ประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารตามความคิดเห็นของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนนทบุรี 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารในองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนนทบุรี จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล 3) สร้างข้อเสนอเชิงนโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารในองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนนทบุรี วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้การวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานและลูกจ้างในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 2,217 คน ได้กลุ่มตัวอย่างเป็น จำนวน 339 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD. และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์จำนวน 10 ท่าน โดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
1) ประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารตามความคิดเห็นของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนนทบุรี ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านงบประมาณ ด้านการจัดบุคคลเข้าทำงาน ด้านการประสานงาน ด้านการวางแผน ด้านการรายงานผลการปฏิบัติงาน ด้านการสั่งการหรืออำนวยการ และด้านการจัดองค์การ
2) ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารตามความคิดเห็นของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนนทบุรี จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า ประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารตามความคิดเห็นของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนนทบุรี ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ประสบการณ์ทำงาน รายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
3) ข้อเสนอเชิงนโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารในองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนนทบุรี ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์การ ด้านการจัดบุคคลเข้าทำงาน ด้านการสั่งการหรือการอำนวยการ ด้านการประสานงาน ด้านการรายงานผลการปฏิบัติงาน และด้านงบประมาณ
คำสำคัญ: ประสิทธิภาพการบริหารงาน, ผู้บริหารงาน, องค์การบริหารส่วนตำบล
Abstract
This research is aimed; 1) to study management efficiency of administer of Sub-district administrative organization in Nonthaburi Province 2) to compare management efficiency of administer of Sub-district administrative organization in Nonthaburi Province classified by personal factors and 3) to create a policy proposed to enhance the management efficiency of administer of Sub-district administrative organization in Nonthaburi Province. The research is mixed-method research by quantitative research. The population of the study was 2,217 staff and employee. The sampling group was 339 personal by using a simple random sampling. The tools that use to collect the data was questionnaire. The statistics for analyzing data were percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test with One-Way ANOVA and Least Significant: LSD and the qualitative research were in-depth interview. The number of samples that the research interview was 10 personal by using technique of content analysis.
The results showed that:
1) The management efficiency of administer of Sub-district administrative organization in Nonthaburi Provinc was at a high level for all aspects. It sorted from the highest mean were budgeting, staffing, coordinating, planning, reporting, directing and organization.
2) The comparison between management efficiency of Sub-district administrative organization of Nonthaburi Province by personal factors found that the staff with different gender, age, educational level, position, work experience and incomes had no difference satisfaction.
3) The policy proposed to enhance the management efficiency of administer of Sub-district administrative organization in Nonthaburi Province Planning Organization Staffing Directing Coordinating Reporting and Budgeting
Keywords: Management Efficiency, Administrative, Sub-district Administration Organization