พฤติกรรมการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงเกษตร: กรณีศึกษา คลองมหาสวัสดิ์ จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ปริศนา มั่นเภา

Abstract

การวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงเกษตร : กรณีศึกษา คลองมหาสวัสดิ์ จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจท่องเที่ยวแบบเชิงเกษตร  เปรียบเทียบพฤติกรรมการตัดสินใจท่องเที่ยวตามปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวเชิงเกษตร และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยว คลองมหาสวัสดิ์  จังหวัดนครปฐม  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าสัมประสิทธิ์ Cronbach’s α = 0.982  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวคลองมหาสวัสดิ์ จังหวัดนครปฐม จำนวน 384 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way analysis of variance) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) จำนวน 6 คน ผลการวิจัยพบว่า

1) พฤติกรรมการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงเกษตร เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ลำดับที่ 1 ปัจจัยทางกายภาพ มีค่า = 4.39 ค่า S.D.= 0.65 ระดับการตัดสินใจมากที่สุด   ลำดับที่ 2 ปัจจัยบุคคล  มีค่า = 4.34 ค่า S.D.= 0.60 ระดับการตัดสินใจมากที่สุด ลำดับที่ 3 ปัจจัยกระบวนการ มีค่า = 4.21 ค่า S.D.= 0.68 ระดับการตัดสินใจมากที่สุด ลำดับที่ 4  ปัจจัยราคา มีค่า = 4.01 ค่า S.D. = 0.66 ระดับการตัดสินใจมาท่องเที่ยว มาก ลำดับที่ 5 ปัจจัยแหล่งท่องเที่ยว มีค่า  = 3.98  ค่า S.D. = 0.61  ระดับการตัดสินใจมาท่องเที่ยว มาก

2) การเปรียบเทียบพฤติกรรมการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงเกษตร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน มีพฤติกรรมการตัดสินใจท่องเที่ยวแบบเชิงเกษตรที่แตกต่างกัน ยกเว้นนักท่องเที่ยวที่มีเพศต่างกัน มีพฤติกรรมการตัดสินใจท่องเที่ยวแบบเชิงเกษตรที่ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

3) แนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบเชิงเกษตร  พบว่า มี 7 ปัจจัยที่ต้องมีการพัฒนา

AGROTOURISM DECISION MAKING BEHAVIOR: A CASE STUDY OF MAHASAWAS CANAL IN NAKORNPATOM PROVINCE

This research on agrotourism decision making behaviors: a case study of Mahasawas canal in Nakornpatom Province aimed to study agrotourism decision making behavior of tourists, comparing decision making behavior according to personal information and suggesting on agrotourism development approach for Mahasawas canal in Nakornpatom Province. The research instrument used was questionnaire with Cronbach’s α was 0.982. The sample group was 384 agotourists. Descriptive statistics used were percentage, frequency, mean (), standard deviation (S.D.), an independent t-test, one-way analysis of variance, and content analysis for 6 key informants.

The research finding revealed that:

1)    Decision making agrotourism behavior research finding in sequence revealed that No.1 physical evidence factor  at = 4.39, S.D.= 0.65; highest decision making level, No.2 people factor  at = 4.34, S.D.= 0.60; highest decision making level, No.3 process factor at = 4.21, S.D.= 0.68; highest decision making level, No.4 price factor  at = 4.01, S.D.= 0.66; high decision making level, and No.5 product factor at = 3.98, S.D.= 0.61; high decision making level.

2)    Comparing decision making agrotourism behavior in personal information consisting of gender, age, status, education, income, and career, research finding revealed that different personal information made a different making decision tourist’s behavior were different except tourists gender had no different in decision making behavior at the statistical significance level of 0.05.

Suggesting agrotourism development approach finding revealed that seven factors were developed in terms of tourism at Mahasawas canal in Nakornpatom province.

Article Details

How to Cite
มั่นเภา ป. (2016). พฤติกรรมการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงเกษตร: กรณีศึกษา คลองมหาสวัสดิ์ จังหวัดนครปฐม. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 10(22), 104–110. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/56433
Section
บทความวิจัย