ผลกระทบด้านสิทธิคุ้มครองผู้บริโภคไทย การสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การตัดสินใจซื้อประกันชีวิต

Main Article Content

เอกรัฐ อยู่สวัสดิ์
ศิวารัตน์ ณ ปทุม
ปริญ ลักษิตามาศ

Abstract

บทคัดย่อ


                 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษา (1) ลักษณะพื้นฐานผู้ทำประกันชีวิตในประเทศไทย และ (2) ระดับความคิดเห็นด้านสิทธิคุ้มครองผู้บริโภคและการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรม   การตัดสินใจซื้อประกันชีวิตของผู้บริโภคไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม (Questionnaire) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้บริโภคไทย ที่ซื้อประกันชีวิตทั่วประเทศผ่านตัวแทนบริษัทประกันชีวิตตามสาขาจำนวนทั้งสิ้น 1,213 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS version 14.0 สถิติที่ใช้ คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ และค่าความโด่ง


                กลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคไทยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 56.7 ลักษณะที่พบมากที่สุด คือ อายุ 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 41.1 โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 57.3 อยู่ในสถานภาพโสด จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 37.2 ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชนคิดเป็นร้อยละ 32.9 และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-30,000 บาท ร้อยละ 42.0 ผลการศึกษาพบว่าโดยรวมกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคไทยมีความคิดเห็นต่อสิทธิคุ้มครองผู้บริโภคจากประกันชีวิต  (gif.latex?\bar{x} =3.81) การเปิดรับช่องทางการสื่อสารการตลาดประกันชีวิตในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} =2.56) พฤติกรรมการตัดสินใจ  ซื้อประกันชีวิตอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=3.72)


 คำสำคัญ: สิทธิคุ้มครองผู้บริโภค, การสื่อสารการตลาด, พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ, การประกันชีวิต


 


Abstract


             The research aimed at studying rights’ protection and marketing communication on Thai consumers’ life insurance purchasing decision behavior has immanent objectives on (1) the fundamental characteristics of life insurance policy holders in Thailand and (2) the opinion levels of consumer rights’ protection and marketing communication that effect on all regional Thai consumers’ life insurance purchase decision behavior through branch office representatives. The questionnaires were constructed as a research methodology collected from 1,213 life insurance Thai policy holders. The data was statistically analyzed by SPSS version 14.0 software package. The statistical values of frequency distribution, percentage, arithmetic means, standard deviation, skewness and kurtosis.


            The responded samples of Thai policy holders are mostly females (56.7%) aged 31-40 years old (41.1%) single status (57.3%) with bachelor degree (37.2%) working at private organization as professional personnels (32.9%) and 15,001-30,000 baht (42.0%) averaged income earning per month. The research result indicated that overall the sampled group has agreeable toward consumers’ right protection on insurance (gif.latex?\bar{x} =3.81). The exposition of market communication channel of insurance was at moderate level (gif.latex?\bar{x}=2.56). Consumers’ purchase decision behavior on insurance was at high level  (gif.latex?\bar{x} =3.72).


 Keywords: Consumer Rights Protection, Marketing Communication, Purchased Decision Behavior, Life Insurance

Article Details

How to Cite
อยู่สวัสดิ์ เ., ณ ปทุม ศ., & ลักษิตามาศ ป. (2018). ผลกระทบด้านสิทธิคุ้มครองผู้บริโภคไทย การสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การตัดสินใจซื้อประกันชีวิต. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 12(28), 270–281. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/124154
Section
บทความวิจัย