ความคิดเห็นและการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางในการสื่อสาร

Main Article Content

ภัทรวรรธน์ โพธิ์น้อย

Abstract

ความคิดเห็นและการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางในการสื่อสาร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเก็บข้อมูล ด้วยการใช้แบบสอบถามแบบให้ผู้ตอบ ซึ่งเป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กเป็นผู้กรอกข้อมูลเอง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน คัดเลือกอย่างเจาะจง (Purposive sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานโดยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ไคสแควร์ (Chi-Square Test) โดยใช้ระดับความเชื่อมั่น 95% ดังนั้น การปฎิเสธสมมติฐานหลัก (H0) และยอมรับสมมติฐานรอง (H1) ก็ต่อเมื่อค่า Sig. มีค่าน้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ใช้เฟซบุ๊ก เป็นเพศชาย และเพศหญิงในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน อายุระหว่าง 27-33 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพเป็นพนักงานเอกชน ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือน 40,000 บาทขึ้นไป 2) ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการใช้เฟซบุ๊ก เพื่อสนทนากับเพื่อนผ่านเฟซบุ๊ก แบ่งปันรูป / วิดีโอ และรายงานสถานะของตัวเองให้เครือข่ายรับรู้ 3) ระยะเวลาที่ใช้เฟซบุ๊คต่อครั้ง น้อยกว่า 3 ชั่วโมง และส่วนใหญ่ใช้เฟซบุ๊กผ่านสมาร์ทโฟน และโทรศัพท์มือถือ เช่น ไอโฟน แบล็กเบอร์รี่ ซัมซุง 4) ความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าที่ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางในการสื่อสาร คิดว่าเฟซบุ๊กเป็นแหล่งข้อมูลซื้อสินค้า อีกทั้งยังมองว่าสินค้าต่างๆ ใช้ เฟซบุ๊กเป็นช่องทางในการสื่อสาร ทำให้จดจำแบรนด์ได้มากขึ้น และทำให้ภาพลักษณ์ดูทันสมัยมากขึ้น 5) เนื้อหาในการสื่อสารของสินค้าที่ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางในการสื่อสาร ที่พบเห็นมากที่สุด คือ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าต่างๆ ของผู้ประกอบการรายย่อย เช่น ขายเสื้อผ้า ของนำเข้า สินค้าแฟชั่นต่างๆ โดยเนื้อหาที่ดึงดูดผู้ใช้เฟซบุ๊กมากที่สุด คือ รายการส่งเสริมการขาย เช่น ส่วนลด 50-70% 6) การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความคิดเห็นของผู้ใช้เฟซบุ๊กที่มีต่อสินค้าที่ใช้ เฟซบุ๊กเป็นช่องทางในการสื่อสารมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อ เช่นเดียวกับเนื้อหาในการสื่อสารของสินค้าที่ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางในการสื่อสาร มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อ

 

OPINIONS AND DECISION TO PRODUCTS PURCHASE THROUGH FACEBOOK

Four hundred Facebook users were purposively selected to complete the self-administered questionnaire and satisfied analysis hypothesized by a computer program. The descriptive statistics were used to describe the demographic characteristics and the Facebook use behavior. The inferential statistics such as Chi-Square test, was used for hypothesis testing. Findings; 1) Facebook users are male and female in nearly equal number, and most are between the ages of 27-33 years with a degree, and are privately employed, with a monthly income of 40,000 THB or more. 2) Facebook is used mainly to: a) chat with friends, b) share pictures and video, c) report own status to the network. 3) Most users are exposed to Facebook everyday, but less than 3 hours at a time through iPhone, Blackberry, Samsung, etc. 4) Facebook users perceived product advertisement through Facebook as sales information source as well as medium for communication among Facebook friends. Moreover, Facebook enable users to brand recognizing. 5) Facebook users are mostly exposed to information about products of Small and Medium Enterprises (SME), such as retail clothing, import goods and fashion products. The most attractive messages to Facebook users is promotion program such as 50% - 70% reduced price. 6) Hypothesis testing revealed that there were correlations among purchase decision and online product advertisement as well as attitude toward online products.

Article Details

How to Cite
โพธิ์น้อย ภ. (2016). ความคิดเห็นและการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางในการสื่อสาร. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 9(18), 39–48. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/56527
Section
บทความวิจัย