การประเมินผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยธนบุรี ปีการศึกษา 2555

Main Article Content

กุลยา สุขพงษ์ไทย
ปนิตา ดีมานพ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อติดตามการดำเนินการการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยธนบุรี ปีการศึกษา 2555 กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยธนบุรี จำนวน 103 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน2) กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสัมภาษณ์ จำนวน 15 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากบุคลากรที่กำลังปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัยธนบุรีแบบเฉพาะเจาะจง

ผลการวิจัยมีดังนี้

1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยธนบุรี และได้เข้าร่วมโครงการเสวนาแลก เปลี่ยนเรียนรู้ (KM) ชุมชนนักปฏิบัติ (Cops) เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์และแผน ปฏิบัติการประจำปี 2555

2. การประเมินผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยธนบุรีปีการศึกษา 2555 โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านสภาวะแวดล้อม มีผลการประเมินสูงสุดเรื่องโครงการของการจัดการความรู้ได้ส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพด้านต่างๆ ในการตัดสินใจทำให้สามารถดำเนินการในเรื่องต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง และในเรื่องหลักการ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการการจัดการความรู้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน ด้านปัจจัย มีผลการประเมินสูงสุดเรื่องวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำเนินโครงการมีเพียงพอ ส่วนด้านกระบวนการ มีผลการประเมินสูงสุดเรื่องเนื้อหาสาระในแต่ละโครงการของการจัดการความรู้ และด้านผลผลิต มีผลการประเมินสูงสุดเรื่องโครงการของการจัดการความรู้สามารถทำให้หน่วยงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ

3. การดำเนินงานการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยธนบุรี ปีการศึกษา 2555 ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งโดยเฉพาะ “ชุมชนนักปฏิบัติ (Cops) เรื่องแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการประจำปี 2555” ซึ่งเป็นโครงการที่มีผู้สนใจเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่านชุมชุนนักปฏิบัติ (Cops) ที่มีการรวมตัวกันจากทุกระดับ ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือที่สามารถเชื่อมโยงบุคลากรทั้งมหาวิทยาลัยให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันโดยมีความสัมพันธ์ในแนวราบ และผลของการดำเนินงานนี้ยังสามารถนำมาเป็นต้นแบบในการวางแผนงานให้แก่ทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัย ทั้งนี้การจัดการความรู้ยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคลทำให้เกิดแนวคิดและมุมมองใหม่ ได้รับองค์ความรู้ใหม่ๆ ในประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง กล้าแสดงความคิดเห็นและมีความเชื่อมั่นในตนเองที่จะนำเสนอความคิดความรู้สึกหรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้อื่น อีกทั้งทำให้องค์กรเกิดสภาพแวดล้อมที่มีการแสดงความคิดเห็น ซึ่งอาจทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นในอนาคต ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างบุคลากรในมหาวิทยาลัยเนื่องจากมีการเปิดใจรับฟังและเคารพความคิดเห็นของอื่นมากขึ้น ก่อให้เกิดความร่วมมือจากเครือข่ายต่างหน่วยงานที่พร้อมจะช่วยเหลือกันในด้านการแลกเปลี่ยนความรู้ที่มีซึ่งกันและกัน บุคลากรในมหาวิทยาลัยธนบุรีสามารถใช้เครื่องมือที่ได้จากการจัดการความรู้ไปประยุกต์ใช้การแก้ปัญหากับงานในหน่วยงานของตนเองได้อย่างเหมาะสม

 

EVALUATION OF THE IMPLEMENTATION OF KNOWLEDGE MANAGEMENT AT THE THONBURI UNIVERSITY IN 2012

This research aimed to follow up performance of the Knowledge Management at Thonburi University in the academic year 2555. The sample was divided into two groups; 1) 103 People who filled out a questionnaire were executives, instructors and staff at Thonburi University. Using the method of stratified random sampling, a questionnaire was used as a tool in this study. The statistics used in data analysis were percentage, mean and standard deviation. 2) Interview random sample of 15 people who are specifically working at Thonburi University

The results were as follows.

1. The respondents were mostly instructors at Thonburi University who participated in the Knowledge Management Seminar to exchange knowledge of community of practices (Cops) in order to prepare for the implementation of the of strategic plans and annual operating plan for the year 2555.

2. The assessment of the overall performance in Knowledge Management at Thonburi University in the academic year 2555 was very good. The assessment of Knowledge Management of the projects to promote and enhance various aspects scored the highest. Decision Making which can be performed in various matters correctly, in principles, in goals and objectives of the Knowledge Management project was appropriate and consistent. About the factors of materials and tools that were used in the project, assessment showed they were most effective and adequate . In the part of the process, the assessment was highest in the contents of each project in Knowledge Management. The output of the project was evaluated the highest of Knowledge Management; as it was shown the goals, vision and mission were achieved.

3. The implementation of Knowledge Management at Thonburi University in the year 2555 was successful particularly in the “Communities of Practices (Cops) Strategic Plan and the Annual Action Plan 2555,” which was a project that many people were interested in. They came to join and exchange their knowledge through the Community Practices (Cops) with the incorporation of all levels which was considered to be a tool that can be used with the whole staff at the University. They had the opportunity to exchange knowledge with a horizontal relationship. The results of the operation could also be taken as a model in planning for all departments in the University. Knowledge Management has also brought about change in person’s, concepts with new perspective. The important contribution of good Knowledge Management is the development of cognitive citizens who are able to express their opinions with sound reasoning, self-confidence to offer their thoughts, feelings and experiences with others. It enables organizations to create an environment to share people ideas. This may stimulate innovations in the future, brought able by a useful relationship between the staffs to open their mind to listen and pay more respect to others opinions, promote cooperation with each entity sharing their knowledge with each other. University stall can apply the tools of Knowledge Management to solve problems appropriately in their department.

Article Details

How to Cite
สุขพงษ์ไทย ก., & ดีมานพ ป. (2016). การประเมินผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยธนบุรี ปีการศึกษา 2555. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 8(16), 79–92. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/56712
Section
บทความวิจัย