แนวทางการสร้างประสิทธิผลในการปฎิบัติงานของตำรวจฝ่ายสืบสวน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

Main Article Content

อัศวิน มะลัยสิทธิ์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน ในกองบังคับการกองปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลด้านต่างๆ โดยใช้ประชากรที่ศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน ในกองบังคับการกองปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สังกัดกองกำกับการ 1-6 และกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ จำนวน 414 คน ซึ่งผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนในกองบังคับการกองปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 200 คน ที่ระดับความเชื่อมั่น .95 และการสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบง่าย (simple random sampling) จากผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า 1. ผลการวิเคราะห์ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่อยู่ในระดับสูง แสดงว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน มีความคิดเห็นว่าตนเองจะสามารถปฏิบัติงานสืบสวนได้ดีในทุกขั้นตอนของงานสืบสวน โดยเฉพาะในด้านการรับรองรายงานเรื่องอาชญากรรม การค้นพบ หรือสงสัย และด้านการหาตัวผู้กระทำความผิดหรือหาทรัพย์สินที่ถูกประทุษร้าย ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าด้านอื่นๆ 2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ที่มีสถานภาพสมรส แตกต่างกัน มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติ หน้าที่ไม่แตกต่างกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน ที่มี่ชั้นยศแตกต่างกัน มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ไม่แตกต่างกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ไม่แตกต่างกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนที่มีอายุแตกต่างกัน มีประสิทธิผลในการปฏิบัติหน้าที่ไม่แตกต่างกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนที่มีเงินเดือนแตกต่างกันมีประสิทธิผลในการปฏิบัติหน้าที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่าเงินเดือนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน

 

GUIDELINES FOR BUILDING PERFORMANCE EFFRETIVENESS OF THE POLICE INVESTIGATOR NATIONAL POLICE OFFICE

This research aims the effectiveness of the duties of the police investigation. In Division Crime Suppression Division, Headquarters, police, national police and personal factors in using the study population is police investigators in the Division Suppression Division, Headquarters, police, national police under the supervision of the Special Operations Division 1-6 and 414 people, which the researchers chose a sample police investigators in the Division Suppression Division, Headquarters, police, national police number 200; confidence level of 0.95 and using simple random sampling (simple random sampling). The results of this research showed. 1. Results of the analysis is on duty at a high level, indicating that police investigators have commented that they can perform investigative work well in all stages of investigations, especially in the certification report crimes, discovered or suspected, and in finding the offender or the property was mayhem, which was higher than the other side. 2. Benefit analysis compares the performance of the duties of the marital status of different effective duty is no different, police investigations, with the top rank of different effective duty is no different. Well, the police investigators who have studied different effective duty is no different, police investigations under different effective duty is no different, the police department investigation or have different effective duty difference statistically significant at the 0.05 level, showing that salary is a factor that affects the performance of the duties of the police investigation.

Article Details

How to Cite
มะลัยสิทธิ์ อ. (2016). แนวทางการสร้างประสิทธิผลในการปฎิบัติงานของตำรวจฝ่ายสืบสวน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 9(20), 24–34. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/56269
Section
บทความวิจัย