สหกรณ์: สถาบันการเงินของสมาชิก

Main Article Content

สุพัตรา อภิชัยมงคล

Abstract

บทคัดย่อ


                สหกรณ์ เป็นการร่วมกันของคณะบุคคลดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยสหกรณ์แบ่งเป็น 7 ประเภท ได้แก่ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์ประมง สหกรณ์ร้านค้า สหกรณ์นิคม สหกรณ์บริการ และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ซึ่งสหกรณ์โดยส่วนใหญ่เป็นการจัดตั้งขึ้นจากการที่เป็นผู้ประกอบอาชีพเดียวกัน หรืออยู่ในพื้นที่เดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือสมาชิกในการดำเนินธุรกิจ แต่มีสหกรณ์ประเภทออมทรัพย์ และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนที่มีการบริหารในลักษณะการให้สมาชิกออมเงิน และการให้บริการสินเชื่อแก่สมาชิก จึงควรมีการบริหารงานและหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลที่แตกต่างจากสหกรณ์ประเภทอื่นๆ


                ความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเจนระหว่างสหกรณ์ออมทรัพย์ และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คือ (1) คุณสมบัติของสมาชิก และ (2) การเรียกเก็บเงินค่าหุ้น โดยระบบบัญชีของสหกรณ์ฯ ทั้ง 2 ประเภทเป็นไปตามเกณฑ์คงค้าง และการบันทึกรายได้ตามลักษณะการเกิดรายได้แต่ละประเภท อีกทั้งสหกรณ์ฯ ยังมีข้อกำหนดในเรื่องการจัดชั้นคุณภาพลูกหนี้เงินกู้และการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่มีการกำหนดให้สหกรณ์ระงับการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยเงินให้กู้ของลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ตามเกณฑ์คงค้าง โดยให้รับรู้รายได้ตามเกณฑ์เงินสด ด้านการกำกับดูแลสหกรณ์ โดยหน่วยงานภาครัฐมีการตรวจสอบกิจการ ทั้งในด้านการเงิน การบัญชี การปฏิบัติ การบริหารงาน ระบบสารสนเทศ และการตรวจสอบด้านอื่นๆ โดยสมาชิกของสหกรณ์ หรือบุคคลภายนอกที่ได้รับการแต่งตั้งจากสหกรณ์ ซึ่งมีแนวทางใกล้เคียงกับแนวคิดการควบคุมภายในของ COSO นอกจากนี้สหกรณ์ยังต้องมีการให้ผู้ตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ในการรับรองงบการเงินของสหกรณ์ ซึ่งมีทั้งบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ หรือผู้สอบบัญชีภาคเอกชน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ประเภทใด ก็ต้องปฏิบัติตามแนวทางการตรวจสอบบัญชีที่กำหนดโดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ รวมทั้งกลุ่มตรวจการสหกรณ์ที่จัดตั้งโดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลให้คำแนะนำแก่สหกรณ์ให้มีการปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมายและกฎระเบียบ


                        การดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ที่มีลักษณะการดำเนินงานที่คล้ายคลึงกับสถาบันการเงินเช่นธนาคารพาณิชย์ แต่โดยบริบทในการเป็นสื่อกลางในการระดมเงินออมและให้กู้แก่สมาชิก และต้องยอมรับว่าในปัจจุบันสหกรณ์ออมทรัพย์ได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไปในการเป็นแหล่งออมเงินมากขึ้น การบริหารจัดการเงิน จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการบริหารงานของสหกรณ์ โดยที่ผ่านมาผู้บริหารระดับสูงของสหกรณ์ มักได้รับอำนาจในการดำเนินการด้านต่าง ๆ ซึ่งหากผู้บริหารระดับสูงมีพฤติกรรมการทุจริตเกิดขึ้น จะมีผลกระทบต่อสหกรณ์ และส่งผลกระทบต่อสหกรณ์อื่น ๆ หากมีการฝากเงินหรือกู้ยืมเงินกันระหว่างสหกรณ์ น่วยงานภาครัฐ เนื่อล้องกับหลักเกณฑ์กำกับดูแลที่จะทยอยประกาศใช้ในอนาคต อีกทั้งสมาชิกสหกรณ์ยังคงเป็นซึ่งที่ผ่านหน่วยงานภาครัฐที่มีการกำกับดูแลอาจไม่เพียงพอ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2560 ที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐจึงมีการประกาศหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลสหกรณ์โดยเฉพาะสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน จำนวน 4 เกณฑ์ จากจำนวนข้อเสนอ 4 ด้าน 19 ข้อปฏิบัติ ดังนั้น สหกรณ์ควรมีการปรับเปลี่ยนการบริหารให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์กำกับดูแลที่จะทยอยประกาศใช้ในอนาคต อีกทั้งสมาชิกยังคงเป็นกลไกสำคัญในการกำกับดูแลนอกจากหน่วยงานภาครัฐ สมาชิกควรมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และรับรู้ข่าวสารทางการเงินของสหกรณ์ รวมทั้งช่วยสอดส่องดูแลการดำเนินงานทั้งทางด้านการเงินและไม่ใช่ด้านการเงิน


 คำสำคัญ: สหกรณ์ออมทรัพย์, สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน


 


Abstract


 Cooperative is integration of people for operating business for economic and social benefits.  Cooperatives have 7 kinds include (1) Agricultural cooperative (2) Saving and Credit cooperative (3) Fisherman cooperative (4) Retailer cooperative (5) Estate cooperative (6) Servicing cooperative (7) Credit union cooperative. Most cooperatives are established by same profession on in the same area. The purpose of a cooperative is to assist its members in operating the business. But the Savings and Credit cooperative and the Credit unions cooperative have been deposited by members and provide loans to members. There should be management and supervision rules that are different from other cooperatives.


The difference between the Savings and Credit cooperative and the Credit Union cooperatives (1) the qualifications of the members and (2) the payment of shares. The accounting system is on an accrual basis and revenue recognition based on each revenue type. There are also requirements on the quality classification of loan receivables and allowance for doubtful accounts can change accrual basis to cash basis for non-performing loans. Cooperative supervision by government agencies for monitors financial, accounting, operation, administration, information system and other. This team has cooperative member or external. And this concept is similar the concept of internal control COSO. In addition, the cooperative must also have a cooperative auditor to certify the cooperative's financial statements. This may be a person in a government agency or private auditor. regardless of whether CPA or government agency must follow the audit trail as determined by Cooperatives auditing department. Including cooperative inspection groups established by Cooperative Promotion Department are responsible for supervise and advise on legal and regulatory compliance.


                The operation of credit unions and savings cooperatives is similar that of financial institutions such as commercial banks. But by the context of being a center for depositing and lending to members. At present, the public is more popular with savings cooperatives. Money management It is very important for the management of the cooperative. In the past, the cooperative's executives often had the power to do all things. If such management behaves dishonestly, it will affect cooperatives and affect other cooperatives if the cooperative has a deposit or loan between. The past Government agencies may not be fully supervised. June 2017, the regulator has issued regulations for Saving and Credit cooperative and Credit union cooperative 4 criteria from 4 aspects 19 item suggestions. Therefore, the cooperative should improve its management in line with the regulatory framework that will be announced in the future. Members are still an important regulatory mechanism in addition to government agencies. Members are still an important regulatory mechanism in addition to government agencies. Members should be involved in the operation and acknowledge the financial news of the cooperative. It also oversees both financial and non-financial.


Keyword: Saving and Credit cooperative, Credit union cooperative

Article Details

How to Cite
อภิชัยมงคล ส. (2018). สหกรณ์: สถาบันการเงินของสมาชิก. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 12(28), 367–379. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/124165
Section
บทความวิชาการ