากการใช้ระบบการสอนอยู่ในระดับ "มาก" และ (5) ความคิดเห็นที่มีต่อระบบการสอนภควันตภาพพบว่าระบบการสอนนี้จะเป็นกระบวนทัศน์และนวัตกรรมทางการเรียนรูปแบบใหม่ในสังคมแห่งการเรียนรู้ที่จะก่อให้เกิดทั้งประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับอื่นๆได้ต่อไป

คำสำคัญ : การเรียนภควันตภาพ, ระบบและวิธีระบบ, ระบบการสอน 

ABSTRACT

            The purposes of this study were 1) to develop a ubiquitous instructional system for upper secondary students in Upper Northern Thailand and  2) to evaluate a ubiquitous instructional system for upper secondary students in Upper Northern Thailand. This research was a systematic development in a ubiquitous instructional system by analysis, synthesis, designing model and testing  instructional system which divide the implementation into 9 steps. They were (1) defining the learning ideology (2) studying the schools and community context (3) developing a ubiquitous learning curriculum (4) managing the infrastructure (5) developing the ubiquitous instructional packages (6) preparing a ubiquitous instruction  via the ubiquitous instructional packages (7) delivering a ubiquitous learning (8) evaluating a systematic and learning environment and (9).assuring the quality of a ubiquitous instructional system. A model of ubiquitous instructional system was called BEDUL model (Basic Education Ubiquitous Learning Model).

            The finding of this research were (1) The overall data analysis on using 9 steps of a ubiquitous instructional system in present status was at the "middle" level and trend of using a ubiquitous instructional system on 9 steps was at the "high' level , and the total indicators were significant at the 0.01 level (2) The five ubiquitous instructional packages were efficiency based on 80/80 efficiency criterion (3) The post-test learning achievement of ubiquitous learning packages was significantly higher than the pre-test learning achievement at the 0.01 level (4) The result of self-assessment from using the ubiquitous instructional packages was at the "high" level, and (5) The samples idea and opinion about a ubiquitous learning could be concluded that a ubiquitous learning systems was a new paradigm and innovative for learning society to enhance the efficiency and effectiveness of schooling in upper secondary education level and another.

 

Key Words : Ubiquitous learning, System and system approach, Instructional system

Article Details

How to Cite
ปาเฮ ส., & ทวีกุลทรัพย์ ร. ด. (2016). การพัฒนาระบบการสอนภควันตภาพสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคเหนือตอนบน. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 10(23), 9. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/66727
Section
บทความวิจัย