ผลประโยชน์ที่แท้จริงของการบริโภคและการผลิตสินค้า กลุ่มโลหะ ผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร ภายใต้กรอบตามแนวคิดการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน

Main Article Content

พฤทธ์สรรค์ สุทธิไชยเมธี
สมพจน์ กรรณนุช
วรางคณา ศรนิล

Abstract

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) วิเคราะห์ผลประโยชน์ที่แท้จริงและต้นทุนสิ่งแวดล้อมของสาขาการผลิต 125 การผลิตยานยนต์ และในกลุ่มสาขาการผลิตโลหะ ผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร โดยครอบคลุมด้านพลังงานและการขนส่ง และด้านสุขาภิบาล 2) วิเคราะห์ความสามารถในการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจในกลุ่มการผลิตโลหะ ผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร ข้อมูลที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ในครั้งนี้ ใช้ข้อมูลทุติยภูมิในปี พ.ศ. 2558 จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ วิธีการวิเคราะห์โดยการคำนวณหาผลประโยชน์ที่แท้จริงจากผลต่างระหว่างผลประโยชน์รวมกับต้นทุนสิ่งแวดล้อมด้านพลังงานและการขนส่ง และต้นทุนด้านสุขาภิบาล

ผลการวิเคราะห์พบว่า สาขาการผลิต 125 การผลิตยานยนต์ มีผลประโยชน์ที่แท้จริง ต่ำกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ย โดยครอบคลุมต้นทุนพลังงานและการขนส่ง และต้นทุนสุขาภิบาล อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์โดยเปรียบเทียบในกลุ่ม การผลิตโลหะ ผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร พบว่า สาขาการผลิตที่มีผลประโยชน์ที่แท้จริงสูงสุดเมื่อหักต้นทุนสิ่งแวดล้อมด้านพลังงานและการขนส่งออกแล้ว คือ สาขาการผลิต 123 การต่อเรือและการซ่อมเรือ แต่ผลประโยชน์ที่แท้จริงต่ำกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ย สำหรับผลประโยชน์ที่แท้จริงสูงสุดเมื่อหักต้นทุนสุขาภิบาลออกแล้ว คือ สาขาการผลิต 105 การผลิตเหล็กและเหล็กกล้า โดยมีค่าผลประโยชน์ที่แท้จริงต่ำกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ยเช่นกัน

ผลการวิเคราะห์ดัชนีความเชื่อมโยงโดยรวมไปข้างหน้า (Forward Linkage Index) พบว่า สาขาที่ให้ค่าดัชนีความเชื่อมโยงโดยรวมไปข้างหน้าสูงที่สุดคือ สาขาการผลิต 105 การผลิตเหล็กและเหล็กกล้า ส่วนการวิเคราะห์ดัชนีวัดความเชื่อมโยงโดยรวมไปข้างหลัง (Backward Linkage- Index) พบว่า ที่ให้ค่าดัชนีความเชื่อมโยงโดยรวมไปข้างหลังสูงสุดคือ สาขาการผลิต 127 การซ่อมแซมยานพาหนะทุกชนิด

 

THE REAL BENEFIT OF CONSUMPTION AND PRODUCTION OF BASIC METAL, FABRICATED METAL PRODUCT AND MACHINERY UNDER THE CONCEPT OF SUSTAINABLE CONSUMPTION AND PRODUCTION

This research aims to 1) analyze Real benefit of Production Category 125 Motor vehicles and Basic Metal, Fabricated Metal Product and Machinery by environmental costs covering energy, transportation and sanitary aspect 2) analyze the ability to economically link between various production groups including metal production, metal product and machinery. Data used for these analyses was based on secondary data collected in 2015 by the Office of the National Economic and Social Development Board. The analysis was done by referring to the calculation of Real benefit plus environmental cost on energy, transportation and sanitary costs.

Analytical results suggested that Production Category 125 Motor vehicles render Real benefit below the average level, either energy, transportation or sanitary cost aspect. However, with comparison to those metal production category and metal product and machinery category, it revealed that the production category showing highest Real benefit after the cost of environment, energy and transportation was Production Category 123 Ship building and repairing; but still lower than the average level. The production category showing highest Real benefit after sanitary cost was Production Category 105 Iron and steel the Real benefit of which was still below the average level as well.

Having analyzed Forward Linkage Index, it appeared that the production category showing highest Forward Linkage Index was Production Category 105 Iron and steel. With respect to the analysis on Backward Linkage Index, it was discovered that Production Category 127 Repair of motor vehicles rendered highest Backward Linkage Index.

Article Details

How to Cite
สุทธิไชยเมธี พ., กรรณนุช ส., & ศรนิล ว. (2016). ผลประโยชน์ที่แท้จริงของการบริโภคและการผลิตสินค้า กลุ่มโลหะ ผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร ภายใต้กรอบตามแนวคิดการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 9(20), 74–86. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/56281
Section
บทความวิจัย