การบริหารจัดการของงองค์การบริหารส่วนตำบลกมลาต่อธุรกิจการท่องเที่ยวเพื่อนำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชน

Main Article Content

จิรกฤต เสมอเพื่อน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อศึกษาถึงกระบวนการบริหารจัดการขององค์การส่วนตำบลกมลาที่มีต่อธุรกิจการท่องเที่ยว 2.เพื่อศึกษาถึงการจัดการด้านการท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนตำบลกมลาที่มีต่อธุรกิจการท่องเที่ยว โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวและพนักงานที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว จำนวน 250 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติสัมประสิทธิ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 26 - 35 ปี สถานภาพ สมรส ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงาน มีระยะเวลาทำงานในสถานประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ระหว่าง 5 - 10 ปี รายได้จากการประกอบอาชีพน้อยกว่าหรือเท่ากับ 15,000 บาท ส่วนที่เป็นเจ้าของกิจการส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการเปิดธุรกิจท่องเที่ยว ระหว่าง 5 - 10 ปี กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการของ อบต. มากที่สุด ในด้านโครงสร้างการบริหารงาน และน้อยที่สุด ด้านงบประมาณ และกลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยว มากที่สุดในด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน น้อยที่สุด ด้านการท่องเที่ยวยั่งยืน ผลการทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่าระดับการบริหารจัดการของอบต.ด้านโครงสร้างการบริหารงาน ด้านกระบวนการบริหารจัดการ ด้านการวางแผน ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร ด้านการควบคุม โดยรวมมีความสัมพันธ์กับการท่องเที่ยวยั่งยืนและการท่องเที่ยวโดยชุมชนการศึกษาการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลกมลา และการจัดการด้านการท่องเที่ยวต่อธุรกิจการท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนตำบลกมลา พบว่า.มีความสัมพันธ์กับธุรกิจการท่องเที่ยวซึ่งจะนำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชน

 

MANAGEMENT OF KAMALA SUBDISTRICT ADMINISTRATIVE ORGANIZATION ON TOURISM BUSINESS IN CONTRIBUTING TO SUSTAINABLE TOURISM COMMUNITY

The purpose of this research are:1.To study the management process of Kamala Subdistrict Administrative Organization (SAO) to tourism business. 2. To study the tourism management of Kamala Subdistrict Administrative Organization (SAO) to tourism business. The samples are 250 of travel business owners and employees working in travel business enterprises. Questionnaires were used as the instruments to collect data. The statistical methods of frequencies, percentage, mean, standard deviations, and, Pearson correlation were used in the data analyses and hypotheses testing. The results revealed that most of the respondents are female, in the age group of 26 to 35 years old, married, hold a below Bachelor’s degree, be employee, work in travel business between 5 to 10 years and, earn monthly income of below/equal 15,000 baht. The business owner establishes the travel business between 5 – 10 years. The respondents’ intend to the management of Kamala SAO the most in Management organization and the least in Budget. And the respondents’ intend to travel the most in the community based tourism and the least in Sustainable tourism. Results of the hypotheses test at the statistical significance level of 0.05 is the management level of Kamala SAO in Management organization, Management process, Planning, Budget, Personal, Control and, overall has related to the sustainable tourism level. The study of management of Kamala SAO in management organization and tourism management to tourism business of Kamala SAO show the relation to travel business. There lead tourism business to sustainable tourism community.

Article Details

How to Cite
เสมอเพื่อน จ. (2016). การบริหารจัดการของงองค์การบริหารส่วนตำบลกมลาต่อธุรกิจการท่องเที่ยวเพื่อนำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชน. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 8(16), 55–66. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/56707
Section
บทความวิจัย