การเปรียบเทียบความพึงพอใจในการใช้บัณฑิตกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยธนบุรี

Main Article Content

ฉัตรชัย เหล่าเขตการณ์

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งทำการศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ประกอบการ ที่มีต่อบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์จำนวน 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้บัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 3) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการใช้บัณฑิตกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการต่อนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการจัดการ  โลจิสติกส์ที่มีตำแหน่งงาน ประสบการณ์ ขนาดธุรกิจแตกต่างกัน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งประกอบไปด้วยข้อคำถามทั้งสิ้น 3 ส่วน คือ ข้อมูลพื้นฐานของบริษัทผู้ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจและความคาดหวัง และข้อเสนอแนะ ตามลำดับ โดยเก็บข้อมูลจากบริษัทที่รับนักศึกษาเข้าทำงานหรือฝึกงานจำนวน 35 บริษัท โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น(Non-Probability Sampling) ด้วยวิธีการสุ่มตามโควตา(Quota Sampling)  และวิธีการสุ่มโดยใช้วิจารณญาณ(Judgment Sampling)  การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบจำแนกทางเดียว(One-way ANOVA)  โดยการวิเคราะห์คุณภาพของบัณฑิตผู้วิจัยใช้ทฤษฎีคุณภาพการบริการ SERVQUAL มาเปรียบเทียบโดยใช้ GAP Model เนื่องจากเป็นแบบจำลองที่มีความน่าเชื่อถือ

ผลการศึกษาพบว่า ความพึงพอใจในการใช้บัณฑิตตามคุณลักษณบัณฑิตที่พึงประสงค์ทั้ง 6 ด้าน สถานประกอบการที่ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในการใช้บัณฑิตสูงสุดในด้านของ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบโดยมีค่าคะแนนที่ 4.25 ผลการวิเคราะห์ความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิตตามคุณลักษณบัณฑิตที่พึงประสงค์ทั้ง 6 ด้าน ด้านที่มีความคาดหวังมากที่สุดคือ ทักษะด้านคุณธรรมจริยธรรมโดยมีค่าคะแนนที่ 4.36 ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบระหว่างความพึงพอใจในการใช้บัณฑิตกับความคาดหวังที่ผู้ประกอบการต้องการจากบัณฑิตพบว่า มีเพียง 1 ด้านเท่านั้นที่ไม่มีค่าเป็นลบ คือ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และอีก 5 ด้านที่เหลือมีค่าติดลบโดยด้านที่มีค่าติดลบมากที่สุดคือ ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีค่าคะแนนที่ – 0.27

THE COMPARISON BETWEEN SATISFACTION AND EXPECTATION OF GRADUATES USERS CASE STUDY OF LOGISTICS MANGEMENT PROGRAMS IS THONBURI UNIVERSITY

The propose of this paper is to study. The comparison between satisfaction and expectation of graduates users, case study of logistics management programs in Thonburi University. This paper formulates 2 hypotheses from the literature review. The instrument using in this study is a survey questionnaire consisting of three major parts. The first part consists of basic data the second part consists of comparison between satisfaction and expectation of graduates users the third part consists of companies suggestion. From companies that get graduates to work 35 of firm. Using is quota sampling and judgment sampling. Query as a question rating scale estimate 5 class The statistical data analysis using SPSS were used to analyze data such as percentage, mean, standard deviation and one-way ANOVA. Using SERVQUAL Model the quality measure of graduates

The results of this study, satisfaction to use the graduates. According desirable features of graduates six sides, according to a review of the establishment, there is a high level average in all side by maximum level average is relationship skills and responsibility. But Expectations maximum level average is morality and ethics. The comparison between satisfaction and expectation of graduates users six sides, according to a review of the establishment, it points out that the gap of 0 in relationship skills and responsibility, represents the ability of graduates can get to know expectations have as well.

Article Details

How to Cite
เหล่าเขตการณ์ ฉ. (2016). การเปรียบเทียบความพึงพอใจในการใช้บัณฑิตกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยธนบุรี. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 10(22), 9–20. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/56422
Section
บทความวิจัย