การใช้กลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการค่ายอาเซียน

Main Article Content

ปณิชา นิติสกุลวุฒิ
ทรงศรี สรณสถาพร

Abstract

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาการใช้กลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยและอาเซียนที่เข้าร่วมโครงการค่ายอาเซียน 2) เปรียบเทียบการใช้กลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยและนักเรียนอาเซียน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของการใช้กลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยและนักเรียนอาเซียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนไทยและนักเรียนอาเซียนที่เข้าร่วมโครงการค่าย “Thailand ASEAN Camp 2013” ประจำปีครั้งที่ 1 ได้มาโดยการสุ่มแบบโควตาและแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถามกลยุทธ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ จำนวน 1 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนไทยและนักเรียนอาเซียนใช้กลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับมาก กลยุทธ์ที่ใช้สูงที่สุดคือกลยุทธ์ทางอารมณ์ กลยุทธ์ที่ใช้น้อยที่สุดคือกลยุทธ์การจำ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยในการใช้กลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยและนักเรียนอาเซียนพบว่า นักเรียนไทยใช้กลยุทธ์ทางอารมณ์สูงที่สุดและใช้กลยุทธ์การจำน้อยที่สุด นักเรียนอาเซียนใช้กลยุทธ์ทางอารมณ์สูงที่สุดและใช้กลยุทธ์การชดเชยน้อยที่สุด 3) การใช้กลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ 6 กลยุทธ์ของนักเรียนไทยและนักเรียนอาเซียนมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูง

 

LANGUAGE LEARNING STRATEGIES OF STUDENTS PARTICIPATING IN ASEAN CAMP

The purposes of this study were: 1) to investigate language learning strategies utilized by Thai and ASEAN students participating in Thailand ASEAN Camp 2013, 2) to study similarities and differences of language learning strategies used among the groups, and 3) to find out the relationship between language learning strategies used between Thai and ASEAN students. The population included 36 students who are Thai and ASEAN nationalities participating in Thailand ASEAN Camp 2013. The research instruments included Oxford’s Strategy Inventory for Language Learning (SILL version 7.0).The statistical devices used for data analysis were descriptive statistics (mean and standard deviation) and Pearson’s Correlation Coefficient. The findings reveal that 1) the students employ overall language learning strategies at the high level. They mostly use affective strategies, but they use memory strategies the least. 2) Both Thai and ASEAN students employ affective strategies the most. The least of strategies used of Thai students is memory strategies, while ASEAN students use compensation strategies at the lowest level. 3) There is a statistically significant relationship between language learning strategies used between Thai and ASEAN students (r = .60 -.82).

Article Details

How to Cite
นิติสกุลวุฒิ ป., & สรณสถาพร ท. (2016). การใช้กลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการค่ายอาเซียน. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 8(16), 39–54. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/56701
Section
บทความวิจัย