การวิเคราะห์ธุรกิจการค้าวัสดุอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ภายใต้ตัวแบบแรงกดดันทางการแข่งขัน 5 ประการ

Main Article Content

วุฒิ วัชโรดมประเสริฐ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ตัวแบบแรงกดดันทางการแข่งขันของไมเคิล อี.พอร์ตเตอร์ ในสภาพการแข่งขันทางธุรกิจการค้าวัสดุอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ในปัจจุบัน (2) ปัจจัยแรงกดดันทางการแข่งขันอื่นๆ นอกเหนือจากปัจจัยแรงกดดันทางการแข่งขันทั้งห้าของไมเคิล อี.พอร์ตเตอร์ ในสภาพการแข่งขันทางธุรกิจการค้าวัสดุอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ในประเทศไทยในปัจจุบัน (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงกดดันทางการแข่งขันของไมเคิล อี.พอร์ตเตอร์และปัจจัยอื่นๆ กับสภาพการแข่งขันทางธุรกิจการค้าวัสดุอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ในประเทศไทย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารระดับสูงของสถานประกอบการธุรกิจการค้าวัสดุอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ทั่วทั้งประเทศไทย  ซึ่งมีจำนวน 157 สถานประกอบการ (ข้อมูลจากสมาคมการค้าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ธันวาคม พ.ศ. 2556) ที่มีรายชื่อเป็นสมาชิกอยู่ในสมาคม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เทคนิคกระบวนการเดลฟาย การวิเคราะห์ผลผ่านค่าทางสถิติต่างๆ ดังนี้ (1) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ โดยศึกษาความสัมพันธ์กันเองระหว่างปัจจัย (Multicollinearity) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ โดยใช้สถิติ Corelations Analysis วิธีการหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างกันของตัวแปร     (2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของสภาพการแข่งขันในธุรกิจการค้าวัสดุอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยใช้โปรแกรมคำนวณค่าทางสถิติ Lisrel 9 for Student  (3) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาพการแข่งขัน โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) โดยวิธีการ Enter Method ซึ่งเป็นการนำตัวแปรทั้งหมดทุกตัวเข้าไปในสมการ แล้วพิจารณาผลการวิเคราะห์ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่มีความสัมพันธ์กับสภาพการแข่งขันในธุรกิจการค้าวัสดุอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ของประเทศไทยในปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า ลำดับปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาพการแข่งขันในปัจจุบันของธุรกิจการค้าวัสดุอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ที่ส่งผลสูงสุดจนถึงน้อยสุด มีดังนี้ (1) ปัจจัยกลุ่มอิทธิพล กลุ่มอ้างอิง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ภายนอก (2) ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (3) ปัจจัยเทคโนโลยี (4) ปัจจัยสินค้าที่ใช้ทดแทนกัน (5) ปัจจัยขนาดการแข่งขัน (6) ปัจจัยการเมือง (7) ปัจจัยอำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ (8) ปัจจัยผู้แข่งขันรายใหม่  และปัจจัยสุดท้ายคือ (9) ปัจจัยอำนาจการต่อรองของผู้จำหน่ายวัตถุดิบ

AN ANALYSIS OF SCIENCE MATERIALS TRADING BUSINESS IN THAILAND UNDER THE FIVE COMPETITIVE FORCES MODEL

The purposes of this research were to study : (1) the competitive factors of Michael E.Porter in science materials trading business in Thailand  (2) the other factors apart from Porter’s model in science materials trading business in Thailand (3) the relationship between the competitive and other factors in science materials trading business in Thailand.

The population and the samples was 157 companies with a list of members in the Science and Technology Trading Association (December 2556). Research Tools used in this study was the Delphi technique and statistical analysis. The data were analyzed by Pearson corelations analysis , Factor analysis using Lisrel 9 for student and Multiple regression by Enter method. The results were as follows : 9 factors were affect to competitive conditions in current science materials trading business in Thailand. Show the maximum results though minimum the following : (1) External stakeholders (2) Natural environment (3) Technology (4) Substitute Product (5) Intensity of Rivalry between Competing Firms (6) Political (7) Bargaining Power of Buyers (8) New Entrants. The last factor is (9) Bargaining Power of Suppliers

Article Details

How to Cite
วัชโรดมประเสริฐ ว. (2016). การวิเคราะห์ธุรกิจการค้าวัสดุอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ภายใต้ตัวแบบแรงกดดันทางการแข่งขัน 5 ประการ. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 9(18), 26–38. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/56442
Section
บทความวิจัย