การประเมินความเสี่ยงด้านสาธารณภัย โดยชุมชน กรณีศึกษาเทศบาลเมืองลัดหลวง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

พิศุทธิ์ อังคะนาวิน

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการประเมินความเสี่ยงด้านสาธารณภัยในท้องถิ่น ซึ่งรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้นำชุมชน และประชาชนในชุมชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนเทศบาลเมืองลัดหลวง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ไม่น้อยกว่า 10 ปี จำนวน 382 ราย รวมทั้งรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ผลการศึกษาพบว่า เขตเทศบาลเมืองลัดหลวงมีความเสี่ยงต่อการเกิดสาธารณภัยหลายประเภทดังนี้บริเวณที่เป็นจุดเสี่ยงในการเกิดอัคคีภัยคือชุมชนแออัดในทั้ง 3 ตำบล และบริเวณที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรม บริเวณที่เป็นจุดเสี่ยงในการเกิดอุทกภัยจะเป็นพื้นที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ ตำบลบางพึ่ง บริเวณ หมู่ที่ 1, 2, 3, 11 ตำบลบางครุบริเวณหมู่ที่ 2 และ ซอยวัดครุนอก ตำบลบางจาก ตั้งแต่บริเวณซอยสุขสวัสดิ์ 49/1 ถึงบริเวณเขตติดต่อเทศบาลตำบลพระสมุทรเจดีย์ และบริเวณที่เป็นจุดเสี่ยงในการเกิดอุบติภัยทางถนน บริเวณถนนสุขสวัสดิ์

ข้อเสนอแนะในการศึกษาควรศึกษาความเสี่ยงด้านสาธารณภัยโดยให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการประเมินความเสี่ยง ในหลายๆ เขตทั่วประเทศ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เนื่องจากประชาชนในชุมชนมีความรู้เข้าใจสภาพแวดล้อมในชุมชนดีกว่าบุคคลภายนอกและมีประสบการณ์ตรงในการเผชิญภัยในอดีต

 

THE DISASTER RISK ASSESSMENT BY COMMUNITY : A CASE STUDY OF LADLAUNG MUNICIPALITY, PHRAPRADAENG, SAMUTPRAKAN PROVINCE

This research had the objective to increase local participation in evaluating disaster local risk. Data were collected by interview with a sample including community leaders and 382 members of the general population of residents who had been living in Ladluang Municipality, Phrapradaeng District, SamutPrakan Province for at least ten years.

This study found that the Municipality is at risk of adverse effects of disasters, especially in slum communities in the three Tambon of the Municipality. Other vulnerable sites include the factories, and communities along the banks of the Chao Phraya River (i.e., Tambon Bang Pheung, Villages # 1, 2, 3, and 11; Tambon Bang Khru Village # 2 and SoiWatKhruNawk; Tambon Bang Jak from Soi Suk Sawat 49/1 to the boundary with Tambon Municipality PhraSamut Jedi, and the are along the Suk Sawat Road.

Based on the findings of this study, it is recommended that the community residents participate more activities in disaster risk assessment and preparedness in all vulnerable districts. This will help improve prevention and mitigation efforts because the local residents often have better knowledge and understanding of their environment than outside officials, and have personal experience in dealing with past disasters.

Article Details

How to Cite
อังคะนาวิน พ. (2016). การประเมินความเสี่ยงด้านสาธารณภัย โดยชุมชน กรณีศึกษาเทศบาลเมืองลัดหลวง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 8(16), 67–77. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/56710
Section
บทความวิจัย