ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการบังคับบัญชากับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท เบนช์มาร์ค อิเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

Main Article Content

ศิริชัย แสงมณีจินดา
กรองกาญจน์ ณ นครพนม
ธนายุส ธนธิติ

Abstract

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการบังคับบัญชากับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท เบนช์มาร์ค อิเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบผู้บังคับบัญชา ระดับความผูกพันต่อองค์การและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการบังคับบัญชากับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานในบริษัท เบนช์มาร์ค อิเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งประชากรคือพนักงานในส่วนฝ่ายบริหาร บริษัท เบนช์มาร์ค อิเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จำนวน 569 คน และกลุ่มตัวอย่าง 400 คนได้จากการวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Product – Moment Correlation Coefficient)

ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการบังคับบัญชาในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การ เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่ารูปแบบการบังคับบัญชาแบบเน้นคนรูปแบบการบังคับบัญชาแบบประนีประนอมและรูปแบบการบังคับบัญชาแบบทีมงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การโดยรูปแบบการบังคับบัญชาแบบทีมงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การมากที่สุดรองลงมาคือรูปแบบการบังคับบัญชาแบบประนีประนอมและรูปแบบการบังคับบัญชาแบบเน้นคน รูปแบบการบังคับบัญชาแบบปล่อยปละเลยมีความสัมพันธ์ทางลบกับความผูกพันต่อองค์การ ส่วนรูปแบบการบังคับบัญชาแบบเน้นงานไม่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การและเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการบังคับบัญชาแต่ละแบบกับความผูกพันต่อองค์การแต่ละด้านพบว่า รูปแบบการบังคับบัญชาแบบเน้นคนรูปแบบการบังคับบัญชาแบบประนีประนอมรูปแบบการบังคับบัญชาแบบทีมงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันด้านความรู้สึก ความผูกพันต่อเนื่องความผูกพันในบรรทัดฐาน นอกจากนั้นยังพบว่ารูปแบบการบังคับบัญชาแบบปล่อยปละเลย มีความสัมพันธ์ทางลบกับความผูกพันด้านความรู้สึกและความผูกพันในบรรทัดฐาน ส่วนรูปแบบการบังคับบัญชาแบบเน้นงานไม่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันกับองค์การทุกด้านและรูปแบบการบังคับบัญชาแบบปล่อยปละเลยไม่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อเนื่อง

 

RELATIONSHIP BETWEEN THE FORMS OF THE COMMAND TO THE SENSE OF ORGANIZATIONAL COMMITMENT OF THE EMPLOYEES IN THE BENCHMARK ELECTRONICS (THAILAND) CO., LTD. PLC.

The purpose of this research is to study the relationship between the form of commander and the levels of sense of organizational commitment of the employees in Benchmark Electronics (Thailand) Public Company Limited (Thailand). The population consisted of 569 staffs in the Executive Department of the Companyand400samplings chose by using Simple Random Sampling. Five levels of rating scale questionnaire were used in this study and analyze data with the statistical software packages by using Pearson's correlation (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient).

The study found that;

In overall the style of the command had a positive relationship to the sense of organizational commitment. Considering on each side found that the command in the form which emphasizing to people, the command in the form of reconciliation and the command in the form of the Team Manager had positively relationship to the sense of organizational commitment form. The command in the form of the Team Manager was the highest relationship with the sense of organizational commitment. Next inferior was the form of a reconciliation of command and followed by the command in the form which emphasizing to people. The command that was the neglect form had negatively relationship to the sense of the organizational commitment. The command that focused on the Exacting Task Manager was not related to the sense of the organizational commitment. And to consider the relationship between each form of the command with the sense of organizational commitment found that the command in the form of emphasizing to people, the command in the form of reconciliation and the command in the form of the Team Manager had positively relationship with the sense of organizational commitment, ongoing binding, and the binding in norms. Moreover it was also found that the command that was the neglect form negatively relationship with the emotional affiliations and binding in the norms. The command that focused on the Exacting Task Manager was not related to the sense of the organizational commitment in all aspects and the command that was the neglect form not related to the ongoing binding.

Article Details

How to Cite
แสงมณีจินดา ศ., ณ นครพนม ก., & ธนธิติ ธ. (2016). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการบังคับบัญชากับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท เบนช์มาร์ค อิเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน). Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 8(16), 101–109. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/56730
Section
บทความวิจัย