ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ศิรินันท์ นุยภูเขียว

Abstract

บทคัดย่อ


 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1  และ 3) วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างของปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษของ นักศึกษาชั้นปี ที่ 1 ในแต่ละคณะ


กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาปี 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา (มรภ. อยุธยา) จาก 4 คณะคือ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  จำนวน 123 คน คณะครุศาสตร์ จำนวน 66 คน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน50 คน และคณะวิทยาการจัดการ จำนวน 74 คน รวม 313 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ และผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ คณะละ 2 คน จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ 1) แบบสอบถามความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 และ 2) แบบสัมภาษณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังกลในการเรียนภาษาอังกฤษ โดยผ่านการทดลองใช้ก่อนนำมาปรับปรุงเป็นแบบสัมภาษณ์ฉบับจริง


ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษา ชั้นปีที่ 1 มรภ.อยุธยามีความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษในระดับสูง 2) ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษคือ ความประหม่าในการสื่อสาร การประเมินผลเชิงลบ ความคาดหวังสูง ความวิตกกังวลในการสอบและกลัวการสอบตก  ลักษณะของครูผู้สอน  วิธีการสอน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน  ระดับความสบายใจเมื่อมีการปฏิสัมพันธ์กับเจ้าของภาษาและ แรงบันดาลใจและทัศนคติของผู้เรียน 2) นักศึกษาปี 1 แต่ละคณะมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลที่เหมือนกันคือ ความประหม่าในการสื่อสาร ความคาดหวังสูง ความวิตกกังวลในการสอบ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนและ ระดับความสบายใจเมื่อมีการปฏิสัมพันธ์กับเจ้าของภาษา  แต่มีปัจจัยที่แตกต่างกันคือ วิธีการสอน แรงบันดาลใจและทัศนคติของผู้เรียนและ การประเมินผลเชิงลบ 


 คำสำคัญ : ความวิตกกังวล การเรียนภาษาอังกฤษ พระนครศรีอยุธยา Foreign Language Classroom Anxiety Scale  (FLCAS)


  


Abstract


 The purposes of this study were: 1) to explore the language learning anxiety level of 1st year students in Phranakorn Si Ayutthaya Rajabhat University (ARU), 2) to study factors affecting student language learning anxiety, and 3) to find the similarities and differences of factors affecting student language learning anxiety from each faculty.


In this study, the sample was 313 first year students at Phranakorn Si Ayutthaya Rajabhat University. They were selected by stratified random sampling. The interviewed participants were 8 first year students at ARU (2 students from each faculty). Data collection in this study consisted of 1) the Foreign Language Classroom Anxiety Scale (FLCAS) which was both valid and reliable with a Cronbach’s alpha coefficient of 0.95 and 2) A list of the interview questions: factors affecting student language learning anxiety questions. The interview questions were piloted prior adopting.


The major results showed that 1) the 1 st year students had high levels of language learning anxiety. 2) Factors affecting student language learning anxiety were communication apprehension, fear of negative evaluation, high expectation, test anxiety and fear of failing the course, style of teacher, classroom procedures, teacher-student interaction, level of comfort when interacting with native speakers, and motivation and attitudes of the students. 3) The similarities of factors affecting student language learning anxiety from each faculty included communication apprehension, high expectation, test anxiety and fear of failing the course, teacher-student interaction, and level of comfort when interacting with native speakers. And the differences of the factors covered   classroom procedures, motivation and attitudes of the students, and the fear of negative evaluation.


 Keyword: Anxiety, English language learning, Foreign Language Classroom Anxiety Scale (FLCAS),   Phranakorn Si Ayutthaya

Article Details

How to Cite
นุยภูเขียว ศ. (2018). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 12(28), 231–243. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/124148
Section
บทความวิจัย