การมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อกิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยธนบุรี
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความสนใจของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และ 2. ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยธนบุรี ประจำปีการศึกษา 2555 โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ สุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาของมหาวิทยาลัยธนบุรีทั้ง 4 คณะวิชา 11 สาขาวิชา จำนวน 358 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความสนใจและระดับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยธนบุรี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ผลการวิจัยพบว่าภาพรวมความสนใจของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมอยู่ในระดับ ดี ( = 3.50 และ SD = 1.04) เนื่องจากมหาวิทยาลัยธนบุรีมีระบบในการบริหารจัดการและการประสานงานการจัดกิจกรรมที่ดี กิจกรรมที่นักศึกษาให้ความสนใจในการเข้าร่วมมากที่สุด คือ กิจกรรมวันรำลึกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ( = 3.75 และ SD = 1.18) ระดับการมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม แบ่งออกเป็น 4 ส่วน (1.) ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรมพบว่า นักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินกิจกรรมวันไหว้ครูมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 10.1 (2.) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม พบว่า กิจกรรมที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมมากที่สุด คือ กิจกรรมวันลอยกระทง คิดเป็นร้อยละ 26.5 (3.) ด้านการมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมกิจกรรม พบว่า กิจกรรมที่นักศึกษาเข้าร่วมมากที่สุด คือ กิจกรรมวันไหว้ครู คิดเป็นร้อยละ 68.2 (4.) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลการดำเนินกิจกรรม พบว่า กิจกรรมที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมมากที่สุด คือ กิจกรรมการอบรมศิลปะการตัดกระดาษโบราณ คิดเป็นร้อยละ 27.4 ซึ่งระดับการมีส่วนร่วมเกิดจากรูปแบบของกิจกรรมเองเป็นตัวกำหนด
THE PRATICIPATION OF STUDENTS IN ACTIVITIES TO MAINTAINING ART AND CULTURE IN THONBURI UNIVERSITY
This research aimed to study the interest of students on arts and culture preservation activity and study the participation level of students who attended arts and culture preservation activity of Thonburity University in 2555 academic year. The survey research paradigm was used to investigate and 358 students in 4 faculties and 11 programmes were randomly selected. The questionnaires were designed to measure interest and level of activity participation and SPSS was employed to analyze data.
The results reveled good level of overall interest of students toward arts and culture activities (= 3.50 and SD = 1.04) because Thonburi university had good system in management and cooperation for arranging activities. Specifically, the most interesting activities for students was Taksin the great commemoration (= 3.75 and SD = 1.18).
Level of student participant toward arts and culture activities could be divided into 4 parts, (1) participation in activity planning, most students or 10 percent took part in activity planning for Teacher Respect Ceremony (Wai Kru Day), (2) participation in activity operating, most students or 26.5 percent attend in Loy Kratong Day, (3) participation in joining activity, most students or 68.2 percept took part in Teacher Respect Ceremony (Wai Kru Day), and (4) participation in activity evaluation, most students or 27.4 percent participated in ancient-paper cutting activity that level of participation was determined by activity itself.